เปิดรักรับ วาเลนไทน์ กับมุมมองความรัก สิทธิ เท่าเทียมของคู่รัก 'LGBTQ+'
เรื่องราวความรักรับ วาเลนไทน์ กับมุมมองความรัก สิทธิในชีวิติคู่ ความเท่าเทียมในสังคมของคู่รัก 'LGBTQ+' เปิดใจแม้โลกปิดกว้าง แต่กฎหมายยังปิดกั้น
ในโลกที่ความรักมีหลากหลายรูปแบบ และอีกหนึ่งกลุ่มที่ถูกจับตาเรื่องความรักมากกว่าคนทั่วไปคงเป็นไม่ได้นอกจากความรักของกลุ่ม "LGBTQ+" แม้ว่าสังคมโลกจะเปิดกว้างมากแค่ไหน หรือไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตรักได้อย่างอิสระเพียงใด แต่ข้อกฎหมายหรือสิทธิอื่นๆ ของกลุ่ม "LGBTQ+" ยังถูกจำกัดอยู่ไม่ต่างจากเมื่อ 10 ปี หรือ 20 ปีก่อน เพราะกฎหมายยังไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิติคู่ ความคิด จิตใจของผู้นำ หรือนักการเมืองที่ยังไม่ได้นึกถึงคุณภาพชีวิต และการใช้ชีวิตคู่ได้แบบเท่าเทียมเหมือน ชาย หญิง ทั่วไป
ในช่วงเทศกาล วาเลนไทน์ คมชัดลึกออนไลน์ มีโอกาสได้พูดคุยกับคู่รัก "LGBTQ+" ที่ออกมาบอกเล่าประสบการณ์การใช้ชีวิตคู่ ในฐานะคนรัก คู่ชีวิต เพื่อนคู่คิด หรือแม้แต่ในฐานะพ่อกับแม่ของน้องแมวสักตัว เหมือนกับคู่รักชายหญิงแบบทั่วไป
สำหรับประสบการณ์ ความรัก ของทั้งสองคน จริง ๆ ทั้งคู่เหมือนคู่รักทั่ว ๆ ไปเลยไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันไป ก็พบกัน ทำความรู้จัก และก็ตกลงเริ่มต้นความสัมพันธ์ ซึ่งจุดเริ่มต้นความรักของทั่งคู่ก็ถือว่าเป็นพื้นฐานของการเริ่มต้น ใน Long-term Relationship ของผู้หญิงกับผู้ชาย หรือของคนสองคนแบบไม่จำกัดเพศ มีทั้งช่วงที่มีความสุขและช่วงที่ตีกันบ้าง แต่เราเชื่อว่าถ้ารักกัน ให้เกียรติกัน และไว้ใจกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนได้
แต่หลังหลังจากเรียนรู้ไลฟ์สไตล์ร่วมกันสักพักก็ตกลงกันว่าจะคบกันในฐานะแฟนอย่างเปิดเผย เหมือนคู่รักคนอื่น ๆ ทั้งสองคนคิดว่าอยู่ในสถานะที่ต่างคนต่างเข้าใจและยอมรับร่วมกันว่าสามารถคบกันแบบเปิดเผยได้ ไม่ต่างจากคู่รักเพศอื่นๆ ด้วยความโชคดีที่ว่าเราอยู่ในสังคมที่ค่อนข้างเปิดกว้าง และเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีการไม่เปิดรับในหลายๆ อย่างในทาง official พูดง่ายๆ คือ คุณใช้ชีวิตคู่ได้อย่างเปิดเผยไม่ได้มีข้อจำกัด หรือโดนตราหน้าจากสังคมว่าแปลกแยก แต่ชีวิตคู่ของคุณมี Limit ได้เท่านี้ เพราะทุกวันนี้มองว่า กฎหมายไม่ได้การโอบรับทุกความหลากหลายของความสำพันธ์ (Inclusive Relationship) ใดๆ
- ความรักแบบฉบับชาว "LGBTQ+"
ส่วนมุมมองความรักของคู่รัก "LGBTQ+" ไม่ได้มีความแตกต่างจากคู่รักชายหญิงเลยแม้แต่น้อย ทั้งคู่ใช้ชีวิตรักได้อย่างเข้าใจกัน ภายใต้กฎกติกา หรือข้อแม้ที่ยอมรับกันได้ทั้งสองคน โดย คู่รัก LGBTQ+ เล่าถึงมุมความรักในแบบฉบับของพวกเขาว่า เรามองความรักและความสัมพันธ์เหมือนคู่รักเพศอื่นๆ เลยครับ สำหรับที (นามสมมติ) ให้ความสำคัญกับการให้เกียรติกัน และไม่โกหก
ส่วนของพี (นามสมมติ) มองว่าการเคารพซึ่งกันและกันและไว้ใจกัน คือส่วนสำคัญที่ทำให้ชีวิตคู่ยั่งยืน ซึ่งเราคิดว่าทุกคู่รักน่ารักจะต้องตกลงและรู้ว่าเรื่องอะไรคือสิ่งที่คนรักของเราให้ความสำคัญและจะไม่พอใจถ้าเราไปไม่ทำตามข้อตก หรือกฎกติกาที่คุยกัน หรือที่เรียกว่า break the rule ในเรื่องนั้น ความรักมันก็จะยั่งยืนนะครับ ทั้งหมดทั้งมวลผมคิดว่าขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคู่ให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรในมุมมองความรักของแต่ละคน
