ชีวิตดีสังคมดี

ฝุ่น "PM2.5" กทม. พุ่ง กระทบสุขภาพทุกเขต เปิด 3 สาเหตุ "กลิ่นไหม้" ค่าฝุ่นเพิ่ม

ฝุ่น "PM2.5" กทม. พุ่ง กระทบสุขภาพทุกเขต เปิด 3 สาเหตุ "กลิ่นไหม้" ค่าฝุ่นเพิ่ม

21 มี.ค. 2567

GISTDA รายงานสถานการณ์ ค่าฝุ่น "PM2.5" กทม. พุ่ง กระทบสุขภาพทุกเขต พร้อมเปิด 3 สาเหตุ "กลิ่นไหม้" ทำไม ค่าฝุ่น ใน กทม. ถึงเพิ่ม

GISTDA เกาะติดสถานการณ์ ค่าฝุ่น "PM2.5" แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น "เช็คฝุ่น" เมื่อเวลา 08.00 น. ของวันที่ 21 มี.ค. 2567 พบ 17 จังหวัดของประเทศ มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีส้ม ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ขณะที่ใน กทม. ทุกเขตอยู่ระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

 

 

17 จังหวัด ค่าฝุ่น เกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีส้ม

  • สมุทรปราการ 
  • กรุงเทพมหานคร 
  • สมุทรสาคร 
  • ระยอง 
  • ชลบุรี 
  • สมุทรสงคราม 
  • นนทบุรี 
  • นครนายก 
  • ฉะเชิงเทรา 
  • ปทุมธานี 
  • เพชรบุรี 
  • ประจวบคีรีขันธ์ 
  • แม่ฮ่องสอน 
  • ราชบุรี 
  • นครปฐม 
  • จันทบุรี 
  • ตราด

 

ค่าฝุ่น

 


สำหรับพื้นที่ กรุงเทพมหานคร เช้าวันนี้พบ ค่าฝุ่น "PM2.5" ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั่วทุกเขตพื้นที่ โดย 5 อันดับแรก คือ 

  • ป้อมปราบศัตรูพ่าย 69.5 ไมโครกรัม 
  • ลาดพร้าว 68.8 ไมโครกรัม
  • จอมทอง 68.4 ไมโครกรัม 
  • บางพลัด 68.4 ไมโครกรัม 
  • วัฒนา 68.4 ไมโครกรัม

 

ค่าฝุ่น

 

ขณะที่ นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ให้คำตอบถึงสาเหตุของ ค่าฝุ่น "PM2.5" ที่กลับมาพุ่งสูงใน กทม. และเป็น 3 สาเหตุ ที่ทำให้เกิด "กลิ่นไหม้" เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่านมาว่า

 

1. ทิศทางลมวันที่ 20 เป็นทิศตะวันออก (ตามภาพ) ซึ่งต่างจากวันอื่นๆช่วงนี้ที่มาจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชม.ที่ผ่านมาพบที่ปริมณฑลหลายจุด 

 

2. ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางอีสานมาเมื่อวาน ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสม (Mixing Height) ลดต่ำลง ฝุ่นละอองเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น 

 

3. ความชื้นในบรรยากาศทำให้เกิด ฝุ่นละออง PM2.5 ทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากพวกสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนียจะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง

 

ค่าฝุ่น