เปิดเม็ดเงินกองทุน 'ประกันสังคม' มีเท่าไหร่ เสี่ยงล้มละลายจริงหรือไม่
เปิดเม็ดเงินในกองทุน 'ประกันสังคม' ล่าสุดมีเท่าไหร่ เสี่ยงล้มละลายจริงหรือ จับตาถือหุ้นบ.เอกชนมากกว่า 260 ล้านหุ้น มูลค่า 7,600 ล้านบาท
จากที่มีการอภิปรายของ สส. หลายคนในสภา และมุมมองของนักวิชาการที่ออกมาระบุว่ากองทุน "ประกันสังคม" มีความเสี่ยงที่จะล้มละลายในปี 30 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีการนำเงินไปลงทุนซึ่งเป็นการบริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์ รวมทั้งปล่อยให้มีการเกิดหนี้สูญจำนวนหลายล้านบาท
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ชี้แจง ว่า การนำเงินไปลงทุนการลุงทุนมีคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการลงทุน มีนักลุงทนระดับประเทศ ติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดทุนทั่วโลก ก่อนที่จะนำเงินไปลงทุนต้องผ่านคณะกรรมการการลงทุนก่อนเมื่อผ่านแล้วจึงมีการนำเงินไปลงทุน ที่ผ่านมากองทุนประกันสังคม และได้มีการนำเงินลงใน SET 100 ของตลาดหลักทรัพย์ มีขาดทุนบางส่วน ได้กำไร โดยปี 2564 ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 62,000 ล้านบาท
ปี 2563-2565 มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เพราะเป็นช่วงโควิด มีการนำเงินไปเยียวยาผู้ประกันตนจำนวนแสนล้านบาท และช่วยนายจ้างและผู้ประกันตน โดยลดเงินสมทบจาก 5% เหลือแค่ 1-3% ทำให้รายรับไม่สัมพันธ์กับรายจ่าย
กรณีที่มีการอภิปรายว่าอีก 30 ปี กองทุน "ประกันสังคม" เสี่ยงล้มละลาย นายบุญสงค์ ระบุว่า เป็นแค่ความเห็นของนักวิชาการ ขอให้ความมั่นใจว่าตนจะไม่บริหารให้ล้มละลายเด็ดขาด การดำเนินการต่าง ๆ ไม่มีการเอื้อต่อนักการเมือง นักการเมืองล้วงลูกไม่ได้ ส่วนที่ตั้งงบแสดงสถานะหนี้สูญเพิ่มขึ้น 5 หมื่นล้าน ชี้แจงว่ามาจากหนี้ค้างจ่าย 2 ทาง คือ รัฐบาลค้างจ่าย 2.นายจ้างปิดกิจการและสูญหาย สะสมมาตั้งแต่ปี 2533 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการตามกฎหมาย
- มีเสถียรภาพมีการลุงทุนเพิ่มเติมเงินสะสม 2 พันล้านล้าน
ด้าน ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า ปัจจุบันกองทุน "ประกันสังคม" มีเสถียรภาพ เนื่องจากมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในระยะยาว ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565 มีเงินลงทุนสะสมอยู่ที่ 2,271,818 ล้านบาท และในปี 2566 ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2566 มีเงินลงทุนสะสมอยู่ที่ 2,345,347 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.24 เมื่อเทียบกับข้อมูลปี 2565 และจากการประมาณการสถานะกองทุนประกันสังคม ทั้งนี้ ได้ประมาณการสถานะกองทุน "ประกันสังคม" ในปี 2570 คาดจะมีเงินลงทุนสะสมคิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านบาท
- เปิดงบการลุงทุนบริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์
ข้อมูลจากการอภิปรายในสภาของ สส. ระบุถึงรายละเอียดในการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมเอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ปัจจุบันสำนักงาน "ประกันสังคม" บริหารจัดการเงินในกองทุน 2 รูปแบบ คือ บริหารจัดการเอง ประมาณ 5.8 หมื่นล้านบาท และ บริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ประมาณ 4 พันล้านบาท โดยการบริการจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ พบว่า การลงทุนเติบโต 2.16% มีกำไรตั้งแต่ปี 2563-2564 ประมาณ 3.36% เฉลี่ยแล้วประมาณ 1.66% ซึ่งต่ำกว่าการลงทุนในกองทุนอื่น ๆ หากมีการลงทุนในระยะยาวต่อไปอาจจะมีผลต่อการลงทุนเพราะกองทุนประกันสังคม ถือว่า เป็นผู้ลุงทุนรายใหญ่ของประเทศ ด้านสัดส่วนการลงทุนของกองทุน"ประกันสังคม" ปัจจุบันนี้มีการลงทุนในกองทุนความเสี่ยงต่ำ 60% และกองทุนความเสี่ยงสูง 40%
ด้านนายศุภณัฐ มีนชัยนนท์ สส.พรรคก้าวไกล ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบันกองทุน "ประกันสังคม" มีการลงทุนจำนวนมาก แต่ที่น่าจับตามองคือการลงทุนในหุ้นเอกชนด้านพลังงานและน้ำมัน ซึ่งมีการลงทุนจำนวนมาก 260 ล้านหุ้น จำนวนเงิน 7,600 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่น ๆ ไม่ได้อยู่ใน SET 50 หุ้นที่สามารถทำกำไรได้ และไม่ได้เป็นหุ้นที่มีความโดดเด่นมากหนัก นอกจากนี้ ยังพบว่า กองทุนประกันสังคมมอบหมายให้ 7 บริษัทหลักทรัพย์ดูแลกองทุนจำนวน 10 กองทุน โดยแบ่งเป็น กองทุนตราสารหนี้ 5 กองทุน กองทุนตราสารทุน 5 กองทุน กองทุนละ 12,000 บาท
- เปิดหนี้สูญ และหนี้สงสัยว่าจะสูญหลายร้อยล้าน
จากการอภิปรายยังระบุเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกองทุน "ประกันสังคม" มีหนี้สูญและสงสัยว่าจะกลายเป็นหนี้สูญจำนวนมาก
ในปี 2563 มีหนี้สูญ 37 ล้านบาท และหนี้สงสัยว่าจะสูญ 450 ล้านบาท
ในปี 2564 มีหนี้สูญ 80 ล้านบาท และหนี้สงสัยว่าจะสูญ 281 ล้านบาท
มีแนวโน้มว่าหนี้สูญเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี
- ข้อสังเกตสถานะเงินสมทบลดลงทุกปี รายจ่ายเพิ่มขึ้น
ด้านสถานะการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนมีอยู่ประมาณ 1.49 แสนล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท
ค่าประโยชน์ตอบแทน 1.59 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท
อีกทั้งยังพบว่าการจ่ายค่าประโยชน์ตอบแทนมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนี้
กรณีชราภาพ จ่ายค่าประโยชน์ตอบแทน 1.30 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 22%
กรณีสงเคราะห์บุตร 2.40 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 27%.
รับชมการอภิปรายฉบับเต็ม คลิกที่นี่