ฟังเสียงสะท้อนจาก 'คนพิการ' เส้นเลือดฝอย ยกระดับคุณภาพชีวิตทุกด้าน
กทม. ฟังเสียงสะท้อนจาก 'คนพิการ' เส้นเลือดฝอย ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ยั่งยืน ตั้งเป้านำตั้งเป้านำผู้พิการจำนวน 500,000 คนเข้าสู่ระบบ เข้าถึงบริการ ให้ครอบคลุม
ผู้พิการคนอีกหนึ่งกลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลือ รวมไปถึงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจอาชีพให้เหมาะสมและตอบโจทย์เพื่อให้ "คนพิการ" สามารถสามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น สิ่งสำคัญสิ่งสำคัญไปกว่าการให้ความช่วยเหลือคือการสร้างความมั่นคงในชีวิต การพัฒนาศักยภาพให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ล่าสุด กรุงเทพมหานครและประชาคมเครือข่ายผู้พิการใน ได้จัดกิจกรรม เวที “เสียงจากคนพิการเส้นเลือดฝอยกรุงเทพมหานคร "คนพิการ" เส้นเลือดฝอยอินแอ็คชั่น พร้อมทั้งรับมอบ ข้อเสนอ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง และร่วมขับเคลื่อน” ตามนโยบาย 5 ดี ด้านคนพิการ
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้กรุงเทพมหานครเข้าใจและทราบถึงปัญหาที่แท้จริงของผู้พิการมากยิ่งขึ้น เพราะคนที่รู้เรื่องดีที่สุดว่าคนพิการต้องการอะไรก็คือคนพิการเอง การจะขับเคลื่อนนโยบายด้านคนพิการให้ดีที่สุดจึงต้องมาจากการมีส่วนร่วมของคนพิการ วันนี้มารวมกลุ่มกันเป็นเวทีแรกของประชาคมซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญมากๆ เพราะลำพังเพียงภาครัฐทำ 5 ดี วันหนึ่งอาจมีบางด้านที่แผ่วไปได้ แต่หากมีประชาคมที่เข้มแข็งงานทุกๆ ด้านก็จะเดินหน้าต่อเนื่องไปได้ สิ่งที่เราทำคือการแบ่งงานด้านคนพิการออกเป็น 5 ด้าน 5 ดี ซึ่งในการขับเคลื่อนแต่ละดี ผู้ว่าฯ ชัชชาติได้ให้แนวทางไว้ว่าจะต้องประกอบไปด้วย 4 เกลียว คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ซึ่งในวันนี้มีภาคประชาสังคมมาเติม การที่มีครบ 4 เกลียวมาช่วยกันทำงานจะทำให้งาน 5 ดี เพื่อคนพิการมีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนในอนาคต
ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบว่ามีผู้พิการอยู่ประมาณ 500,000 ราย โดยพบว่ามีผู้พิการประมาณ 1.2 แสนรายที่อยู่ในระบบหรือเป็นผู้พิการที่มีบัตรประจำที่สามารถเข้าถึงสิทธิ์การบริการด้านต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม
'สิ่งสำคัญที่สุดคือ กทม. จะต้องเร่งสำรวจและนำผู้พิการเข้าสู่ระบบทั้งหมดดังนั้นสิ่งที่กรุงเทพมหานครจะต้องดำเนินการ คือการเร่งสำคือการเร่งสำรวจและนำผู้พิการเข้าสู่ระบบทั้งหมด โดยที่ที่ผ่านมามีนโยบายการจัดทำโดยที่ที่ผ่านมามีนโยบายการจัดทำจุดบริการทำบัตรประจำตัวผู้พิการณโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งสามารถดำเนินการให้เสร็จภายในจุดเดียว ผู้พิการไม่ต้องเดินทางไปหลายจุดเหมือนที่ผ่านมา' นายศานนท์ กล่าว
นายศานนท์ กล่าวด้วยว่า งบประมาณต่างๆ ของ กทม.ที่ใช้ลงไปพัฒนาเพื่อคนพิการจะทำทุกด้านควบคู่กันไป แต่การมีประชาคมคนพิการเส้นเลือดฝอยจะทำให้รู้ได้ว่าสิ่งไหนจุดไหนที่จำเป็นเร่งด่วนและตรงตามความต้องการของคนพิการ ทั้งในเรื่องของ Universal Design ซึ่งปัจจุบันมีการปรับปรุงทางเท้าในพื้นที่กรุงเทพเพื่อรองรับการเดินทางของคนพิการขณะนี้แล้วเสร็จไปแล้วจำนวนซึ่งปัจจุบันมีการปรับปรุงทางเท้าในพื้นที่กรุงเทพเพื่อรองรับการเดินทางของคนพิการขณะนี้แล้วเสร็จไปแล้วจำนวน 16-17 เส้นทาง
เรื่องการจ้างงาน "คนพิการ" จะต้องให้ภาคเอกชนผู้ประกอบการเข้ามาร่วมด้วยมากขึ้น รวมถึงเรื่องอาชีพของ "คนพิการ" ไม่ได้เป็นการซื้อด้วยความสงสารแต่คนซื้อเพราะสินค้ามีคุณภาพ รวมถึงเรื่องการสร้างสรรค์ศิลปะต่างๆ จะเห็นว่าคนพิการมีฝีมือมาก ขาดเพียงเวทีและพื้นที่แสดงออก
สำหรับในปีงบประมาณ 2567 การพัฒนาชีวิต "คนพิการ" ในกทม. จะเน้นไปที่นโยบายเรียนดี โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งการให้สำนักการศึกษา เร่งพัฒนาครูให้มีความเฉพาะด้านเพื่อรองรับการศึกษารูปแบบพิเศษให้ครบทุกโรงเรียน เพราะที่ผ่านมาจากการสำเพราะที่ผ่านมาจากการสำรวจพบว่าโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครยังไม่มีครูเฉพาะด้านที่ครอบคลุมมากพอสำหรับการสอนนักเรียนที่มีความพิเศษ ดังนั้นในปีนี้จะต้องมีการเร่งเพิ่มศักยภาพครูเพื่อให้คนพิการ ได้เข้าถึงการศึกษาเหมือนนักเรียนทั่วไป เนื่องเนื่องจากปัจจุบันเราพบว่ามีผู้พิการเข้าถึงระบบการศึกษาเพียงแค่ 4,000 คนเท่านั้น
นอกจากนี้ยังนโยบายให้ความสำคัญกับเส้นเลือดฝอยในการพัฒนาเมืองร่วมกัน การทำกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ต้องดูแลและสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนทุกกลุ่ม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการในกรุงเทพมหานคร ซึ่งคาดว่ายังมีอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้เข้ามาอยู่ระบบ จะต้องทำให้เขาเหล่านั้นเข้าถึงสิทธิ์ต่าง ๆ ที่พึงมีพึงได้ ซึ่งในวันนี้กลุ่มคนพิการเส้นเลือดฝอยได้ขยับมาเป็นประชาคมคนพิการกรุงเทพมหานครที่จะร่วมกันทำงานเพื่อคนพิการถือว่าเป็นความก้าวหน้าอีกระดับหนึ่ง กรุงเทพมหานครจะร่วมขับเคลื่อนนโยบาย 5 ดี ด้านคนพิการ ตามเจตนารมณ์ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง และร่วมขับเคลื่อนที่ประชาคมฯ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของผู้พิการอย่างยั่งยืนดังนั้น กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประชาคมคนพิการกรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย จัดเวที “เสียงจากคนพิการเส้นเลือดฝอยกรุงเทพมหานคร คนพิการเส้นเลือดฝอยอินแอ็คชั่น ขึ้นเพื่อเป็นกลไกให้ประชาคมคนพิการเพื่อคนกรุงเทพมหานครได้มีเวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงความคิดเห็น และได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง และร่วมขับเคลื่อน ระหว่างเส้นเลือดฝอยคนพิการ/เครือข่ายคนพิการ และกรุงเทพมหานครในการพัฒนานโยบายคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมทั้งร่วมตัดสินใจด้วยเหตุผลและข้อตกลงร่วมกันของคนพิการ เพื่อการฟังเสียงคนพิการเพื่อคนพิการ ตามแนวคิดหลักการ “ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเราต้องมีเรา (Nothing about us without us)”