ชีวิตดีสังคมดี

เส้นทาง 'ชัชชาติ' กว่าจะนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ครบ 1 ปี ไม่ใช่เรื่องธรรมดา

เส้นทาง 'ชัชชาติ' กว่าจะนั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ครบ 1 ปี ไม่ใช่เรื่องธรรมดา

07 มิ.ย. 2566

เส้นทางของ 'ชัชชาติ' 9 ปีกว่าจะได้นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ไม่ง่าย ชีวิตการเมืองพลิกเพราะรัฐประหารปี 57 ลุ้นต่อไปหลังทำงานครบ 1 ปี จะเป็นผู้ว่าฯ ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีสมฉายาหรือไม่

เดินทางมาครบ 1 ปีสำหรับการทำงานของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ บนเส้นทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมามีทั้งเสียงตอบรับที่ดีจากประชาชน และเสียงตอบรับที่ไม่ดีผสมๆ กัน เพราะในจำนวนประชากรคนกรุงเทพฯ จำนวน 5.4 ล้านคน มากที่สุดในประเทศไทย และการบริหารงานในเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. ที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมีความซับซ้อน และมีความหลากหลายทางสังคมที่มากยิ่งขึ้น กว่าตำแหน่งที่ "ชัชชาติ" เคยทำงานมาแล้ว 

 

 

หากย้อนเส้นทางก่อนที่ "ชัชชาติ"  จะเข้ารับตำแแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2565 ต้องบอกว่าทุกคนรู้จัก ชัชชาติ ในฐานะ รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมโดยฉายาที่ได้มานั้นมาจากที่มีภาพของนายชัชชาติ ใส่เสื้อกล้ามสีดำ กางเกงวอร์ม หิ้วถึงแกงเพื่อรอใส่บาตรที่หน้าวัด ภาพดังกล่าวทำให้ชัชชาติ เป็นที่จดจำของประชาชนมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นคนกรุงเทพฯยังได้เห็นภาพของนายชัชชาติ ยืนรอรถเมล์ และทดลองใช้รถเมล์สีครีม-แดง ซึ่งเป็นรถเมล์ธรรมดาที่ไม่ได้ติดแอร์ ซึ่งภาพลักษณ์ธรรมดาๆ ของทำให้หลายคนเริ่มจับตามอง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์มากยิ้งขึ้น 

ภาพจาก wikipedia มีผู้อ้างว่า วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ถ่ายภาพนี้

ต้องบอกเลยว่าเส้นทางกว่าจะมาเป็น ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ไม่ธรรมดา เพราะที่ผ่านมาเคยทำอาชีพอื่นๆ มาก่อนไม่ว่าจะเป็นวิศวกรโครงสร้างในบริษัทเอกชน อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย รวมไปถึงกรรมการในบริษัทรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย  และตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะเปลี่ยนเส้นทางเข้าสู่สนามการเมืองด้วยการก้าวเข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้แก่กระทรวงคมนาคมในยุครัฐบาลทักษิณ 2 

 

 

หากย้อนกลับไปที่ไปที่มาของ ผู้ว่าฯ "ชัชชาติ" ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งคนที่มีความสามารถ และถูกจับตามองมาตลอด เริ่มต้นชีวิตในเส้นทางการเมืองปี 2555 ชัชชาติถูกทาบทาม ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยกว่าการกระทรวงคมนาค ถือว่าเป็นการทำงานทางการเมืองอย่างเป็นอย่างการครั้งแรก   ต่อมาหลังจากที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี "ชัชชาติ" ก็ได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอย่างเต็มตัว ระหว่างนั้นเขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบรางเป็นอย่างมาก ผลงานที่โด่ดเด่นระหว่างทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีในขณะนั้น คือการสั่งแก้แบบสถานีกลางบางซื่อ หรือ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ให้รองรับรถไฟความเร็วสูง 

 

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

 

