ชีวิตดีสังคมดี

เช็กปี 2566 'กองทุนประกันสังคม' ลงทุนอะไรไปบ้าง  ยังมีเงินสะสมพอจ่ายหรือไม่

เช็กปี 2566 'กองทุนประกันสังคม' ลงทุนอะไรไปบ้าง ยังมีเงินสะสมพอจ่ายหรือไม่

26 ก.ค. 2566

เช็กลิสต์ปี 2566 'กองทุนประกันสังคม' ลงทุนอะไรไปบ้าง มีความเสี่ยงจากการลงทุน จัดสรรพอร์ตหุ้นจริงหรือไม่ ส่องเงินสะสมในกองทุนพอจ่ายให้ ผู้ประกันตนหรือไม่

เรื่องราวการอยู่รอดของ "กองทุนประกันสังคม" กำลังถูกจับตาจากสังคม แรงงาน และผู้ประกันตนอย่างมาก หลังจากที่มีการออกมาให้ข้อมูลถึงนำเงินสมทบของผู้ประกันตนไปลงทุนใน สินทรัพย์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ  รวมทั้งการบริหารจัดการหนี้สูญ และหนี้ที่คาดว่าจะสูญอีกจำนวนหลายหมื่นล้านบาท

 

 

โดยเฉพาะการนำเงินไปทุนในสินทรัพย์ ที่สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการโดยบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นที่จับตาอย่างมากว่าจะมีความคุ้มค่าหรือไม่ และควรจะมีการปรับรูปแบบการลงทุนใหม่หรือไม่ เนื่องจากหุ้นบางตัวไม่ได้อยู่ในลิสต์ที่มีมูลค่ามากพอที่ ผู้ลงทุนรายใหญ่อย่างประกันสังคมจะนำเงินไปลงทุน เพราะหากไม่มีการปรับพอร์ตอาจจะประทบต่อเงินสะสมในอนาคต และกระทบไปถึงการจ่ายเงินบำเหน็จ บำนาญให้แก่ผู้ประกันตนในอนาคตด้วย

  • จับตา "กองทุนประกันสังคม" ลงทุน พอร์ตหุ้นประกันสังคม

นายศุภณัฐ มีนชัยนนท์ สส.พรรคก้าวไกล ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบัน "กองทุนประกันสังคม" มีการลงทุนจำนวนมาก แต่ที่น่าจับตามองคือการลงทุนในหุ้นเอกชนด้านพลังงานและน้ำมัน ซึ่งมีการลงทุนจำนวนมาก 260 ล้านหุ้น จำนวนเงิน 7,600 ล้านบาท หากเปรียบเทียบกับหุ้นตัวอื่น ๆ ไม่ได้อยู่ใน SET 50 หุ้นที่สามารถทำกำไรได้ และไม่ได้เป็นหุ้นที่มีความโดดเด่นมากหนัก  นอกจากนี้  ยังพบว่า กองทุนประกันสังคมมอบหมายให้ 7 บริษัทหลักทรัพย์ดูแลกองทุนจำนวน 10 กองทุน โดยแบ่งเป็น กองทุนตราสารหนี้ 5 กองทุน กองทุนตราสารทุน 5 กองทุน กองทุนละ 12,000 บาท

ด้านนายวรภพ  วิริยะโรจน์  สส. พรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ กับคมชัดลึก ว่า ที่ผ่านมา "กองทุนประกันสังคม" มีการลงทุนในสินทรัพย์ และหุ้นซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ประมาณ 24% ซึ่งถือว่าอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม แต่กรณีทั้งนี้จะต้องไปพิจารณาต่อว่า กองทุน หรือ หุ้นที่เลือกลงทุนนั้นลงทุนอะไรไปบ้าง และผลตอบแทนเป็นอย่างไร ซึ่งในต่างประเทศการที่กองทุนจะลงทุนในทรัพสินย์ที่มีความเสี่ยงจะเปิดให้มีการแข่งขัน และผู้ประกันตนสามารถเลือกพอร์ตการลงทุนได้ หรือหากจะเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการผู้ประกันตนจะต้องรู้ข้อมูลว่า กองทุนนำเงินไปลงทุนประเภทใด แต่จะต้องมีการเปรียบเทียบด้วยว่าแต่ละปีได้กำไรมากน้อยเท่าไหร่ หากกำไรลดลงก็ควรจะมีการปรับพอร์ตการลุงทุนใหม่  ผู้ส่งเงินสมทบควรจะได้เลือกเองว่าต้องการลงทุนแบบใดเสี่ยงสูง หรือเสี่ยงต่ำ

 

 

 

  • พอร์ตหุ้นประกันสังคปี 2023

ด้านข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ระบุว่า สำหรับการลงทุนของ "กองทุนประกันสังคม" พบว่าในปี 2023 มี  หุ้นในพอร์ต 63 ตัว มูลค่ารวมกัน 2 แสนล้านบาท ลดลง 2 หมื่นล้านบาท

โดยมีหุ้น 10 อันดับแรกที่น่าสนใจ ดังนี้

1. SCC  มูลค่า 17,493 ล้านบาท

2. PTT มูลค่า 17,111  ล้านบาท

3. ADVANC  มูลค่า 12,841 ล้านบาท

4. AOT  มูลค่า 11,708 ล้านบาท

5 .SCB  มูลค่า 10,002 ล้านบาท
6.BDMS มูลค่า 9,841 ล้านบาท

7. BBL มูลค่า 8,346 ล้านบาท

8. CPALL มูลค่า 8,131 ล้านบาท

9.KBANK มูลค่า 7,679 ล้านบาท

10. BCP มูลค่า 7,342 ล้านบาท

 

 

อย่างไรก็ตามยังพบว่า "กองทุนประกันสังคม" มีการกระจายการในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง และหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง  โดยแบ่งเป็นการลงทุน ตราสารหุ้นไทย, หน่วยลงทุนตราสารหนี้, หน่วยลงทุนอสังหา โครงสร้างพื้นฐา ทองคำ, พันธบัตรรัฐบาล ธปท. รัฐวิสาหกิจ ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน, หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ,เงินฝาก, หุ้นกู้เอกชน หรือ securitized debt ที่ได้รับความน่าเชื่อถือ, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกัน, ตราสารหุ้นไทย

 

 

 

  • เงินลงทุนสะสม "กองทุนประกันสังคม" เพิ่มขึ้น

ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงรายงานสถานะการลงทุนของ "กองทุนประกันสังคม" ว่า ผลการบริหารการลงทุนของกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565 ท พบว่า มีเงินลงทุนสะสมของกองทุนประกันสังคมอยู่ที่ 2,271,818 ล้านบาท ในปี 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2566 มีเงินลงทุนสะสมอยู่ที่ 2,345,347ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.24 % โดยเมื่อเทียบกับปี 2565