ชีวิตดีสังคมดี

จิตแพทย์แนะ 7 วิธีรับมือถูก 'บูลลี่' รับไม่ไหวทำยังไงก่อนตกเป็นเหยื่อซ้ำๆ

จิตแพทย์แนะ 7 วิธีรับมือถูก 'บูลลี่' รับไม่ไหวทำยังไงก่อนตกเป็นเหยื่อซ้ำๆ

15 มิ.ย. 2566

จิตแพทย์แนะ 7 วิธีรับมือและแก้ปัญหาถูก 'บูลลี่' ในโรงเรียนรับมือไม่ไหวต้องทำยังไงเพื่อให้หลุดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อซ้ำๆ

การกลั่นแกล้ง หรือ "บูลลี่" ในโรงเรียนยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแทนที่โรงเรียนจะกลายเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดให้กับเด็กนักเรียน กลายเป็นว่าโรงเรียนกลับเป็นสถานที่ที่มักจะเปิดโอกาสให้เด็กที่แข็งแรงกว่า สบโอกาสรังแกคนอื่น จนการไปโรงเรียนกลายเป็นฝันร้ายของเด็กหลายคน

 

 

ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ภาคเอกชนจะมีแคมเปญรณรงค์ และให้ความรู้เพื่อหยุดการ "บูลลี่" แต่ดูเหมือนว่าปัญหายังเกิดซ้ำๆ จนบ้างครั้งมีการสูญเสียครั้งใหญ่ ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่หากเรารู้จักวิธรการรับมือ และแก้ปัญหาสถานการณ์การถูก "บูลลี่" ได้เบื้องต้น เพื่อเป็นการปกป้องตัวเอง

สำหรับวิธีแก้ปัญหาการถูก "บูลลี่" ในโรงเรียน โดยเฟซบุ๊กคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา แนะนำวิธีการรับมือ และแก้ไขปัญหาดังกล่าวเอาไว้ดังนี้

 

 

1.รู้จักสิทธิของตนเอง โดยหลักการทั่วไปโรงเรียนทุกแห่งจะต้องสร้างให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยไม่แบ่งแยก ส่งเสริมความเคารพ และความเห็นอกเห็นใจ สนับสนุนทรัพยากรสำหรับนักเรียนที่เคยมีประสบการณ์ถูกบูลลี่ กลั่นแกล้ง และถูกคุกคามรูปแบบต่างๆ

 

 

2.ต้องพูดออกมาอย่างมั่นใจ เมื่อเราเป็นผู้ถูก "บูลลี่" การสื่อรสารออกมาอย่างชัดเจนว่าเราไม่ชอบ ไม่ถูกใจในการกระทำเหล่านั้น ในงานวิจัยพบว่าการแสดงออกว่า เราไม่พอใจด้วยท่าทีจริงจังและขึงขังช่วยใ้ห้ไม่ถูกกระทำซ้ำ และยังช่วยให้ผู้ที่เคยถูกบูลลี่ไม่ถูกบูลลี่ซ้ำ และผ่านดารกระทำเหล่านั้นมาได้

3.แลกเปลี่ยนหรือพูดคุยกับเพื่อน การติดต่อกับเพื่อนร่วมชั้นที่อาจมีประสบการณ์คล้ายกันและร่ววมกันวางแผน อาจะได้แนวทางที่แก้ไขที่เป็นทางออกที่น่าสนใจอีกทาง

 

4.ปรึกษาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา หรือครูคนอื่นๆ ที่เราไว้วางใจที่สามารถให้คำแนะนำได้

 

5.บันทึกหลักฐาน บันทึกหลักฐาน ภาพ เสียงวีดีโอ ที่สามารถระบุ วันเวลาสถานที่ รายละเอียดตางๆของพฤติกรรมของคนที่มาบูลลี่เรา เพื่อใช้เป็นหลักฐานในยามจำเป็น

 

6.แจ้งพ่อแม่ทราบ สามารถช่วยสนับสนุนหรือสื่อสารกับฝ่ายบริหารของโรงเรียนได้หากจำเป็น

 

7. ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ  หากสถานการณ์ "บูลลี่" เริ่มบานปลาย และยังคงอยู่ ให้ติดต่อหน่วยงานภายนอกที่สามารถช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาได้ โดยในประเทศไทยมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านนี้หลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น

  • สายด่วน พม.1300
  • สายด่วนสุขภาพจิต 1323
  • สมาคมสะมาริตันส์ 02-1136789
  • มูลนิธิสายเด็ก 1387
  • ไปพบคุณหมอ / จิตแพทย์ใกล้บ้าน

 

นอกจากโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ต้องเป็นที่พึ่งพิงให้แก่เด็กๆ แล้ว ผู้ปกครองถือว่าเป็นเกราะป้องกันอีกหนึ่งชั้นที่จะช่วยป้องกัน หรือ แก้ปัญหาการบูลลี่ให้กับลูกๆได้อย่างดี โดยผู้ปกครอง สามารถทำได้ตามคำแนะนำของทางเพจ คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ดังนี้

 

1. การสื่อสาร เริ่มจากพ่อแม่ต้องเป็นSafe zoneให้กับเขา รับฟังและพยายามส่งเสริมให้เขาพูดเกี่ยวกับความรู้สึกของเขา ให้พื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขาในการแสดงอารมณ์ ให้พวกเขารู้ว่าไม่เป็นไรที่จะรู้สึกเสียใจหรือเจ็บปวดจากการแกล้ง

 

2. เสริมพลังบวก ส่งเสริมให้เขาพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง เน้นคุณสมบัติและจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเขา และกระตุ้นให้พวกเขายอมรับความเป็นตัวของตัวเอง

 

3. การศึกษา อธิบายให้เขาฟังว่าการหยอกล้อมักเกิดจากความไม่รู้หรือความไม่เข้าใจมากกว่าจะเป็นความจงใจ ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าผู้คนอาจล้อเลียนผู้อื่นเนื่องจากความไม่มั่นคงของตนเองหรือปมบางอย่าง ให้ความรู้แก่พวกเขาเกี่ยวกับความสำคัญของการเอาใจใส่และความเมตตาต่อผู้อื่น

 

4. การแก้ปัญหา พยายามพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับการหยอกล้อ เช่น การสอนทักษะความกล้าแสดงออก ให้พวกเขาตอบสนองต่อการหยอกล้ออย่างมั่นคงและสงบ ชี้ให้เขารู้ว่าเขาสามารถขอความช่วยเหลือนนจากผู้ใหญ่ เช่น ครูหรือที่ปรึกษาโรงเรียน ซึ่งสามารถแทรกแซงได้หากจำเป็น

 

5. เครือข่ายสนับสนุน  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กมีเครือข่ายสนับสนุนที่แข็งแกร่งของเพื่อน ครอบครัวส่งเสริมให้เขาอยู่ท่ามกลางคนที่เห็นคุณค่าและยอมรับเขาในสิ่งที่พวกเขาเป็น

 

สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งปัญหากับโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากการหยอกล้อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือนำไปสู่การกลั่นแกล้ง และหากเป็นคนนึงที่ประสบปัญหาการบูลลี่ ให้จำไว้ว่าเราไม่ได้เผชิญปัญหาเพียงลำพัง จงเข้มแข็งยืนยันที่จะผ่านปัญหาไปให้ได้

 

 

ขอบคุณข้อมูล: เฟซบุ๊กคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา