'เบี้ยผู้สูงอายุ 3000 บาท' ฝัน (ใกล้) เป็นจริงคนแก่จะมีเงินใช้สมศักดิ์ศรี
'เบี้ยผู้สูงอายุ 3000 บาท' ฝันที่ (ใกล้) เป็นจริงของคนวัยเกษียณจะมีเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นพอให้ได้ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี หลุดพ้นเงินค่าครองชีพต่ำกว่ารายจ่าย อัตราใหม่จะเริ่มจ่ายได้เมื่อไหร่
ในปี 2552 นี้เป็นปีที่รัฐบาลเริ่มดำเนินการนโยบายเบี้ยยังชีพอย่างถ้วนหน้า (ยกเว้นผู้สูงอายุที่ได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ) แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มาแสดงความจำนงขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา ส่งผลให้จากเดิมที่มีผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในปี 2552 จำนวน 1,828,456 คน ได้เพิ่มเป็นจำนวน 5,652,893 คนที่ได้รับเบี้ยยังชีพหรือคิดเป็นประมาณกว่าร้อยละ 80
กว่า 14 ปี แล้วที่ ผู้สูงอายุในประเทศไทยยังคงได้รับเบี้ยยังผู้สูงอายุในอัตราเท่าเดิม ซึ่งมีอัตราต่ำกว่ารายได้ที่มีการคำนวณไว้ แต่ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งในช่วง 2 เดือน ที่ผ่านมามีหลายการเสนอนโยบายเพิ่ม "เบี้ยผู้สูงอายุ 3000 บาท" เพื่อให้ตอบโจทย์ค่าครองชีพในปัจุจุบัน นโยบายดังกล่าวกลายเป็นความหวังของ ผู้สูงอายุ ในประเทศไทยที่หวังว่าจะมีเงินยังชีพในบั้นปลายชีวิต เพราะจากสถิติผู้สูงอายุของไทย จำนวน 53% ของผู้มีเงินออม มีเงินไว้ใช้หลังเกษียณไม่ถึง 200,000 บาท หากต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณเป็นเวลา 20 ปี จะมีเงินใช้เพียงวันละ 28 บาท และอีกจำนวน 31% ไม่มีเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าหากประเทศไทยมีระบบรัฐสวัสดิการที่ดีพอมี เงินบำนาญชราภาพ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิตจะช่วยให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นนโยบายการเพิ่ม "เบี้ยผู้สูงอายุ 3000 บาท" จึงเป็นเสมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของผู้สูงวัยในประเทศ และเชื่อว่าหลายคนคงรอคอยให้มีการตั้งรัฐบาลได้โดยเร็วไว เพื่อให้นโยายดังกล่าวถูกผลักดันให้เป็นจริงได้
สำหรับเส้นทางในการปรับแก้ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ นั้น รศ.ดร. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ศึกษาวิจัยด้านรัฐสวัสดิการ และผลักดันนโยบายที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐสวัสดิการ อธิบายขั้นตอนในการแก้ไขกฎหมาย หรือกฎระบียบ เพื่อให้สังคมไทยไปถึงฝันการจ่ายเงิน "เบี้ยผู้สูงอายุ 3000 บาท" เอาไว้ว่า การแก้ไข เบี้ยผู้สูงอายุ สามารถดำเนินการได้จริง ที่ผ่านมามีการพยายามในการแก้ไข พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ เป็น พ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า คล้ายๆ กับการแก้ไขระเบียบในช่วงที่ประเทศไทยมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
ส่วนการแก้ไขอัตราการจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จากอัตรา 600 บาท สูงสุด 1,000 บาท ซึ่งเป็นการจ่ายตามขั้นบันไดนั้นจะต้องดำเนินการผลักดันและแก้ไข พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางกฎหมาย และให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่จะปรับใหม่คงอยู่ตลอดไป
หลายคนอาจะสงสัยว่า แล้วหากมีรัฐบาลใหม่จะปรับขึ้น เบี้ยยังชีพ 3000 บาท ได้เลยทันทีหรือไม่ โดย รศ.ดร.ษัษรัมย์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ในปีงงบประมาณ 2567 ไม่สามารถแก้ไขได้ทันแล้ว แต่หากมีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ สามารถปรับได้ตามอำนาจของ ครม. ชุดใม่ได้เลย โดยในปีงบประมาณคาบเกี่ยว 2566 /2567 จะสามารถเพิ่ม เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้ในอัตรา 1,000-1,500 บาท คาดว่าจำนวนเงินเบื้องนั้นจะสามารถดำเนินการได้ก่อน เพราะมีการพิจารณาผ่านร่างงบประมาณไปแล้ว ส่วนการแก้ไข พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ จะเป็นส่วนที่ ครม.ชุดใหม่จะต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนต่อไป
ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นการจ่ายแบบขั้นบันไดตามช่วงอายุ
- อายุ 60-63 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 600 บาท
- อายุ 70-79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 700 บาท
- อายุ 80-89 ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 800 บาท
- อายุ 90 ปี ขึ้นไปได้รับเบี้ยยังชีพเดือนล 1,000 บาท
การคำนวณอายุของผู้สูงอายุรายเดินจะคำนวณตามมีงบประมาณ การเลื่อนรับเบี้ยผู้สูงอายุรายเดิมแบบขั้นบันไดจะเลื่อนตามปีงบประมาณ ไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในระหว่างปีงบประมาณ