ชีวิตดีสังคมดี

ประโยค การกระทำ เข้าข่าย "บูลลี่" สร้างบาดแผลลึก เพราะคำที่พูดแบบไม่คิด

ประโยค การกระทำ เข้าข่าย "บูลลี่" สร้างบาดแผลลึก เพราะคำที่พูดแบบไม่คิด

10 ม.ค. 2566

ประโยค และการกระทำเข้าข่าย "บูลลี่" สร้างบาดแผลลึกให้คนฟัง เพราะคำที่พูดออกมาแบบไม่คิด คนพูดตลกแต่คนฟังเจ็บปวด

จากสถานการณ์การ "บูลลี่" ในประเทศไทยมีที่แนวโน้มรุนแรง เข้าขั้นวิกฤตขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการ "บูลลี่" ในโรงเรียน ที่ดูเหมือนว่าจะได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ หรือถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เด็กจะต้องจัดการกับชีวิต จนทำให้การ "บูลลี่" เริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ  ส่งผลกระทบต่อด้านจิตใจและร่างกายของผู้ถูกกระทำ 

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่สังคมออนไลน์กลายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในสังคมยิ่งส่งผลให้การ "บูลลี่" ทำได้ตลอดเวลา และแพร่ขยายเป็นวงกว้าง สร้างบาดแผลที่ไม่มีวันลบออกไปได้ให้กับคนที่โดน "บูลลี่"

โดยข้อมูลจาก มูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย หนึ่งในองค์กรที่ขับเคลื่อนการ บูลลี่ ในสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ได้เปิดเผยข้อมูล ว่าการ "บูลลี่" กลั่นแกล้งในโลกออนไลน์มีความรุนแรงกว่าการกลั่นแกล้งทางกายภาพ

 

ข้อมูลระบุลักษณะการ บูลลี่ ทางโลกออนไลน์ และการ "บูลลี่" ทางกายภาพไว้ดังนี้  

 

กรณีการบูลลี่ทางกายภาพ จะมีลักษณพฤติกรรมและการกระทำ คือ
 -เกิดขึ้นได้เมื่อคู่กรณีเผชิญหน้ากัน
-เหยื่อหลบหลีกได้ 
-มีผู้ร่วมรับรู้ในวงจำกัด
-ระบุตัวตนผู้กลั่นแกล้งได้
-รับรู้ถึงผลกระทบที่เหยื่อได้รับ
-แกล้งได้ในสถานที่กายภาพ 
โดยการ บูลลี่ ในลักษณะนี้ผู้กลั่นแกล้งและเหยื่ออยู่ในพื้นที่และเวลาเดียวกัน 

การ "บูลลี่" ที่เกิดขึ้นทางออนไลน์ จะมีลักษณะ การกระทำ เพื่อ "บูลลี่" คือ 

-เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา 
-เหยื่อหลบหลีกไม่ได้
-มีผู้ร่วมรับรู้ในวงกว้างผ่านโลกออนไลน์ 
-ผู้กลั่นแกล้งปกปิดตัวตนที่แท้จริง 
-ผลกระทบที่เหยื่อได้รับอาจไม่รู้ได้ 
-ไม่มีข้อจำกัดในเงื่อนไขพื้นที่ 
ผู้ถูกกลั่นแกล้งเป็นเป้าหมายของการรังแกได้ง่าย  

 

แต่ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งหรือ บูลลี่ในรูปแบบใด ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการกระทำในเชิงก้าวร้าวรุนแรง  เป็นการกระทำที่ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง และมีความสำพันธ์ในเชิงอำนาจ 


ส่วนประโยคหรือคำพูด ลักษณะทางกายภาพ ที่มักจะใช้ บูลลี่ เช่น อ้วนดำ ไปทำอะไรมาทำไมดำขึ้น  ด่าเพศที่สามว่ากะเทย  ใส่ร้าย ป้ายสี  แม้ว่าคำพูด หรือ กากระทำจะดูเหมือนว่าเป็นเรื่องตลก แต่ลึก ๆ ภายในสภาพจิตใจ ความรู้สึกของคนที่ถูกกระทำนั้นไม่ได้รู้สึกตลกไปด้วย ข้อมูลจากโครงการ DTAC Safe Internet – Stop Cyberbullying ระบุว่า  ประโยคที่เข่าข่ายบูลลี่ หรือการกระทำเพื่อ บูลลี่ ผู้อื่น แบ่งได้ดังนี้ 

 

-การกลั้นแกล้งทางวาจา ด้วยการสร้างเรื่องโกหก ปล่อยข่าวลือ ล้อชื่อพ่อชื่อแม่ ล้อปมด้อย  
-กลั่นแกล้งทางกาย ทำร้ายร่างกาย และการขโมย
-การกลั่นแกล้งทางสังคมไม่ให้เข้าร่วมกลุ่ม สร้างความโกหก ปล่อยข่าวลือ 
-กลั่นแกล้งทางไซเบอร์ โดยการข่มขู่ ส่งภาพโป๊ หลอกหลวง ไล่ออกจากกลุ่มออนไลน์ 
-กลั่นแกล้งทางความรู้สึก ข่มขู่ บังคับ
-การกลั่นแกล้งทางเพศการใช้คำพูดที่ส่อไปในทางเพศ  ล้อความเป็นเพศที่สาม 


ด้านกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุไว้ว่าการ "บูลลี่" แบ่งออก 3 ประเภท ประกอบด้วย 

1.การกลั่นแกล้งทางวาจา คือ การสื่อสาร เขียน เพื่อสื่อความหมายกลั่นแกล้ง เช่น ล้อเล่น เรียกชื่อ แสดงความคิดเห็นทางเพศที่ไม่เหมาะสม เหน็บแนม และขู่ว่าจะทำอันตราย

 

2.การกลั่นแกล้งทางสังคม คือ วิธีการทำให้เสียหน้า หรือแกล้งให้สูญเสียความสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างตั้งใจ เช่น ขับเพื่อนออกจากกลุ่ม กระจายข่าวลือให้เสียหาย กีดกันไม่ให้เป็นเพื่อนกัน ทำให้อับอายในที่สาธารณะ

 

3.การกลั่นแกล้งทางกายภาพ คือ การกลั่นแกล้งที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและสวัสดิภาพของผู้ถูกกลั่นแกล้ง เช่น การทุบตี ทำร้าย ทำให้สะดุด แย่งสิ่งของ แสดงออกทำท่าทางหยาบคายใส่ 

 

 

 

ที่มา: ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต , โครงการ DTAC Safe Internet – Stop Cyberbullying