จิตแพทย์วิเคราะห์ พฤติกรรมความรุนแรง ในเหตุ 'จีจี้ สุพิชชา' ถูกแฟนทำร้าย
จิตแพทย์ วิเคราะห์ พฤติกรรมความรุนแรง จากเหตุการณ์ 'จีจี้ สุพิชชา' ถูกทำร้ายจนเสียชีวิต ครอบครัวอาจไม่ใช่ต้นเหตุของพฤติกรรมทั้งหมด บางรายมองความรุนแรงเป็นการแสดงถึงความรัก
พฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง และเกิดขึ้นในประเทศไทยไม่ใช่แค่เหตุการณ์การจากไปของเน็ตไอดอลสาวอย่าง "จีจี้ สุพิชชา" ที่ถูกแฟนหนุ่มอย่าง อิคคิว ทำร้ายร่างกายซ้ำๆ ขนถึงขั้นใช้อาวุธปืนยิงตนเสียชีวิต เท่านั้น เพราะในประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ผู้หญิงโดนทำร้ายร่างกายจำนวนมาก แต่เพียงแค่ไม่ปรากฎในสื่อสังคมออนไลน์แค่นั้น
ข้อมูลจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า มีผู้หญิง ช่วงอายุ 15 – 49 ปี ประมาณ 3 คน จาก 100 คน ถูกสามีทำร้าย ราวๆ 2.9% ตัวเลขดังกล่าวอาจจะดูไม่เยอะมาก แต่ก็นับว่าผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกาย โดยเฉพาะ 'ผู้หญิง' ในกลุ่มอายุ 15–19 ปี ถูกทำร้ายมากที่สุดประมาน 6.3%
สำหรับพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคู่รักนั้น ไม่ใช่เรื่องปกติ และสังคมไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือมีใครที่สมควรจะโดนทำร้ายทั้งสิ้น เพราะอย่าลืมว่า เราไม่ใช้เจ้าของชีวิตใคร และไม่มีสิทธิไปละเมิดชีวิตใคร หรือ พิพากษาชีวิตใครทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงกับ "จีจี้ สุพิชชา" จนทำให้เธอเสียชีวิตนั้นมีการตั้งคำถามมากมาย โดยเฉพาะปมพฤติกรรมของฝ่ายชาย และการเลี้ยงดูที่จากครอบครัว
- ความรุนแรงที่เกิดกับ "จีจี้ สุพิชชา" เพราะสภาพแวดล้อม หรือมีโรคจิตเภทร่วมด้วย
โดย ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นโฆษก กรมสุขภาพจิต อธิบายถึง พฤติกรรมความรุนแรงโดยทั่วไป ว่า พฤติกรรมการใช้ความรุนแรง หากจะพิจารณาแค่การเลี้ยงดูภายในครอบครัวอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะคนที่มีพฤติกรรมรุนแรง หรือขอบใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นนั้น มีปัจจัยมาจากหลายอย่าง เช่น บางคนเคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เกิดความรุนแรงทั้งในครอบครับ โรงเรียน มาโดยตลอดจนเกิดการซึมซับพฤติกรรมนั้น และมองว่าการให้ความรุนแรงกับผู้อื่นเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้ หรือในบางคนมีประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่ดี และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการกระทำรุนแรงมาตลอดจนเกิดความเคยชินกับความรุนแรง และเข้าใจผิดคิดว่าสามารถกระทำกับผู้อื่นได้
นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนที่ชอบให้ พฤติกรรมความรุนแรง กับผู้อื่น เพราะมีปัญหาทางจิตบางคนพบว่าเป็นโรคจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น โรคที่มีความบกพร่องทางบุคลิกภาพ โรคต่อต้านสังคม รวมไปถึงการใช้ความรุนแรงเพราะยาเสพติดที่พบว่าปัจจุบันเกิดขึ้นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ความรุนแรง ที่เกิดขึ้นจนถึงแก่ชีวิตนั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยเรื่องการเข้าถึงอาวุธมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะอาวุธเป็นเครื่องมือที่ทำให้หลายคนใช้ทำลายชีวิตผู้อื่น โดยเฉพาะในกลุ่มที่เข้าถึงอาวุธได้ง่าย ๆ อย่างที่มีการนำเสนอข่าวบ่อยครั้ง
- วิเคราะห์พฤติกรรมการเลี้ยงลูกแบบ สปอย ต้นเหตุ พฤติกรรมความรุนแรง ครั้งนี้หรือไม่
ส่วนประเด็นที่สังคมตั้งคำถามว่าพฤติกรรมการทำร้ายร่างกายของบางคนมีต้นเหตุมาจากการเลี้ยงดูแบบตามใจ หรือที่เรียกว่า สปอย หรือไม่นั้น ดร.นพ.วรตม์ อธิบายว่า คนที่ถูกครอบครัว หรือ คนรอบข้าง สปอย ไม่จำเป็นจะต้องมีพฤติกรรมที่รุนแรง เพราะการถูก สปอย มีหลายรูปแบบ บางคนที่บ้าน สปอยตามใจเรื่องเงิน เรื่องการใช้ชีวิต ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรุนแรงแต่อย่างใด แต่ต้องทำความเข้าใจว่าการ สปอยมีหลากหลายรูปแบบ แต่ในกรณีที่ตามใจเรื่องส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงแบบไม่ห้ามปราม ยอมรับค่านิยมความรุนแรง เช่น การแกล้งสัตว์เลี้ยง ถือว่าเป็นการสร้างนิสัย และปลุกฝังความรุนแรงได้ หรือในบางกรณีอยู่ในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงบ่อยครั้ง และถูกสอนให้เข้าใจผิดว่าการให้ความรุนแรงเป็นวิธีการแสดงความรักอีกรูปแบบหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมาก เพราะพฤติกรรมเหล่านี้จะปลูกฝังนิสัยความรุนแรงแบบไม่รู้ตัวให้แก่ลูก
ดังนั้นครอบครัวจึงมีบทบาทที่สำคัญ และสร้างการเรียนรู้ ปลูกฝังพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่บูตรหลาน จะต้องสอนให้รู้ว่า เราไม่มีสิทธิที่จะไม่ละเมิดในชีวิตใคร และคนอื่นก็ไม่มีสิทธิมาละเมิดหรือทำร้ายร่างกายเราเช่นกัน