"โรคซึมเศร้า" ระยะไหนอันตรายที่สุด เช็ก 'อาการโรคซึมเศร้า' เบื้องต้น
โรคซึมเศร้า" 3 ระยะ ช่วงไหนอันตรายเสี่ยงฆ่าตัวตายมากที่สุด เช็ก 'อาการโรคซึมเศร้า' ตรวจสัญญาณอันตรายเบื้องต้นก่อนสาย
จากการรายงานภาวะสังคมของ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ระบุว่า ปัจจุบันด้วยโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยพบว่าในปี 2564 ไทยมีผู้ป่วยเป็น "โรคซึมเศร้า" เพิ่มเป็น 358,267 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ประมาณ 355,537 ราย อัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 7.38 รายต่อประชากรแสนคน
สำหรับผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" สามารถแบ่งระยะการป่วยได้ทั้งหมด 3 ระยะ โดยแต่ละระยะนั้น ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยแตกต่างกัน และมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน และมีการแสดงออกของโรคที่แตกต่างกัน สำหรับ อาการโรคซึมเศร้า สามารถแบ่งได้ดังนี้
"โรคซึมเศร้า" ระยะที่ 1 หรือช่วงอาการหนัก: ผู้ป่วยมักจะมีอาการเบื่อหน่าย มีความคิดด้านลบ รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ขาดสมาธิมีปัญหาด้านการนอน โดยบางคนอาจจะพบว่ามีอาการนอนไม่หรับ หรือนอนมากเกินไป บางครั้งมักจะมีความรู้สึกว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ส่งผลกระทบไปถึงการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนหรือการทำงาน
"โรคซึมเศร้า" ระยะที่ 2 ช่วงระยะเริ่มมีสติ: ผู้ป่วยในระยะนี้จัดว่าเป็นผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาบำบัดมาแล้ว อาการต่างๆ ที่รบกวนจิตใจจะเริ่มทุเลาเบาบางลง เริ่มมีสติและกลับมาใช้ชีวิตได้มากยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้งผู้ป่วยยังมีโอกาสที่จะพบว่าภาวะหม่นๆ ในจิตใจอยู่ โดย การดูแล ผู้ป่วยซึมเศร้า ในระยะนี้จะต้องพยายามประคับประคอง ไม่ให้อาการที่มีกลับมารุนแรง ระยะนี้จะต้องใช้เวลาดูแลประมาณ 4-6 เดือน และผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแล และกินยาอย่างต่อเนื่อง
"โรคซึมเศร้า" ระยะที่ 3 ช่วงอาการดี: ระยะนี้ถือว่าเป็นระยะปลอดภัยที่ผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทำงาน เรียน หรือเข้าสังคมเหมือนคนอื่น ๆ สิ่งสำคัญที่สุดในระยะนี้ คือ จะต้องดูแลไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเป็นโรคซึมเศร้าอีกครั้ง เพราะผู้ป่วยบางรายที่หยุดยาไปสามารถกลับมาป่วยซึมเศร้าได้อีกครั้ง อีกทั้งผู้ป่วยบางคนอาจจะหยุดยาเองซึ่งจะต้องมีการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด
าการโรคซึมเศร้า สังเกตตัวเองหรือคนใกล้ตัวก่อนสาย
อาการโรคซึมเศร้าหลัก ๆ ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง ได้แก่ เศร้า หดหู่ ซึม เบื่อหน่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว อ่อนไหวง่าย ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย รู้สึกสิ้นหวัง ดูถูกตนเอง โดยอาการเหล่านี้จะต้องเป็นติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำวิธี วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า ไว้ดังนี้
หลังจากที่พบว่าตัวเองหรือคนรอบตัวเริ่มมีอาการดังกล่าว สามารถพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ว่าเข้าข่ายเป็นผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" หรือไม่ ขั้นตอนการ รักษาโรคซึมเศร้า จะเริ่มต้นจากการสอบถามอาการ ผลกระทบที่เกิดขึ้น และระดับความรุนแรง ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน โรคประจำตัว ยาที่กินอยู่ รวมถึงประวัติครอบครัว อย่างไรก็ตามแพทย์จะประเมินอาการร่วมกับบุคลิกภาพที่สังเกตได้ และให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา ก่อนจะนำผลมาประเมินว่า ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในแนวทางใด เช่น การรักษาด้วยยา หรือการใช้จิตบำบัด
ที่มา: กรมสุขภาพจิต