ชีวิตดีสังคมดี

6 แนวทางปฎิบัติ ทำให้ 'ผู้สูงวัย' มี 'ความสุข'

6 แนวทางปฎิบัติ ทำให้ 'ผู้สูงวัย' มี 'ความสุข'

15 ก.ย. 2566

สังคม 'ผู้สูงวัย' ต้องปฏิบัติตาม Lifestyle Medicine หรือเวชศาสตร์วิถีชีวิต ช่วยให้คนวัยเกษียณมี 'สุขภาพ' ที่ดี และ 'มีความสุข'

ขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด  ในปี 2574  นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แนะนำให้ผู้ที่จะเกษียณอายุและผู้สูงวัย สร้างแรงบันดาลใจในการจัดการสุขภาพตนเองตามแนวทาง Lifestyle Medicine หรือเวชศาสตร์วิถีชีวิต 6 องค์แนวทาง เพื่อมีขีวิตอย่างมีความสุข

  • การกิน เน้นกินข้าวกล้อง และปลาเป็นหลัก กินตับ กินผัก ผลไม้เป็นประจำ ลด หวาน มัน เค็ม ให้เป็นนิสัยและไม่ลืมดื่มน้ำ ดื่มนมให้เพียงพอ กินอาหารสดใหม่สะอาด ปลอดภัย และกินอย่างมีความสุข

 

  • มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมในความเหนื่อยระดับปานกลางสะสมให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ควบคู่กับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ การเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ การทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม ผู้สูงวัยควรอบอุ่นร่างกาย และคลายอุ่นร่างกาย ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ประมาณ 5-10 นาที

 

  • การนอนหลับมีความสำคัญต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้สูงอายุ จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมากหากพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การควบคุมความเครียด และจัดการด้านอารมณ์ ในสังคมยุคปัจจุบันเราต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อาจทำให้เกิดสภาวะเครียดและวิตกกังวล ซึ่งสิ่งที่ผู้สูงวัยต้องทำให้ได้ คือ การมีสติรับมือกับความเครียด และความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้น

 

  • หลีกเลี่ยงสารหรือวัตถุที่เป็นอันตราย เพราะในชีวิตประจำวันของเรามีสารเสพติดที่ทำลายสุขภาพปริมาณเล็กน้อย เช่น บุหรี่ สุรา เป้นต้น

 

  • ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือการเชื่อมโยงกับสังคม นับเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุบางคนไม่มีทักษะการเรียนรู้ในสังคม แต่บางคนมีการปรับตัวได้ดี โดยสามารถทำให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่า ด้วยการเป็นจิตอาสา