ชีวิตดีสังคมดี

แก้ปัญหาความรุนแรงฯ 'ประชาธิปัตย์' ดันเป็นวาระแห่งชาติ

แก้ปัญหาความรุนแรงฯ 'ประชาธิปัตย์' ดันเป็นวาระแห่งชาติ

26 เม.ย. 2566

'ประชาธิปัตย์' ประกาศปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ต้องเป็น วาระแห่งชาติ นายกฯ ต้องคุมเอง พร้อมแสดงจุดยืนหนุนข้อเสนอเครือข่ายภาคประชาชน

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจง ในเวที “นโยบายพรรคการเมืองกับความหวังในการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และครอบครัว” ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และจะผลักดันการแก้ปัญหาให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเน้นย้ำให้ส่วนราชการต้องทำงานอย่างบูรณาการ ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาอย่างจริงจัง และสนับสนุการทำงานกับทุกภาคส่วน

 

อีกทั้งต้องจัดสรรงบประมาณให้กับภาคประชาสังคมที่เป็นกลไกในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกระทำ สิ่งสำคัญคือ นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้กำกับดูแลเรื่องนี้ผ่านกลไกคณะกรรมการการแก้ปัญหาความรุนแรงฯระดับชาติ

 

โดยมีนายกฯ เป็นประธาน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ต่างคนต่างทำ อย่างที่ผ่านมา รวมถึงการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นไปอย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพต่อการแก้ไขปัญหามากที่สุด

 

น.ส.รัชดา กล่าวถึงนโยบายของพรรคครอบคลุมการป้องกัน คุ้มครอง เยียวยา และฟื้นฟูดูแล โดยจะขับเคลื่อนในหลายแนวทาง อาทิ 

1.จัดตั้งศูนย์ป้องกันการทำความรุนแรงระดับตำบลให้เกิดเป็นรูปธรรม สร้างกลไกระดับท้องถิ่นสอดส่องดูแล เพื่อป้องกันเหตุความรุนแ รวมถึงปัญหายาเสพติด การติดการพนันส่วต่อหน่วยงานระดับจังหวัดต่อไป ซึ่งท้องถิ่นมีศักยภาพเพียงแต่ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนเพิ่มเติม 

 

2. ยกเครื่องวิชาหลักสูตรเพศศึกษาอย่างครอบคลุม ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สร้างเยาวชนให้เติบโตขึ้นด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดสังคมเสมอภาค เคารพในศักดิ์ศรีของผู้อื่น ทั้งชาย หญิง LGBTQ ไม่ใช่ชายเป็นใหญ่ คนรวยเป็นใหญ่ 

 

3.เพิ่มอัตรากำลังตำรวจหญิงแต่ะละสถานีตำรวจเพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกแก่การรับเรื่องร้องทุกข์คดีความรุนแรง 

 

4. ทำงานร่วมกับสื่อมวลชนทุกประเภท ให้ระมัดระวังเรื่องการนำเสนอประเด็นความรุนแรง ต้องไม่บูลลลี่ ไม่หยามเกียรติ ทั้งในเนื้อหาข่าวหรือละคร และสร้างแรงจูงใจในการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคมและกับคนทุกกลุ่ม และ 5) ส่งเสริมการทำงานของภาคประชาสังคมในทุกมิติ ต้องเข้าไปสนับสนุนงบประมาณในรูปแบบกองทุน เพื่อให้การดูแลและฟื้นฟูเยียวยาผู้ถูกกระทำความรุนแรงให้ลุกขึ้นยืนได้ในสังคมได้อย่างภาคภูมิใจและยั่งยืน

 

เวที นโยบายพรรคการเมืองกับความหวังในการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก ผู้หญิง และครอบครัว ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

 

น.ส.รัชดา ย้ำ พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมขับเคลื่อนทำงานแก้ไขปัญหาต่อไปให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ความรุนแรงในครอบครัวต้องลดน้อยลงไป ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของครอบครัว เพื่อสังคมที่น่าอยู่

 

โดยน.ส.รัชดา ประกาศจุดยืนให้การสนับสนุนข้อเสนอจากเครือข่ายภาคประชาชน ทั้ง 10 ข้อ ได้แก่

1. เก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ 2550 ให้เป็นไปตามหลักสากลว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย

2. ปรับปรุงแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ให้เป็นแผนระดับชาติ มียุทธศาสตร์ และงบประมาณชัดเจน

3. จัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อประสานงาน “สหวิชาชีพ” แก้ปัญหาความรุนแรง

4. เพิ่มพนักงานสอบสวนหญิงให้ครบทุกสถานีตำรวจ

5. เพิ่มนักสังคมสงเคราะห์ประจำ อปท. ทั่วประเทศ

6. เร่งแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติด (เหล้า ยาเสพติด) ที่เป็นปัจจัยร่วมก่อความรุนแรง อย่างครบวงจร รวมถึงการเยียวยาฟื้นฟูผู้เสพติด

7. พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาความรุนแรง อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

8. ส่งเสริมความเข้มแข็งของกลไกชุมชน เพื่อจัดการปัญหาความรุนแรง

9. พัฒนาบริการฟื้นฟูเยียวยารอบด้านและระยะยาวสำหรับผู้ประสบปัญหาความรุนแรง

10. ส่งเสริมบทบาท และจัดสรรงบประมาณให้องค์กรภาคประชาสังคมที่ให้บริการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความรุนแรง

 

แก้ปัญหาความรุนแรงฯ \'ประชาธิปัตย์\' ดันเป็นวาระแห่งชาติ