ลบหลุมดำ 'การศึกษาไทย' สร้างสิทธิพื้นฐาน ลดเหลื่อมล้ำ เริ่มได้ในโรงเรียน
ลบหลุมดำในระบบ 'การศึกษาไทย' สร้างสิทธิขั้นพื้นฐาน ลดเหลื่อมล้ำเงินอุดหนุน ต้องทำได้ตั้งแต่โรงเรียน ครู นักเรียน ต้องได้เรียนรู้แบบเปิดกว้าง
อุปสรรคและปัญหาในการพัฬฒนาระบบ "การศึกษาไทย" หากจะบอกว่ามีปัญหาในเชิงอำนาจนิยม ซึ่งเป็นปัญหาที่ร้ายแรง ที่ถูกทับถมมาเป็นเวลานานคงไม่ผิดมากหนัก หลายครั้งที่เรามักจะเห็นว่าครู นักเรียน มักจะถูกริดรอน และละเมิดสิทธิกันอยู่บ่อย ๆ ดังนั้นการจะแก้ปัญหาในระบบ "การศึกษาไทย" จึงจำเป็นจะต้องแก้กันตั้งแต่การสร้าง และคุ้มครองสิทธิให้ทั้ง ครู และนักเรียนไปแบบพร้อม ๆ กัน
นอกจากประเด็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแล้ว ระบบเก่าๆ ที่มีความล้าสมัย การจัดการเรียนการสอนที่จำกัดแค่ในห้องเรียนยังเป็นการตีกรอบความคิดของนักเรียน และการดึงศัยภาพของครูออกมาใช้อีกด้วย ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างสิทธิขั้นพื้นฐาน เปิดกว้างในการเรียนรู้ ตั้งแต่โรงเรียน
สอดคล้องกับข้อมูลจาก พรรคก้าวไกล ที่กล่าวบนเวทีเสวนา "ล่าการศึกษาล้าหลังข้ามศตวรรษ" ว่า สิทธิขั้นพื้นฐานในโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มตั้งแต่สิทธิการคุ้มครองนักเรียน และสิทธิของครู โดยที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า นักเรียน หรือ ครูผู้หญิงถูกละเมิดสิทธิอยู่บ่อยครั้ง โรงเรียนกลายเป็นสถานที่ไม่ปลอดภัย และแน่นอนว่าหากโรงเรียนเป็นสถานที่ไม่ปลอดภัยนักเรียนจะเกิดการเรียนรู้อย่าเต็มประสิทธิภาพได้อย่างไร
นอกจากนี้ครูก็เป็นตัวขับเคลื่อนในระบบ "การศึกษาไทย" ที่สำคัญที่หนึ่งคนที่ผ่านมาเราพบว่าครูถูกให้ทำวานเอกสารมากคนเกินไป รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่ครูต้องรับปิดชอบนั้นคือการ นอนเวร ซึ่งไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด สิ่งสำคัญคือจะต้องมีการยกเลิกระบบเก่าๆ ทิ้งไปและเปลี่ยนเป็นการเติมเต็มทักษะให้ครู เพิ่มความรู้ ความเข้าใจ แทนการกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับวิชาชีพ รวมไปถึงการลดชั่วโมงเรียนจาก 1,200 เหลือ 800 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ค้นหา ค้นคว้าในเรื่องที่ตนเองสนใจ ซึ่งระบบ "การศึกษาไทย" ยังขาดตรงนี้ไปมาก
อย่างไรก็ตามนอกเหนือไปจากการสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรจะเกิดขึ้นตั้งแต่โรงเรียนที่จะต้องเร่งแก้ไขในระบบการศึกษาไทยแล้ว เรายังพบว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบ "การศึกษาไทย" ยังเป็นปัญหาที่ฝั่งรากลึกและถินไม่ขึ้น แม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการจะได้รับงบประมาณในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก แต่กลับพบว่า งบประมาณเหล่านั้นถูกนำไปจัดการด้านบุคลากรมากกว่าการจัดสรรเงินอุดหนุน ปัจจุบันระบบการจ่ายเงินรายหัวเฉลี่ยตามขนาดของสถานศึกษา นั้นจึงเป็นที่มาว่า โรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนงบประมาณ ก็จะต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวตลอดไปหากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรงบประมาณให้ดียิ่งขึ้น เพราะเงินอุดหนุน 1,000/ปี ไม่เพียงพอต่อการใช้ซื้อหนังสือเรียน เครื่องแบบต่างๆ แน่นอน
นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างความเหลื่อมล้ำใน "การศึกษาไทย" ได้อย่างชัดเจน คือ ระบบการสอบTCAS โดย ครูจวง ปารมี ไวจงเจริญ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ระบุว่า ระบบการสอบ TCAS เป็นระบบที่ทำให้ความชัดเจนเกิดขึ้นในวงการศึกษาไทยมากที่สุด เพราะค่าใช้จ่ายในการสอบกลายเป็นตัวแปรได้ดีที่สุดเพราะการ สอบ TCAS มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากตั้งแต่การสมัครสอบในแต่ละรายวิชา ไปจนถึงการสอบ A-level ที่เด็กๆ ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ยังไม่รวมค่าสมัครเพื่อยื่นคะแนนในแต่ละรอบด้วย ดังนั้นอนาคตจำเป็นอย่ายิ่งที่จะต้องลดค่าสอบลงโดยควรคิดอัตราแบบเหมา ๆ 500 บาทเท่านั้น ซึ่งจพต้องลดทั้งค่าสอบและค่าสมัครด้วย
อีกหนึ่งระบบที่ต้องไล่รื้อ ที่ผ่านมาเราพบว่า ข้อสอบ TCAS ไม่เคยมีการเฉลย และเปิดเป็นสาธารณะและข้อสอบก็มีข้อิดพลาดทุกครั้ง และยิ่งไปกว่านั้นที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ไม่เคยออกมายอมรับความผิด ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีการอุดช่องโหว่ที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาไทย สร้างความเท่าเทียมตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อลบหลุมดำด้านการศึกษาให้ได้