ชีวิตดีสังคมดี

15 ปี เส้นทางการต่อสู้ 'บำนาญถ้วนหน้า' ความหวัง 3,000 บาทลดความเหลื่อมล้ำ

15 ปี เส้นทางการต่อสู้ 'บำนาญถ้วนหน้า' ความหวัง 3,000 บาทลดความเหลื่อมล้ำ

24 มี.ค. 2566

15 ปี การต่อสู้เพื่อ 'บำนาญถ้วนหน้า' ของเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ต้องได้ขั้นต่ำ 3,000 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เข้าครม.แต่ถูกตีตก เลือกตั้ง66 พร้อมเดินหน้า

ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป พึ่งพาเบี้ยยังชีพ 600-1000 บาทต่อเดือน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ต้องพึ่งพาลูกหลานเพิ่ม ถ้าลูกหลานยังลำบาก หมายความว่าพ่อแม่ต้องลำบากตามไปด้วย เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นที่มาของเครือข่ายภาคประชาชน ในนาม "เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ" ลุกขึ้นมาเรียกร้องรัฐบาลแก้กฎหมาย "เบี้ยยังชีพ" เป็นกฎหมาย "บำนาญชราภาพ" หรือ "บำนาญถ้วนหน้า"

 

  • รวมตัวยกร่างพ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า


ปี 2551 "เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ" รวมตัวกันยกร่างพระราชบัญญัติบำนาญชราภาพ (พ.ร.บ.บำนาญชราภาพ) พร้อมกับระดมรายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นพร้อมร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพ เสนอต่อนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น

 

  •  ยื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า ต่อนายก

2553 เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการรวมตัวกันเข้ายื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพ เรียกร้องให้รัฐบาลแก้กฎหมายจาก "เบี้ยยังชีพ" เป็น "บำนาญถ้วนหน้า" เพื่อเป็นหลักประกันรายได้หลังอายุ 60 ปี แก้ปัญหาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่พอใช้ และลดการผูกขาดบำนาญไว้ที่ข้าราชการเพียงอย่างเดียว โดย "เครือข่ายประชาชนรัฐสวัสดิการ" ได้ล่ารายชื่อกว่า 13,000 คน เสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

  • กฎหมายการออมแห่งชาติ (กอช.)

หลังจากได้รับร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพแล้ว ปี 2554  รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ยุบสภา แต่กฎหมายที่ได้มา คือ กฎหมายการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งไม่ตรงความต้องการของภาคประชาชน 

 

 

  • รัฐประหาร ชะล่อเสนอร่างพ.ร.บ. 

ปี 2557 เกิดรัฐประหาร เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ หยุดการเคลื่อนไหว ชะลอเสนอร่าง พ.ร.บ.บำนาญชราภาพไว้ก่อน โดยให้เหตุผลว่า ไม่เสนอในสมัยรัฐประหาร 

 

 

  • เลือกตั้งใหม่ เดินหน้าสู้ต่อ

ปี 2562 สิ้นสุดรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และประกาศให้มีการเลือกตั้ง เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง ภายใต้หัวข้อ "เลือกตั้งครั้งนี้ รัฐสวัดิการต้องมา"  โดยยื่นร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพ พร้อมรายชื่อผู้เห็นด้วยเกือบ 15,000 รายชื่อ  และมีกิจกรรมหลายต่อหลายครั้งที่แสดงออกเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสวัสดิการรัฐ โดยเฉพาะ "บำนาญถ้วนหน้า"

 

 

  • พิจารณา พ.ร.บ.บำนาญชราภาพ

2563 ร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ครั้งแรก เพื่อพิจารณา พ.ร.บ.เป็นกฎหมาย โดยประธานรัฐสภา ว่าด้วยเรื่องการเงิน ยื่นนายกรัฐมนตรีพิจารณา ถึงขั้นตอนกรรมาธิการสวัสดิการสังคมแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ. แต่ไม่มีความเคลื่อนไหว จึงรวมตัวกันเพื่อทวงถามลายเซ็น พล.อ.ประยุทธ์ ให้รับรองร่างพ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ พ.ศ. ....  และมีกิจกรรมแสดงเชิงสัญลักษณ์คือถือปิ่นโตที่หน้าทำเนียบรัฐบาล 

 

เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการทวงถามลายเซ็นร่างพ.ร.บ.บำนาญชราภาพต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

 

  • พล.อ.ประยุทธ์ ตีตกร่างพ.ร.บ.


กระทั้งปี 2564 ความหวังดับลง เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเห็นไม่ชอบ ปัดตกร่าง พ.ร.บ.บำนาญชราภาพ ที่ประชาชนเป็นเจ้าของ และเสนอโดยพรรคการเมือง ให้เหตุผลว่ากฎหมายมีความซ้ำซ้อน และใช้งบประมาณมหาศาล การต่อสู้จึงต้องสิ้นสุดลง  

 

 

  • เลือกตั้งปี 2566 เดินหน้าสู้อีกครั้ง

ความหวังเหมือนจะกลับมาอีกครั้ง หลังรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งในพ.ค. ปีนี้ แสงสว่างสำหรับ "เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ" ส่องทางให้เดินต่อ ด้วยสัญญาณที่ดีสอดรับนโยบายพรรคการเมือง ที่ไม่ใช่นโยบายประชานิยม แต่ "บำนาญถ้วนหน้า" คือความต้องการของประชาชนโดยแท้ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการประกาศชัดแล้วว่าจะเดินหน้าต่อสู้ขั้นต่ำ 3,000 บาท ต้องได้ทุกคน

 

แหล่งเงินที่รัฐสามารถหาเพิ่มเติม

แหล่งเงินที่รัฐสามารถหาเพิ่มเติม​ เสนอโดยนักวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


"บำนาญถ้วนหน้า" ถูกตีตกด้วยเหตุผลความซ้ำซ้อนทางกฎหมาย และไม่มีงบประมาณ ทว่ามีงานวิจัยที่นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุไว้ว่า "บำนาญถ้วนหน้า" เป็นไปได้ แม้ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เพราะรัฐมีแหล่งหางบเพิ่มเติม คือ การขยายฐานภาษี ภาษีฐานทรัพย์สิน และการลดนโยบายที่เอื้อให้กับคนรวย เช่นนั้น การจ่าย 3,000 บาทเป็นหลักประกันความยากจนคนสูงวัย ในวันที่ไม่มีเรียวแรงทำงาน และไม่มีลูกหลานดูแล ให้พวกเขามีกำลังทรัพย์ยกระดับคุณภาพชีวิต​ ก้าวข้ามสังคมเหลื่อมล้ำ ตอบโจทย์ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว

 

ภาพ:สายด่วน 1663