ปี 2556-2557 ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเมืองขึ้นอีกครั้ง "ชัชชาติ" ถูกกดดันจากม็อป กปปส. ให้ลาออกจากตำแหน่ง และเขาคือหนึ่งคนที่ถูกมัดมือ คลุมหัว และถูกนำตัวไปที่ค่ายทหาร หลังจากที่มีการประกาศรัฐประหารจาก คสช. นับได้ว่าปี 2557 เป็นปีที่ชัชชาติได้สิ้นสุดการทำหน้าที่ในสนามการเมือง และเข้าได้หันกลับมาทำงานด้านการบริหารอีกครั้ง 

 

 

ปี 2557-2561 "ชัชชาติ" กลายเป็นประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และกรรมการ บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์  หลังจากนั้นได้ลาออกจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แตในช่วงปี 2562 และชัชาติถูกวางตัวให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในนาวพรรคเพื่อไทย แต่หลังจากนั้น "ชัชชาติ" ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทย และประกาศลงชิงผเก้าอี้ ผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ

 

 

ปี 2562 ชัชชาติได้ทุ่มเทกำลังแรงกาย และมันสมองทั้งหมด เพื่อเตรียมตัวลงชิงเก้าอี้พ่อเมืองกรุงเทพฯ โดยที่ผ่านมา "ชัชชาติ" ใช้เวลาในการเดินไปทุกตรอกซอกซอยของกรุงเทพฯ เพื่อรับฟังปัญหาของคนกรุงเทพฯ  และเพื่อให้เข้าใจวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้มากยิ่งขึ้น 

 

 

ปี 2565 "ชัชชาติ" เปิดตัวลงสมัครอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อการรณรงค์หาเสียงว่า "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" ชัชชาติได้กล่าวถึงเหตุผลที่ลงสมัครชิงตำแหน่งครั้งนี้ว่า  

 

 

“ผมเป็นคนกรุงเทพฯ ตั้งแต่เกิด ได้เห็นปัญหาและเรียนรู้เมืองกรุงเทพฯ จากหลากหลายมุม ผ่านการใช้ชีวิตไม่ต่างจากพวกเราอีกนับล้าน ๆ คนในกรุงเทพฯ ใช้ขนส่งสาธารณะเป็นประจำ วิ่งออกกำลังกายในสวนสาธารณะทุกเช้า เดินถนน กินข้าว ตามข้างทาง รับรู้ถึงปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องต่าง ๆ ของคนใช้ชีวิตในเมืองหลวง ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร พนักงานเงินเดือน นักธุรกิจ พ่อค้า แม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง นักเรียน นักศึกษา ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ ที่เคยทำงานทั้งในฐานะวิศวกร อาจารย์ นักวิจัย งานการเมือง นักธุรกิจ ผู้บริหาร งานชุมชน ทำให้ผมมั่นใจว่าจะสามารถเสนอแนวทางที่จะทำให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น ผมเชื่อว่าการทำให้กรุงเทพฯ ดีขึ้น ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยคนเพียงคนเดียว ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของคนจำนวนมาก ผมมั่นใจว่าจะสามารถประสานงาน สร้างความไว้ใจ เสริมความร่วมมือร่วมใจของคนทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดความสามัคคี ร่วมกันทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน”

 

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

 

"ชัชชาติ" เป็นผู้สมัครหมายเลข 8 ที่ลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างไม่มีแผ่ว แข็งแกร่งสมกับฉายาเดิมที่ได้ตอนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเรียกว่าได้กระแสตอบรับแลลแรงดีไม่มีตก 

 

 

จนเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2565 "ชัชชาติ" ชนะการเลือกตั้งกว่าคะแนนไปมากกว่า 1,386,215 คะแนน ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุดนับแต่ที่มีการเลือกตั้งมา 

 

 

หลังจากรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ "ชัชชาติ" ก็เดินหน้าทำงานตามนโยบายที่เคยหาเสียงเอาไว้ โดยเฉพาะการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ทุกคนที่อาศัยในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นคนกรุงเทพฯ ที่มีทะเบียนบ้าน ประชากรแฝง รวมไปถึงต่างด้าว ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

 

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์