ชีวิตดีสังคมดี

ปลดแอก 'แรงงาน' ดันไทยเข้า ILO อยู่แบบมีศักดิ์ศรีต้องได้ค่าแรงมากกว่า 300

ปลดแอก 'แรงงาน' ดันไทยเข้า ILO อยู่แบบมีศักดิ์ศรีต้องได้ค่าแรงมากกว่า 300

30 มิ.ย. 2566

ปลดแอกให้ 'แรงงาน' ดันไทยเข้าอนุสัญญา ILO ชนชั้นแรงงานต้องมีสิทธิมีเสียง นักวิชาการระบุวัยแรงงานจะอยู่ได้แบบมีศักดิ์ศรีต้องได้ค่าแรงมากกว่า 300 บาท

ชนชั้น "แรงงาน" ชนชั้นที่อยู่ล่างสุดของสังคมที่นับวันจะยิ่งห่างออกไปเรื่อยๆ เพราะไม่อะไรที่แน่นอนมาซัพพอร์ตการดำรงชีวิตนอกจากเงินเดือน และสวัสดิการจากประกันสังคมที่เป็นการมอบให้สิทธิขั้นพื้นฐานให้เท่านั้น แต่ดูเหมือนว่าสิทธิที่ได้ยังเพียงพอที่เปลี่ยนสถานะให้คนชนชั้นแรงงานก้าวข้ามเส้นแบ่งชนชั้นมาได้ ดังนั้นจึงเป็นภาพที่เริ่มชินตามากขึ้นเรื่อยๆ ที่เรามักจะเห็นวัยทำงาน ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้ได้เงินมากพอสำหรับการใช้ชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมที่ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำเริ่มกว้างขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้   
 

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการ และความเท่าเทียมของชนชั้นแรงงาน ได้มีการขับเคลื่อนอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98  เพื่อเปิดโอกาสให้ชนชั้นแรงงานไทยมีสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคในการต่อรองเพิ่มมากขึ้น เพราะตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี กลุ่มแรงงานมีการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยให้สัตยาบัน มาโดยตลอดยังมองเห็นความเปลี่ยนแปลงและความพยายามของรัฐบาลไทยในการเข้าร่วมกับ อนุสัญญา ILO จึงส่งผลให้ที่ผ่านมา การเรียกร้องสิทธิ การร่วมตัวของแรงงานไทยทำได้น้อยมาก ส่งผลให้ความเป็นประชาธิปไตยในที่ทำงานต่ำลงการทำงานของ "แรงงาน" ไทย เป็นไปภายใต้นายทุนเท่านั้น "แรงงาน" ไม่มีสิทธิเรียกร้อง ต่อรองในสิทธิที่ควรจะได้ 

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ยังบอกอีกว่า อย่าว่าแต่สิทธิการเรียกร้องให้กับตัวเองเลย เพราะปัจจุบันยังเกิดความไม่เท่าเทียมของ "แรงงาน" ไทยอย่างมาก  กฎหมายแรงงานที่มีอยู่ไม่ได้ส่งเสริมให้มีความเสมอภาค และมีสิทธิเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง เพราะในกฎหมายแรงงานมาตรา 117 ยังมีการห้ามไม่ให้นัดกันหยุดงาน หรือรวมตัวประท้วง พวกเขาไม่แม้แต่จะสามารถเรียกร้องสิทธิที่พึ่งจะได้ของตัวเองด้วยซ้ำ 

 

 

แต่หากสามารถผลักดันให้ไทยเข้าร่วมอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ได้ตนเห็นว่าจะเป็นก้าวแรกที่แรงงานไทยจะมีสิทธิและมีความเท่าเทียมในสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะการได้รับความคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ รัฐสวัสดิการต่างๆ ของพนักงานฟรีแลนซ์ แรงงานอิสระ ที่สามารถต่อรองกับนายทุนได้มากขึ้น เช่น อาชีพไรเดอร์ ที่ถูกหักค่ารอบที่สูงมากขึ้นแต่ไม่สามารถทำอะไรได้ สุดท้ายก็ต้องยอมโดนกดค่าแรงต่อไป โดยการผลักดันให้ประเทศไทยเข้าไปภายใต้อนุสัยญา ILO จะเป็นนโยบายเพื่อแรงงานที่จะดำเนินการทันทีหากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ 

