ชีวิตดีสังคมดี

'กัณวีร์ สืบแสง' วิเคราะห์ 'พ.รบ.อุ้มหาย' กฏหมายที่ควรมีตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว

'กัณวีร์ สืบแสง' วิเคราะห์ 'พ.รบ.อุ้มหาย' กฏหมายที่ควรมีตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว

30 พ.ค. 2566

'กัณวีร์ สืบแสง' วิเคราะห์ 'พ.ร.บ.อุ้มหาย' กฏหมายที่ควรมีตั้งแต่ 30 ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังตีความเรื่องสิทธิมนุษยชนผิดไปรอให้เกิดเหตุแล้วค่อยแล้วค่อยผลักดัน

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือ "พ.ร.บ. อุ้มหาย" ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ. 2566 แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเลื่อนเวลาบังคับใช้ อ้างเหตุผลเรื่องงบประมาณและความพร้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ล่าสุด คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบเลื่อนบังคับใช้มาตรา 22-25 และมีการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัย โดยล่าสุดศาสรัฐธรรมมนูญตีตกเลื่อนบังคับใช้ "พ.ร.บ.อุ้มหาย" 

 

 

สาระสำคัญของร่าง "พ.ร.บ. อุ้มหาย" ฉบับนี้มุ่งป้องกันและปราบปรามเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายไม่ให้กระทำผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันก็มุ่งคุ้มครอง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นร่างกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรม ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 

คมชัดลึก ได้มีโอกาส สัมภาษณ์ นายกัณวีร์ สืบแสง ว่าที่ สส. พรรคเป็นธรรม ซึ่งเป็นผู้ที่เคยทำงานในองค์ด้านสิทธิมนุษยชนมาก่อนที่จะตัดสินใจลงสู่สนามการเมือง เพราะอยากขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง เป็นธรรม กับคนไทยทุกคน เพราะ กัณวีร์ มองว่า คนไทยโดนริดรอนสิทธิโดยกฎหมายของรัฐ และพยายามทำให้เป็นเรื่องปกติ 

 

 

นายกัณวีร์ ได้แสดงความคิดเห็นถึง "พ.ร.บ.อุ้มหาย" และสิทธิที่จะถูกควบคุมตัว กักขัง หรือทำให้อันตทานหายไปจากโลกนี้อย่างไร้รอย เอาไว้อย่างน่าใจ ว่า การบังคับกฎหมายอุ้มหายของประเทศไทยเปรียบเสมือนการติดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก เพราะไทยยังติดบ่วง และย้ำอยู่กับข้อตกลงในระดับทวิภาคี กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และยังติดอยู่กับความอนุรักษ์นิยมจนมองไม่ออกว่า แท้จริงแล้วสิทธิมนุษยชนคืออะไรกันแน่ ที่ผ่านมาหลายๆ รัฐบาลไม่เคยมีการแก้ปัญหาด้านการริดรอนสิทธิอย่างแท้จริง และไม่เคยมีรัฐบาลไหนเอาแนวทางการใช้ชีวิต  (Life Base Approach)มาปรับเป็นนโยบายเลยสักครั้ง 

กัณวีร์ สืบแสง

 

 

"พ.ร.บ.อุ้มหาย" สำหรับประเทศไทยมีไว้สำหรับรองรับ อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี  (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) หรือ อนุสัญญา CAT ที่ไทยเข้าร่วมทำสัตยาบรรณไว้กับประเทศอื่นๆ เท่านั้นแต่ไม่ได้ตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์ของคนจริง ๆ  

 

 

นายกัณวัร์ แสดงความเห็นต่อว่า แท้จริงแล้ว "พ.ร.บ.อุ้มหาย" ของประเทศไทยเกิดมาจากที่เหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจซ้อมทรมานผู้ต้องหาจนเสียชีวิต เรื่องนี้จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้บรรดานักการเมืองทั้งหลายวิ่งเต้น และตรากฎหมาย "พ.ร.บ.อุ้มหาย" ขึ้นมา กรณีนี้สะท้อนให้เห็นว่าจะต้องรอให้เกิดเรื่องเสียก่อนถึงจะมีการออกกฎหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยธรรม  และความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

 

 

