ชีวิตดีสังคมดี

'รัฐสวัสดิการเด็ก' ต้องถ้วนหน้าลดเหลื่อมล้ำแค่ เงินอุดหนุนบุตร ยังไม่พอ

'รัฐสวัสดิการเด็ก' ต้องถ้วนหน้าลดเหลื่อมล้ำแค่ เงินอุดหนุนบุตร ยังไม่พอ

16 พ.ค. 2566

'รัฐสวัสดิการเด็ก' จำเป็นต้องจัดให้ถ้วนหน้า แก้ปัญหาช่องว่างความเหลื่อมล้ำยิ่งยากจนยิ่งเข้าไม่ถึงแค่ เงินอุดหนุนบุตร เดือนละ 600 บาท อาจยังไม่พอสำหรับการใช้ชีวิต

"รัฐสวัสดิการเด็ก" สิทธิที่เด็กไทยตั้งแต่อายุ 0-6 ปีต้องได้รับอย่างถ้วนหน้า เพื่อสร้างความเท่าเทียมและเพิ่มโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่กำลังพัฒนาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  รวมทั้งสติปัญญา สำหรับ รัฐสวัสดิการเด็ก ในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นปี 2558 โดยคณะรัฐมนตรีโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือ เงินอุดหนุนบุตร เดือนละ 600 บาทต่อเด็ก 1 คน  

 

 

แม้ว่าโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือ เงินอุดหนุนบุตร ดูเหมือนว่าจะเป็นโครงการถ้วนหน้าที่เด็กแรกเกิดได้รับทุกคน แต่ในความเป็นจริงแล้วเงิน 600 บาทที่รัฐจัดให้นั้น ยังไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้างพัฒนาการให้แก่เด็กในวัยดังกล่าว โดยข้อมูลจาก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า จากการประเมินผลกระทบของ นโยบายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด พบว่า ในปี 2560 มีเด็กในครัวเรือนยากจน หรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน ตกหล่นไม่ได้รับเงินอุดหนุนประมาณ 30% เท่ากับว่า 1 ใน 3 ของเด็กยากจนยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการรัฐที่เขาพึงได้รับ 

  • ยิ่งยากจนยิ่งเข้าไม่ถึงรัฐสวัสดิการ 

ปัญหาการเข้าไม่ถึง "รัฐสวัสดิการเด็ก" ของประเทศไทยยังมีความน่ากังวล เพราะยิ่งเด็กเข้าไปถึงความช่วยเหลือมากเท่าไหร่จะยิ่งส่งผลต่อ พัฒนาการตามช่วงวัยมากยิ่งขึ้น รายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 พบว่า พัฒนาการของเด็กวัยในครอบครัวยากจน 89.8%  โดยพบว่าพัฒนาการที่มีค่าดัชนีน้อยที่สุดคือ การอ่านออกและรู้จักตัวเลข และทักษะทางสังคมและอารมณ์ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กเล็กในกลุ่มครอบครัวยากจนมาก มีแนวโน้มจะเผชิญภาวะทุพโภชนาการมากกว่าเด็กในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางและฐานะร่ำรวย 

 

 

ปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่ายิ่งครอบครัวยากจนมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเข้า "รัฐสวัสดิการเด็ก" ยิ่งมีน้อยลงเท่านั้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เร้าจะเห็นภาพความเหลื่อมล้ำที่มีช่องว่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย 

  • "รัฐสวัสดิการเด็ก" ที่เหมาะสมต้องได้อยู่ที่เท่าไหร่  

กองทุนเสมอภาคเพื่อการศึกษา (กสศ.) ระบุว่า ช่องว่างทางความเหลื่อมล้ำจะยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มเด็กเปราะบาง ดังนั้นการที่จะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงรัฐสวัสดิการได้นั้น จำเป็นจะต้องเพิ่มเงินอุดหนุน หรือสวัสดิการอื่นๆ ที่จะเข้ามาเกื้อกูลคุณภาพชีวิตเด็กไทยให้ดีขึ้น โดยข้อเสนอจาก TDRI คือให้เพิ่มเงินอุดหนุนเป็น 800-1,500 บาทต่อเดือน เพื่อช่วยลดช่องว่างรายจ่ายที่แต่ละครัวเรือนใช้ดูแลเด็กเล็ก ส่วนเด็กยากจนพิเศษจำเป็นจะต้องช่วยเหลือด้านสวัสดิการแบบมุ่งเป้า โดยการแบบนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน จึงต้องถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กทุกกลุ่ม โดย กสศ. ออกแบบข้อเสนอให้จัดสวัสดิการแบบมุ่งเป้า (targeting) หรือการเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขแก่เด็กยากจนมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของกลุ่มเด็กเปราะบาง โดยเฉพาะเด็กยากจนและยากจนพิเศษ ด้วยการเริ่มเติมริ่มสวัสดิการพื้นฐานเพื่อการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพผ่านมาตรการรัฐ

 

 

  • ข้อเสนอถึงรัฐเพิ่ม "รัฐสวัสดิการเด็ก" ให้เท่าเทียม 

-เพิ่มอัตราเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขให้เด็กยากจนมากขึ้น 

-จัดระบบการให้ความรู้และการอบรมแก่พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก และครอบครัวที่ได้รับเงินอุดหนุนและเบี้ยช่วยเหลือทุกคน พร้อมให้ความรู้และคำอธิบายถึงแนวทางการใช้นิทานเป็นเครื่องมือส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก

-มีกระบวนการติดตามและประเมินผลการเลี้ยงดูเด็ก และให้คำปรึกษาแบบรายครอบครัว 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง : กองทุนเสมอภาคเพื่อการศึกษา (กสศ.)