 

 

  • อนุสัญญา ILO ฉบับ 87 และ 98 สำคัญกับชนชั้น "แรงงาน" อย่างไร 


อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ถือเป็นอนุสัญญาที่เป็นหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุดหลักการหนึ่งของ ILO ที่เชื่อกัน ว่าจะเป็นการสร้างหลักประกันสำคัญให้กับคนทำงาน และจะนำมาซึ่งสังคมที่เป็นธรรมและสันติสุข ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่จึงให้การสนับสนุนโดยการให้สัตยาบันเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ขณะที่ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศก่อตั้งองค์การ LO ยังไม่ได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้  ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าร่วมอนุสัญญาILO ฉบับ 87 ที่ว่าด้วยเสรีภาพในสาคมแล้ว 150 ประเทศ และเข้าร่วมฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรองร่วมกัน 160 ประเทศ 

คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ 

 

 

  • ค่าแรง 300 บาท ทำแรงงานไทยใช้ชีวิตแบบไม่สมศักดิ์ศรี

รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ระบุด้วยว่า ปัจจุบันค่าแรงของ "แรงงาน" ไทยอยู่ที่ 300 บาท/วัน ซึ่งเป็นอัตราค่าแรงเมื่อ 10 ปีที่แล้วค่าแรงในอัตราดังกล่าวไม่สามารถทำให้แรงงานใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีได้ สมศักดิ์ศรีในที่นี้คือ การได้กินอาหารดีๆ ได้จับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ต้องการ จากการที่ตนเคยศึกษาไว้พบว่า ค่าจ้างเพื่อการมีชีวิตอยู่ได้จะต้องตกอยู่ที่ประมาณ 20,000 /เดือน แรงงานจึงจะสามารถใช้ชีวิตได้  ดังนั้นการปรับค่าแรงเป็น 400 กว่าบาทต่อวัน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นจำนวนเงินที่มากพอ แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จะยกระดับชีวิตแรงงานให้ดีขึ้น โดยเฉพาะแรงงานยุคใหม่ 

 

 

แต่หากจะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในชนชั้นการเพิ่มค่าแรงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่จะทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันคือ การสร้างรัฐสวัสดิการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาล เงินบำนาญหลังเกษียณ  สวัสดิการอื่นๆ เพราะรัฐสวัสดิการจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดช่องว่างคามล้ำได้ ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเกดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่กว้างมากขึ้นในสังคมไทย สังเกตได้ง่ายๆ จากการเข้าถึงระบบรักษาพยาบาลที่มีแค่คนรวยเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงระบบการรักษาที่ดีและรวดเร็ว ส่วนคนไม่มีเงินก็จะต้องรอคิวและเผชิญกับระบบที่แออัดต่อไป 

 

 

หากมองสภาพความเหลื่อมล้ำทางแรงงานขณะนี้ในประเทศไทยถือว่า ค่อนข้างแย่มาก โดยจะเห็นได้จากที่คนรุ่นใหม่ จะต้องทำงานหลายๆ งานเพื่อให้รายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หรือเพื่อให้มีเงินสำหรับการใช้ชีวิตแบบมีศักดิ์ศรี และมีเงินเยอะๆ เพราะประเทศไทยตอนนี้ศักดิ์ศรีวัดตามเงินในกระเป๋า ซึ่งในความเป็นจะเป็นจริงเรื่องแบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น นี่คือคำอธิบายของนักวิชาการผู้ขับเคลื่อนรัฐสวัสดิการและความเท่าเทียมของชนชั้นแรงงาน