- อุปสรรคของความสัมพันธ์คือความคิดของสังคม
ดูเหมือนว่าชีวิตรักของคู่รัก "LGBTQ+" จะไม่มีอุปสรรค หรือข้อกำจัดใดๆ ในทางความรู้สึก แต่หากมองลงไปลึก ๆ ถึงสิทธิ์ทางกฎหมาย บรรทัดฐานของสังคม ยังมักมีความปรกติที่ซ่อนอยู่ในความไม่ปรกติเช่นกัน เพราะเชิงบรรทัดฐานหรือกรอบของสังคมยอมรับ ในความสัมพันธ์ที่แตกต่างหลากหลาย ยอมรับในความหลายหลายของเพศวิถี (Gender) แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ยอมรับ ความสัมพันธ์แบบนี้จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่รับรองโดยรัฐ สำหรับผมมันก็แสดงถึงวิสัยทัศน์ของผู้แทนที่เลือกไปครับว่าจะสามารถตอบสนองเจตนารมณ์ของเราได้ไหม และแน่นอนว่าถ้าทำไม่ได้ก็แค่เลือกคนใหม่ที่เขาจะสามารถเข้ามาผลักดันเรื่องนี้ได้ และถ้ารัฐมีความเป็น Modernizeที่มากเพียงพอก็จะสามารถยอมรับความหลากหลาย
- พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมความฝันของชาวสีรุ้งที่อยากมีชีวิตรัก สิทธิขั้นพื้นฐานแบบคนอื่น
ในทางเดียวกันกฎหมายต่างๆ ที่กำลังถูกผลักดันให้เกิดขึ้น และการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศสภาพในประเทศไทยยังไม่ได้เอื้อให้คู่รัก "LGBTQ+" โดยเฉพาะการปักตก พ.ร.บ.สมรเท่าเทียม โดยทั้งสองคนมีความเห็นและมุมมอง เกี่ยวกับ พรบ.สมรสเท่าเทียมรวมไปถึงการส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมของบ้านเราว่า พรบ.สมรสเท่าเทียม เป็นสิทธิมนุษยชน ในการรองรับความสัมพันธ์ที่หลากหลายโดยไม่จำกัดเพศ (Gender) ถ้าภาครัฐเข้าใจ พื้นฐานของแนวคิด และเข้าใจความหลากหลาย ในระดับสติปัญญาของผู้แทนประชาชนไม่น่ายากที่จะประมวลผล ไม่ได้ยากในการตัดสินใจสนับสนุนเลย ย้อนกลับไปที่เราเปิดกว้างในเชิงสังคม แต่ไม่ยอมรับในแง่ของกฎหมายที่เป็น Official ซึ่งนั่นหมายความว่า ประเทศไทยยังไม่ยอมรับในความหลากหลายทางเพศ
ดังนั้น การส่งเสริมสิทธิพื้นฐานด้านความเท่าเทียมทางเพศในประเทศไทยยังคงจำเป็น และถ้าเราเปิดกว้างกับทุกคน ส่วนตัวเชื่อว่าศักยภาพของประเทศนี้ยังเติบโตได้มากกว่านี้ ความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ภาพลักษณ์ที่จะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมสื่อ/บันเทิง, Martech, การท่องเที่ยว, การแพทย์ รวมไปถึงการผลิตสินค้าและอุตสหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลายหลายทางเพศ ถ้ายังไม่ถึงขั้นนั้นควรเลิกโปรโมทว่าประเทศไทยโอบรับทุกคน เพราะก็ยังผลักออกและไม่ยอมรับรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย ท้ายที่สุด การผลักดันเรื่องสมรสเท่าเทียม และสิทธิความเท่าเทียมในทุกรูปแบบของประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ จะไปต่อไม่ได้ ถ้าเรายังมีวิธีคิดในกรอบหรือขนบเดิม ๆ หรือขาดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ผมคิดว่าประชาชนทุกคนมีอำนาจในการตัดสินใจและเลือกคนที่เหมาะสมที่จะมาเปลี่ยนแปลงกรอบเหล่านี้ได้