บอร์ดสุขภาพ เคาะนำร่อง 4 เขตสุขภาพ 'บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่' ม.ค. 67
คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ประชุมนัดแรก เคาะ 'บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที' นำร่องนำร่อง4 เขตสุขภาพ พร้อมพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพดิจิตอลเชื่อมโยงการรักษา การให้บริการประชาชน ม.ค. 67 นี้ เป็นของขวัญปีใหม่ประชาชน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติครั้งที่1/2566 พร้อมด้วย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธาน คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สาธารณสุขไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันระบบสาธารณสุขต้องมีการปรับตัว ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพสังคมให้มากขึ้น เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกมิติ จึงออกมาเป็นนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่จะขับเคลื่อนในพ.ศ 2567 13 นโยบาย
โดยวันนี้มีการนำเสนอ 5 ประเด็นหลักคือ 'บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่' , เรื่องมะเร็งครบวงจร , สถานชีวาภิบาล ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงติดบ้านติดเตียงหรือระยะประคับประคอง และผู้สูงอายุ , การเข้าถึงบริการในเขตเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่
โดยในพื้นที่ กทม. มีประชาชน ในระบบสุขภาพ 3 กองทุน 7,700,000 คน และประชากรแฝงอีก 2.2 ล้านคนโดยมีโรงพยาบาลให้บริการรวม 112 แห่ง แบ่งเป็น รพ.รัฐ 24 แห่ง รพ.เอกชน 88 แห่ง
ขณะที่เตียงในโรงพยาบาลทุกสังกัดมีประมาณ 30,180 เตียง ซึ่งในบางส่วน เตียงไม่เพียงพอต่อประชาชนในการรักษา ทำให้ มีการเพิ่ม เตียงในการรักษาโดยเฉพาะในเขตดอนเมือง ซึ่งจะมีการยกระดับโรงพยาบาลทหารอากาศ(สีกัน) กรมแพทย์ทหารอากาศของกองทัพอากาศ เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิขนาด 120 เตียงรับผู้ป่วยทุกสิทธิ์การรักษา , ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข ที่ 60 เป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง ร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย และเตรียมพร้อมโรงพยาบาลราชวิถี 2 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วย และ เรื่องดูแลสุขภาพจิตในผู้ป่วยยาเสพติด
ปัจจุบันมีผู้ป่วยจิตเวชอยู่ที่ประมาณ 166,563 คนเสี่ยงก่อความรุนแรงอยู่ที่ร้อยละ 25.4 หรือ 42,287 คน ส่วนผู้ป่วยจิตเวชที่ก่อความรุนแรงมีอยู่ประมาณร้อยละ 9.1 หรือประมาณ 15,066 คน ขณะที่ผู้ป่วยยาเสพติดอยู่ที่ 129,081 คน เสี่ยงก่อความรุนแรงเฉลี่ยร้อยละ 50.5 หรือประมาณ 65,206 คน และที่ก่อความรุนแรงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2-3.5 หรือ 30,372 คน โดยร้อยละ 75 ของผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดเริ่มมีอาการก่อนอายุ 18 ปี
ขณะที่อัตราการเข้าถึงบริการคุณภาพโรคจิตเวชและยาเสพติดยังคงอยู่ในอัตราที่ต่ำ ส่วนจิตแพทย์สหวิชาชีพสุขภาพจิตก็ถือว่าขาดแคลน
ด้าน นพ. พงศธร พอกเพิ่มดี รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงนโยบาย 'บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่' เป็นนโยบายสำคัญเพื่อที่จะเชื่อมโยงข้อมูลระบบสุขภาพ กับหน่วยบริการทุกระดับและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเข้ารับบริการ รวมถึงจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการประชาชนที่ไม่สามารถใช้มือถือหรือสมาร์ทโฟนได้ ก็สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการยื่นเข้ารับบริการได้ การพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลของสถานพยาบาลร้านยาคลินิกต่างๆ การพัฒนาระบบยืนยันตัวตนในการให้บริการและการรักษา การพัฒนาระบบการทำงาน หรือระบบสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ใบรับรองแพทย์ใบสั่งยาระบบนัดหมายหรือระบบรักษาทางไกล การพัฒนาระบบเชื่อมต่อกับประชาชนเช่นทางแอพพลิเคชั่น LINE และแอพพลิเคชั่นต่างๆ
ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมีข้อมูลจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ผ่าน มากกว่า 66 ล้านคน ขณะที่ข้อมูลใน Application Line มีอยู่ประมาณ 35ล้านคน โดยจะมีการนำร่องรักษาข้ามจังหวัด ใน 4 จังหวัด ก่อน คือ จังหวัดแพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี นราธิวาส โดยจะเริ่มในเดือนมกราคมปี 2567 ใน 4 จังหวัด ซึ่งจะมีประวัติการรักษาในโทรศัพท์มือถือ มีข้อมูลบันทึกสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มีสมุดฝากครรภ์สีชมพูในมือถือ รวมถึงจะมีใบรับรองแพทย์ดิจิตอลที่มีลายเซ็นแพทย์ โดยจะไม่ใช้กระดาษ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ส่วนที่ประสงค์จะไปรับยาที่ร้านยา หรือจะเจาะเลือดก็จะมีใบส่งตัวในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาลต่างๆ รพ.สต คลินิกจะมีระบบการรักษาทางไกล การส่งยาผ่านไปรษณีย์ การเบิกจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์
ในเดือนเมษายนปี 2567 จะเพิ่มช่องทางการจ่ายเงินค่าบริการการรักษา ค่ายา ทางออนไลน์ให้กับประชาชน โดยไม่ต้องรอที่เคาน์เตอร์จ่ายเงิน แต่สามารถจ่ายเงินผ่านสมาร์ทโฟนได้เลย และไม่จำเป็นจะต้องมีใบส่งตัว ซึ่งจะมีการเชื่อมข้อมูลนะหว่างสถานพยาบาลในรูปแบบออนไลน์ ส่วนข้อมูลประวัติการรักษาก็จะมีระบบการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงโดยจะมีรหัส otp เฉพาะ
ส่วน สปสช. จะทำหน้าที่ในการดำเนินความสะดวก 2 ส่วน คือ การอำนวยความสะดวกให้กับ ประชาชนโดยจะมีการเพิ่มผู้สายสายด่วน 1330 ให้บริการประชาชนตลอด24ชั่วโมง ในการสอบถามข้อมูล และปัญหาต่างๆ การสนับสนุนงบประมาณให้ประชาชนทุกจุดโดยจะมีการปรับระบบการจ่ายเงินล่วงหน้า ให้กับสถานพยาบาลต่างๆ เร่งการจ่ายงบประมาณให้เร็วขึ้น เบื้องต้นจะดำเนินการได้ไม่เกิน 3 วัน หากประชาชนต้องนอนในโรงพยาบาลทางสปสชจะเริ่มอนุมัติการจ่ายเงินภายใน 14 วัน