ชีวิตดีสังคมดี

'จัดอันดับที่สำคัญของโลก 2565' ความสุขคนไทยลดลง ติดบ่วงประเทศไร้เสรีภาพ

'จัดอันดับที่สำคัญของโลก 2565' ความสุขคนไทยลดลง ติดบ่วงประเทศไร้เสรีภาพ

19 ก.พ. 2566

สรุป 'จัดอันดับที่สำคัญของโลก 2565' คนไทยมีความสุขลดลง 7 อันดับจากปี 64 ถูกจัดให้เป็นประเทศไม่มีเสรีภาพ โควิด19 ยังเป็นข้ออ้างในถ่วงดุลตรวจสอบคอร์รัปชัน

การ "จัดอันดับที่สำคัญของโลก2565" (Rankings)  จาก Freedom House ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสหรัฐฯ ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีเสรีภาพจัดอันดับเสรีภาพของประเทศต่าง ๆ เพื่อชี้วัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของโลกปี 2565 (Freedom in the World 2022)

 

 

โดยรวบรวมข้อมูลจากข่าวเปิด นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิจัยต่าง ๆ และการลงพื้นที่แล้วแบ่งเป็นการให้คะแนน (scores) การจัดอันดับ (ratings) และการกำหนดสถานะความมีเสรีภาพ 

 

สำหรับประเทศไทยเอง เป็นหนึ่งในประเทศที่ถูก "จัดอันดับที่สำคัญของโลก2565" ทั้งด้านความสุขของประชาชน ด้านเสรีภาพ ด้านคอร์รัปคมชัน รวมไปถึงด้านการเติบโตทางด้านเศรฐกิจและการท่องเที่ยวด้วย แต่ดูเหมือนว่าจาก การจัดอันดับที่สำคัญของโลกปี 2565 ไทยจะได้อันดับที่ต่ำลง โดยเฉพาะการจัดอันดับด้านความสุข และเสรีภาพ  

สำหรับประเด็นการ "จัดอันดับที่สำคัญของโลก2565" (Rankings)  ที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตคนไทย มีดังนี้ 

 

20 อันดับความสุข แรกของโลกประจำปี 2565

จากการจัดทำรายงานความสุขของประชากรโลก (World HappinessRepart) ครั้งแรกเมื่อปี 2555 เพื่อแสดงอันดับความสุขของประเทศต่ง ๆ ทั้งหมด 146 ประเทศ ซึ่งประเมินโดยใช้ตัวชี้วัด ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล การเกื้อกูลกันทางสังคม ความยืนยาวของชีวิต (อย่างมีสุขภาพที่ดี)เสรีภาพในการดำเนินชีวิต ความมีน้ำใจต่อกันในสังคม และการคอร์รัปชัน สำหรับการจัดอันดับความสุขโลกในปี 2565 ไทยได้รับอันดับที่ 61 ของโลก ลดลง 7 อันดับ จากปี 2564 ทั้งนี้ รายงานประจำปี 2565 อิงจากค่าเฉลี่ยการประเมินช่วงปี 2562-2564 ซึ่งไทยได้ 5.981 คะแนน ลดลง 0.004 คะแนน

 

อันดับด้านเสรีภาพ ในปี 2565

Freedom House ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนสหรัฐฯ ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีเสรีภาพจัดอันดับเสรีภาพของประเทศต่าง ๆ เพื่อชี้วัดระดับความเป็นประชาธิปไตยของโลกปี 2565 (Freedom in the World 2022) โดยรวบรวมข้อมูลจากข่าวเปิด นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิจัยต่างๆ และการลงพื้นที่แล้วแบ่งเป็นการให้คะแนน (scores) การจัดอันดับ (ratings) และการกำหนดสถานะความมีเสรีภาพ
ของประชาชนในประเทศต่าง ๆ  

 

ในปี 2565 ภาพรวมสรีภาพโลกยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 นับตั้งแต่ปี 2549 มี 60 ประเทศที่มีเสรีภาพลดลงจากปี 2564 ในขณะที่มีเพียง 25 ประเทศที่มีเสรีมากขึ้น ขณะที่ไทยยังคงได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศไม่มีเสรีภาพ (not fee) เป็นปีที่ 2 ซึ่งเป็นผลจากการจับกุม และล่วงละเมิดต่อนักเคลื่อนไหว ต่อต้านรัฐบาล เสรีภาพของสื่อถูกจำกัด ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับเสรีภาพของประเทศในอาเซียน มีดังนี้

ประเทศกึ่งเสรีภาพ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย
ประเทศไม่มีเสรีภาพ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ บรูไน กัมพูชา ลาว เวียดนาม

 

ประเทศไม่มีเสรีภาพ

 

 "จัดอันดับที่สำคัญของโลก2565" ภาพลักษณ์คอร์รัปชันของโลกปี 2564 

องค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เยอรมนีจัดทำดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของโลก (Corruption Perceptions Index CPI) เผยแพร่เป็นประจำทุกปีสำหรับการจัดอันดับครั้งล่าสุดเมื่อปี 2564 ไทยได้คะแนนและอันดับลดลงจาก ปี 2563 โดยได้ 35 คะแนน และอันดับที่ 110 ลดลงจากอันดับที่ 104 ร่วมกับอัลบาเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มองโกเลีย และมาลาวี

 

ทั้งนี้ ภาพรวมดัชนี CPI ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2563 เนื่องจากความพยายามต่อต้านการทุจริต ทั่วโลกซบเซา สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยยังคงถูกโจมตี ในขณะที่การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ยังคงถูก ใช้เป็นข้ออ้างในการลดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การตรวจสอบและถ่วงดุลในหลายประเทศ
 

 

การจัดอันดับความสามารถด้านการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว 

WEF หรือ สภาเศรษฐกิจโลก เก็บข้อมูลจาก 14 ประเด็น (pillars) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ความมั่นคงและความปลอดภัย สาธารณสุขและ ความสะอาด ทรัพยากรบุคคลและแรงงาน ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) การให้ความสำคัญเชิงนโยบายการเดินทางและการท่องเที่ยว การเปิดกว้างของประเทศ การแข่งขันด้านราคา ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเล เพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม (คะแนนรวมเต็ม 7 คะแนน)

 

เมื่อปี 2564 ไทยอยู่ในลำดับที่ 36 จาก 117 ประเทศ ลดลงจากปี 2562 ที่อยู่ลำดับที่ 31 ขณะที่มาเลเชีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ สปป.ลาว ได้ลำดับต่ำกว่าไทย คือ อันดับที่ 38 52 75 79 และ 93 ตามลำดับ

 

ที่มา: การจัดอันดับโลก 2565