ฉีดวัคซีนไข้เลือดออกอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพ เช็กได้ที่นี่
ครึ่งปีพบเด็กเสียชีวิตเพราะไข้เลือดออก 17 ราย ป่วยสะสม 20,000 ราย รวม 15 ปีเสียชีวิต 1,237,467 ราย ทว่าวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกยังไม่ถูกบรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐาน สำหรับใครที่มีกำลังจ่ายก็จะควักกระเป๋าเอง วันนี้ "คมชัดลึก" จะพาไปดูคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
"สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย" ได้แนะนำ "การฉีดวัคซีนไข้เลือดออก" ไว้ว่า วัคซีนป้องกัน "ไข้เลือดออก" Dengvaxia"M เป็นวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต ที่ผลิตจากไวรัสลูกผสมระหว่างวัคซีนไข้เหลือง และไวรัสเดงกี๋ ผลการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า วัคซีนป้องกันโรคได้ 65% และป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 93% และมีความปลอดภัย โดยได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในผู้ที่อายุ 9-45 ปี
คำแนะนำ "การฉีดวัคซีนไข้เลือกออก" เกิดจากได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า ในเด็กอายุ 9-16 ปี ที่ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อน เมื่อได้รับวัคซีนนี้แล้วอาจจะมีความเสี่ยงต่อการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ ปรากฎหลังฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 3 ปีเป็นต้นไป และคาดว่าความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้จะหายไปเมื่อระยะเวลาผ่านไปแต่ยังไม่ชัดเจนว่านานเท่าใด
ส่วนผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้รับวัคซีนจะมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน
อย่างไรก็ดี "การฉีดวัคซีนไข้เลือกออก" ไม่ว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออก จะเคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็มีความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกัน
จึงแนะนำ "การฉีดวัคซีนไข้เลือกออก" ดังนี้ เด็กที่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนได้เลย เด็กไม่เคยติดเชื้อมาก่อน หรือไม่ทราบว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ควรตรวจเลือดก่อนฉีดวัคซีน แม้ว่าผลการตรวจเลือดในปัจจุบันอาจไม่แม่นยำ แต่สามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจได้
ส่วนเด็กที่ฉีดมาก่อนแต่ยังไม่ครบ อาจพิจารณาให้ฉีดต่อหรือหยุดฉีดก็ได้ โดยไม่ต้องตรววจเลือด ผู้ใหญ่อาจพิจารณาฉีดวัคซีนได้โดยไม่ต้องตรวจเลือดเพราะมักเคยติดเชื้อมาก่อนแล้ว
ประชาชนควรให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การป้องกันยุงกัด การกำจัด ลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น เพื่อให้สามารถลดความเสี่ยงของการป่วยเป็นไข้เลือดออกได้สูงสุด