"จริงๆ แล้ว พ.ร.บ.อุ้มหายควรจะมีการบังคับตั้งแต่ 30 ปีที่ผ่านมาแล้ว แต่ทำไมประเทศไทยเพิ่งจะให้ความสำคัญ หากเรากฎหมายป้องกันการอุ้มหาย ารทำให้บุคคลสูญหายมาบังคับใช้ และคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์ไทยคงไม่ต้องมีผู้ที่ถูกทำให้สูญหาย หรือผู้ที่ต้องลี้ภัยเป็นจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยลืมไปว่าจะต้องมีการอนุวัติกฎหมายขึ้นมาคุ้มครองประชาชน จนบางครั้งนำมาซึ่งความสูญเสียเหมือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพราะที่ผ่านมาเราไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานกันเลย แต่ผมเชื่อว่ารัฐบาลชุดใหม่คงจะเร่งผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จ เพื่อให้ประเทศสามารถยืนยัดบนเวทีโลกได้" กัณวีร์ ระบุ 

 

 

 

นอกจากนี้การคืนสิทธิให้แก่บุคคลที่ถูกอุ้มหาย หรือผู้ต้องหาที่ที่ถูกซ้อมทรมานรวมไปถึงผู้ที่ถูกกล่าว ซึ่งเสียสิทธิด้านสังคม บางคนต้องโยกย้านถิ่นฐานเพราะไม่สามารถอาศัยในที่เดิมได้ เนื่องจากถูกกล่าวหา ดังนั้น "พ.ร.บ.อุ้มหาย" จำเป็นจะต้องชดเชยเยียวยาให้กับผู้เสียหายด้วย แม้ว่าโอกาส ชีวิตจะไม่สามารถตีมูลค่าเป็นตัวเงินได้ก็ตาม      

 

 

ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นว่าหากเป็นเรื่องของความมั่นคง และปลอดภัยของประชาชนคนไทยมักจะมีข้ออ้างด้านงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ตัวอย่างการเลื่อนบังคับใช้   "พ.ร.บ.อุ้มหาย" ที่มีการอ้างว่าไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการจัดหากล้องวงจรปิด และอุปกรณ์ตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ต้องสงสัย และเพื่อความเป็นธรรมให้แก่เจ้าหน้าที่นั้น เป็นตั้วอย่างที่สะท้อนได้ชัดเจนว่า สิทธิมนุษยชนซึ่งถือว่าเป็นสิทธิขั้พื้นฐานถูกมองข้ามไป และรัฐไปให้ความสำคัญกับงบประมาณในด้านการทหาร จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แทน

 

 

โดยนายกัณวีร์ ระบุว่า ประเทศไทยมีงบประมาณมากพอที่จะซื้ออย่างอื่นได้ แต่ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิของมนุษย์ ปัยหานี้เป็นผลพวงมาจากที่ประเทศไทยไม่เคยใช้หลักมนุษยธรรมนำการเมือง ที่ผ่านมาเราเห็นเสมอว่าไทยมักจะลงทุนกับระบบฮาร์ดแวร์มากกว่าระบบซอร์ฟแวร์ ให้ความเอนเอียงในหารจัดสรรงบประมาณ แต่หากมีการจัดสรรงบประมาณตามความสำคัญ ยกเลิกงบในส่วนที่ไม่จำเป็นเช่นการยกเลิกเกณฑ์ทหาร และหันมาใช้ระบบสมัครใจทดแทน จะทำให้มีงบประมาณเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำมาบริหารจัดการในส่วนนี้ 

 

 

"หากมีโอกาสในทำงานเป็นรัฐบาลตนอยากจะผลักดันเรื่องพ.ร.บ.อุ้มหายเป็นเรื่องแรกๆ และสิ่งที่ทำให้ตัดสินใจลงเล่นการเมืองเพราะขับเคลื่อนเรื่องความเสมอภาค เพราะมนุษย์คือมนุษย์ ไม่มีใครเหนือใครทุกคนเป็นคนเหมือนกัน ความหลากหลายคือเอกภาพของประเทศไทย แรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัย รวมทั้งผู้ต้องสงสัยจะต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรม" 

 

 

เปิดสาระสำคัญของ "พ.ร.บ.อุ้มหาย"

-เพิ่มบทบัญญัติว่าด้ายการกระทำความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย้ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
-กำหนดให้มีการบันทึกภาพและเสียงในการตรวจค้นในคดีอาญา และการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับกุมตรวจค้นในคดีอาญา
-องค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย มีความครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกฎหมาย แพทย์ทางนิติเวชและทางจิตเวชศาสตร์
-กระบวนการสรรหาคณะกรรมการดังกล่าว กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหา
-ให้คดีตามพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นคดีพิเศษ และกำหนดให้หลายหน่วยงานเข้ามาร่วมสอบสวน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการดำเนินคดี และรวบรวมพยานหลักฐานให้ทันกับสถานการณ์และป้องกันการทำลายพยานหลักฐานสำคัญในคดี