ชีวิตดีสังคมดี

วิกฤตเด็กไทย 'อ่าน-เขียนไม่ได้' ต่ำมาตรฐานโลก ทางตันการแข่งขันประเทศ

วิกฤตเด็กไทย 'อ่าน-เขียนไม่ได้' ต่ำมาตรฐานโลก ทางตันการแข่งขันประเทศ

19 มี.ค. 2566

เปิดปัญหาใหญ่ วิกฤตเด็กไทย Learning Loss อ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานโลก MSCG จุฬาฯ ร่วมกับ กทม. แผนงานฯ การอ่าน สสส. หนุนนโยบายสวัสดิการหนังสือ เพื่อเด็กปฐมวัย กทม. ผลักดัน 3 เล่มในบ้าน

รายงานผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในไทย พ.ศ. 2564 ให้ความสำคัญเรื่องการอ่าน โดยเฉพาะการมีหนังสือสำหรับเด็ก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการของเด็ก 

 

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ระบุว่า องค์การยูนิเซฟ พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศไทย มีแม่เพียง 6 ใน 10 คน และพ่อเพียง 3 ใน 10 คน เท่านั้น ที่ทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้กับลูก 

วิกฤตเด็กไทย \'อ่าน-เขียนไม่ได้\' ต่ำมาตรฐานโลก ทางตันการแข่งขันประเทศ

 นอกจากนี้ มีเด็กปฐมวัยเพียง 3 ใน 10 คน เท่านั้น ที่มีหนังสือเด็กอยู่ในบ้านอย่างน้อย 3 เล่ม สถานการณ์เหล่านี้ยิ่งเหลื่อมล้ำมากขึ้นในครอบครัวที่ยากจน

สำนักงานสถิติแห่งชาติพบข้อมูลล่าสุดว่า มีเด็กไทยกว่า 1.1 ล้านครัวเรือน ที่ไม่มีหนังสือเหมาะสมวัยในบ้าน

วิกฤตเด็กไทย \'อ่าน-เขียนไม่ได้\' ต่ำมาตรฐานโลก ทางตันการแข่งขันประเทศ

ทั้งนี้ภาวะที่เด็กไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ และ Learning loss ของเด็กไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ประมาณ 1 ปีการศึกษา เทียบเท่า คะแนน PISA ที่ต่ำกว่าประเทศอื่น 29 - 30 คะแนน สะท้อนปัญหาการแข่งขันที่ประเทศไทยไม่สามารถไปต่อได้  

วิกฤตเด็กไทย \'อ่าน-เขียนไม่ได้\' ต่ำมาตรฐานโลก ทางตันการแข่งขันประเทศ

ซึ่งเป็นทั้งผลลัพธ์และจุดเริ่มต้นของความยากไร้อื่นๆ หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาการเรียนรู้ถดถอยและความยากจนทางการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเด็ก จะยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำที่รุนแรง และส่งผลระยะยาวเมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตขึ้น จาก “Learning loss” จะกลายเป็น “Loss Generation”

 

 เนื่องจากขาดทักษะสำคัญในการประมวลผลและสังเคราะห์ความรู้ใหม่ ทำให้ครัวเรือนติดกับดักความยากจนจากรุ่นสู่รุ่น ส่งผลกระทบต่อศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ของไทย รายได้แรงงาน สภาพเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

 

ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ให้ข้อมูลสำคัญว่า “หนังสือและกิจกรรมการอ่านเป็นทั้งสื่อ เครื่องมือ และกระบวนการสำคัญที่เอื้อต่อการสร้างสัมพันธภาพ ความอบอุ่นแก่ครอบครัวให้สามารถปรับตัวอยู่รอดในสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังไม่จางหาย และยังเป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุด ลงทุนต่ำมาก แต่ช่วยลดภาวะ Learning Loss  

 

สามารถฟื้นฟูและวางรากฐานการพัฒนาเด็กปฐมวัย (0 - 6 ปี) ซึ่งเป็นวัยสำคัญที่สุดต่อการวางรากฐานให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพภาพได้ทุกมิติตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์แบบมั่นคง (Secure attachment) เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญ ๆ 

 

เช่น ทักษะบริหารจัดการของสมอง (EF - Executive Function) ทักษะความยืดหยุ่น, ปรับตัว (Resilience) การเสริมสร้างการเคารพและความเชื่อมั่นในตัวเอง (Self-esteem) และเคารพความแตกต่างหลากหลายได้”

 

วิกฤตเด็กไทย \'อ่าน-เขียนไม่ได้\' ต่ำมาตรฐานโลก ทางตันการแข่งขันประเทศ

นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ที่ผ่านมามีองค์กรและชุมชนต้นแบบร่วมสนับสนุน นโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย 2 ชุมชน คือ ชุมชนน้อมเกล้า และชุมชน 9 พัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

 

ส่วนในองค์กรและหน่วยงานต่างๆ มี สสส. องค์กรสาธารณะประโยชน์ และองค์กรธุรกิจประกาศร่วมจัดสวัสดิการหนังสือแก่บุคลากรที่มีลูกตั้งแต่แรกเกิด - 6 ขวบ จำนวน 9 องค์กร

 

 กรุงเทพมหานครขอเชิญชวนทุกชุมชน ทุกหน่วยงาน ร่วมดำเนินงานอย่างกว้างขวาง ในการสนับสนุนให้เด็กเล็กเข้าถึงหนังสืออย่างน้อย 3 เล่มเพื่อการพัฒนารอบด้านทุกมิติ ช่วยลดภาวะ Learning Loss และความเหลื่อมล้ำของความยากจนทางการเรียนรู้”

 

 ทางด้าน นายสรวิชญ์ สุรชวาลา ตัวแทน CGIA CLUB ของสาขาวิชาการกำกับดูแลกิจการ (MSCG) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทางจุฬาลงกรณ์ได้จัดกิจกรรม CGIA Club 4 Reading เพื่อระดมความร่วมมือสนับสนุนให้เกิดมุมหนังสือและกิจกรรมการอ่านเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการและความสุขในการเรียนรู้เพื่อเด็กปฐมวัยและครอบครัวในชุมชน ณ ชุมชนมั่นคงฟ้าใหม่ ในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2566 

วิกฤตเด็กไทย \'อ่าน-เขียนไม่ได้\' ต่ำมาตรฐานโลก ทางตันการแข่งขันประเทศ

โดยมีกิจกรรมเรียนรู้ คลินิกฝึกอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ปลูกผักสนุกจัง สนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “กิจกรรมการอ่านเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย พื้นที่บ้านมั่นคงชุมชนน้อมเกล้าและชุมชน 9 พัฒนา” พิธีมอบหนังสือภาพสำหรับเด็ก

 

เพื่อสนับสนุน “สวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย” และกิจกรรมศิลปะกำแพงโดยเครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคมร่วมกับเด็กเยาวชนและคนในชุมชน”