จับกระแส 'Pride Month' สิทธิที่ชาว pride ควรได้รับกับเส้นทางต่อสู้ที่ยาวนาน
จับกระแส 'Pride Month' สิทธิที่กลุ่มคนกหลากหลายทางเพศพึงได้รับ กับเส้นทางที่ต่อสู้มาจากยาวนานให้สังคมเปิดใจ
ต้องบอกว่าเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิความเสมอภาคกันมาอย่างยาวนานสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ และในเดือนมิถุนายน ของทุกปีซึ่งเป็นเดือนที่เราเรียกว่ากันว่า "Pride Month" นับเป็นช่วงเวลาที่เหล่าคนที่มีความหลากหลายทางเพศจะออกมาแสดงสัญลักษณ์ เพื่อบอกว่าพวกเขาก็เป็นคนอีกหนึ่งกลุ่มในสังคม ที่ไม่ได้แปลกแยก
การแสดงจุดยืนที่จุดชัดเจน และการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมนั้นค่อยๆ ส้รางความตระหนักให้สังคมไทยไปเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งการเสนอกฎหมายสมรมเท่าเทียม แต่ดูเหมือนว่ากฎหมายจะยังไปไม่สุด และยังมีบางอย่างที่ ชาว Pride ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าที่ควรจะได้รับ
เนื่องในเดือน "Pride Month" คมชัดลึก จึงสรุปสิทธิกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศพึงจะได้รับ เพื่อความเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
- การอนุญาตให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายบริจาคเลือด
- การรับรองความสัมพันธ์ของบุคคลเพศเดียวกันโดยรัฐบาล เช่น การสมรสเพศเดียวกันหรือคู่ชีวิตเพศเดียวกัน
- การอนุญาตให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศรับบุตรบุญธรรม
- การรับรองกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการเป็นผู้ปกครอง
- กฎหมายคุ้มครองการถูกรังแกและการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชน หรือนักเรียนที่มีความหลากหลายทางเพศ
- กฎหมายเกี่ยวกับคนเข้าเมืองอย่างเท่าเทียมกัน
- กฎหมายป้องกันการเลือกปฏิบัติทางการจ้างและการอยู่อาศัย
- กฎหมายป้องกันอาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชัง โดยมีการเสริมโทษทางอาญาสำหรับความรุนแรงสืบเนื่องมาจากอคติต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
- กฎหมายเกี่ยวกับอายุที่รับรู้ยินยอมที่เท่ากัน
- การเข้าถึงเทคโนโลยีช่วยเหลือการปฏิสนธิอย่างเท่าเทียมกัน
- การเข้าถึงการผ่าตัดแปลงเพศและการรักษาเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนทางการแพทย์
- การรับรองการแปลงเพศทางกฎหมาย
-
กฎหมายเกี่ยวกับเพศวิถีและการรับราชการทางทหาร
- ข้อมูลจาก แอมเนสตี้ ประเทศไทย เปิดเส้นทางความรุนแรงกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ
การร่วมเพศของคนเพศเดียวกันเป็นอาชญากรรมในกว่า 70 ประเทศ และเป็นโทษประหารชีวิตในเก้าประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดีอาระเบีย ประเทศซูดานและประเทศเยเมน ถึงแม้ในบางพื้นที่จะไม่บังคับใช้กฎหมายจำกัดสิทธิดังกล่าวอย่างจริงจัง การมีกฎหมายเหล่านั้นก็สนับสนุนอคติต่อกลุ่มคน LGBTQ+ ทำให้พวกเขารู้สึกขาดการปกป้องจากภัยคุกคาม การแบล็กเมล์ หรือความรุนแรง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้สนับสนุน LGBTQ+ ได้เอาชนะความท้าทายและความอันตรายมหาศาลเพื่อเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันมีอย่างน้อย 43 ประเทศที่ออกมาประกาศว่าอาชญากรรมเกี่ยวกับโฮโมโฟเบียเป็นอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง ประเภทหนึ่ง และในเดือน พ.ค. ปี 2562 มี 27 ประเทศที่ได้อนุมัติให้การสมรสของคู่รักเพศเดียวกันถูกกฎหมาย
อ้างอิง: www.amnesty.or.th