
ย้อน 10 ปี '1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต' ทำได้ 2 ปีต้องเลิก จับตา ศธ. จะแจกอีกครั้ง?
ย้อน 10 ปี โครงการ '1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต' รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ควักเงิน 1,900 ล้านบาท แต่ทำได้ 2 ปีต้องยกเลิก จับตาอีกครั้งหลัง ศธ. เตรียมแจกให้ครูและนักเรียน
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วเป็นยุคเริ่มต้นของ Internet Of Things ที่อินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ในช่วงนั้นรัฐบาลสมัย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีโครงการ 1 แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน หรือ One tablet Per Child (OTPC) หรือ "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต" โดยโครงการ ณ ขณะนั้นมีจุดประสงค์เพื่อเติมเต็มศักยภาพในการเรียนรู้แบบไร้พรมแดนให้แก่เด็ก
หลังจากที่มีโครงการ "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต" ไปได้แค่ 2 ปี ก็ต้องยกเลิกโครงการ เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ คสช. เข้ามา บริหารต่อพร้อมกับให้เหตุผลในการยกเลิกโครงการ "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต" เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก แต่หลังจากที่ประเทศไทยผ่านพ้นยุค คสช. มาแล้วล่าสุด พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงนโยบายแจกแท็บเล็ตให้ครูและนักเรียน คนละเครื่อง ซึ่งหลายคนมองว่ามีความคล้ายกับโครงการ "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต" ในยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- จุดเริ่มต้นโครงการ "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต" เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
โครงการ โครงการ 1 แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน หรือ OTPC เป็นนโยบายของรัฐบาลในยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยในวันที่ 24 ส.ค. 2554 ได้มีการแถลงนโยบายจัดหาแท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน พร้อมกับจัดทำระบบอินเต็อเน็ตไร้สาย เพื่อแจกจ่ายแท็บเล็ตให้แก่นักเรียน โดยนโยบายดังกล่าวจำเริ่มนำร่องกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อน
- 1 ปีต่อมาสั่งซื้อแท็บเล็ตนำร่อง 8.6 แสนเครื่อง
ในปี 2555 นับจากที่แถลงนโยบาย "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต" ไป รัฐบาลในยุคนั้นได้จัดซื้อแท็บเล็ตจำนวน 860,000 เครื่อง งบประมาณ 1,900 ล้านบาท โดยมีกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) เป็นผู้ดำเนินการ โดยการจัดซื้อแท็บเล็ตนั้นได้ดำเนินการสั่งซื้อมาจากประเทศจีนและทำการแจกจ่ายให้แก่นักเรียนได้ทดลองใช้งาน
- ใช้งานได้ 2 ปี ต้อยกเลิกโครงการ "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต"
หลังจากที่ทดลองนำร่องไปได้เพียง 2 ปี โครงการก็หยุดชะงักไป เนื่องจากในปี 2557 รัฐบาลยุค ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกยึดอำนาจโดย คสช. ขณะนั้นมีการแต่งตั้ง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นคณะทำงานด้านสังคมจิตวิทยา ได้ยกเลิกโครงการ เนื่องจาเกรงว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก ดดยเฉพาะการเสียบชาร์จเพราะเครื่องมีความร้อน
- ปี 2566 ผุดนโยบายแจกแท็บเล็ตให้ครูและนักเรียน คนละเครื่อง
ดูเหมือนว่าโครงการ "1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต" จะถูกปัดฝุ่นใหม่อีกครั้งโดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นการการขับเคลื่อนนโยบายเรียนดี มีความสุข โดยแบ่งเป็น 2 หลัก คือ การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต ให้นักเรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหรือ 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต
หลังจากที่มีการประกาศนโยบายการศึกษาออกมาโดยเฉพาะนโบายแจกแท็บเล็ต ก็ทำให้หลายคนกลับมาพูดถึงอีกครั้งว่าจะเหมือนกับโครงการที่ผ่านมาหรือไม่ และแท็บเล็ตจะหลายเป็นภาระแก่ครูที่จะต้องเก็บรักษาแท็บเล็ตให้เด็กๆ หรือไม่