ชีวิตดีสังคมดี

"อากาศร้อน" ทุบสถิติ หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุณหภูมิพุ่ง

"อากาศร้อน" ทุบสถิติ หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุณหภูมิพุ่ง

30 เม.ย. 2567

"อากาศร้อน" ทุบสถิติหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อุณหภูมิพุ่ง กระทบการเรียน และชีวิต เปิดสถิติ 5 ทั่วโลก ประเทศเคยเผชิญอากาศร้อนจัด

เว็บไซต์ซินหัวรายงานสภาพ "อากาศร้อน" ในประเทศเมียนมา สำนักอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาของเมียนมา รายงานว่าเมือง 7 แห่งของเมียนมาเผชิญสภาพอากาศเดือนเมษายนที่ร้อนที่สุดในรอบหลายทศวรรษ เมื่อวันอาทิตย์ (28 เม.ย.) ที่ผ่านมา เมืองเชาะ ในภูมิภาคมะกเวทางตอนกลาง มีอุณหภูมิพุ่งสูงถึง 48.2 องศาเซลเซียส เมื่อวันอาทิตย์ (28 เม.ย.) นับเป็นอุณหภูมิเดือนเมษายนที่สูงสุดในรอบ 56 ปีตั้งแต่เริ่มมีการบันทึก

ขณะที่เมืองญองอู สะกาย ตะดาอู ตองวิงยี มัณฑะเลย์ และซวงตู เผชิญกับวันที่ร้อนที่สุดในเดือนเมษายนในวันอาทิตย์เช่นกัน

 

 

ขอบคุณภาพจากXinhuathai

ขณะเดียวกันประเทศฟิลิปปินส์เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังเผชิญ "อากาศร้อน" สุดๆ ไม่ต่างจากเมืองไทยโดยล่าสุดฟิลิปปินส์ต้องเผชิญอากาศสูงถึง 50 องศา จนเป็นที่มาของการสั่งปิดโรงเรียนชั่วคราว สำนักข่าว South China Morning Post รายงานว่า ฟิลิปปินส์ได้เริ่มประกาศหยุดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนทั่วไป กรมอุตุนิยมวิทยา กรุงมนิลา ระบุว่า ในวันเสาร์อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 38.8 องศา หรือ ราวๆ 101.8 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดในประวัติการณ์ที่มีการบันทึกไว้ในเดือน พ.ค.ปี 1915 ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการประกาศปิดโรงเรียนเป็นการชั่วคราวในวันจันทร์และวันอังคาร เพื่อเลี่ยงอากาศร้อนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กๆ  

 

ภาพจาก Reuters

 

 

ขอบคุณภาพจากReuters

ด้านประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับสภาพ "อากาศร้อน" เช่นกัน โดยเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยมีอุณภูมิเฉลี่ยสูงสุด 44 องศา โดยกระทรวงพลังงานรายงานประเทศไทยมีอัตราการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้น สูงสุดที่ 36,356 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ภาคเหนือและภาคอีสานน่าจะเป็นภูมิภาคที่ร้อนที่สุดในประเทศไทย

 

ภาพจาก  Reuters

 

 

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศประเทศไทยยังคงมี "อากาศร้อน" ถึงร้อนจัดอย่างต่อเนื่องหลายพื้นที่ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดของปี 2567 มีแนวโน้มที่สูงขึ้น 

 

  • มกราคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 34 องศา
  • กุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36 องศา
  • มีนาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 39 องศา
  • เมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 42.9 องศา 

 

ภาพจาก  Reuters

 

 

สำหรับ 5 อันดับประเทศที่ร้อนที่สุดในโลก มีดังนี้ 

1.ประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อนที่สุดในปี 2020 อุณหภูมิอยู่ที่ 54.5 องศา
2.ประเทศอิหร่าน ร้อนที่สุดในปี 2017 อุณหภูมิอยู่ที่  54 องศา 
3.ประเทศคูเวต ร้อนที่สุดในปี 2022  อุณภูมิอยู่ที่ 53.9 องศา 
4.ประเทศอิรัก ร้อนที่สุดในปี 2016 อุณหภูมิอยู่ที่ 53.8 องศา
5.ประเทศปากีสถาน ร้อนที่สุดในปี 2017 อุณหภูมิอยู่ที่ 53.7  องศา  

 

ที่มา: Xinhuathai,South China Morning Post 
ภาพจาก: Reuters