ชีวิตดีสังคมดี

เปิดร่าง 'พรบ.การศึกษาแห่งชาติ' ฉบับใหม่ ใครได้ประโยชน์ ?

เปิดร่าง 'พรบ.การศึกษาแห่งชาติ' ฉบับใหม่ ใครได้ประโยชน์ ?

25 ต.ค. 2566

ทำความรู้จักร่าง 'พรบ.การศึกษาแห่งชาติ' พ.ศ.... เน้นคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้น Active Learning เปลี่ยน Teacher เป็น Coaching ค้นหาภูมิปัญญา ความสามารถ ความถนัดในตัวเด็ก สู่การประกอบอาชีพ

นายอรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยถึงร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. . . ฉบับใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่กระบวนการของบอร์ดใหญ่การศึกษาเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของครม. โดยเปิดเผยว่า พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับเดิมที่ใช้อยู่ ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ 2542 และถึงวาระตามข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 54 ที่กำหนดให้ต้องทำ โดยครั้งที่แล้วร่างพรบ.การศึกษา ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายให้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเขียนใหม่เพื่อเข้าสู่สภาตามรัฐธรรมนูญ โดยกระบวนที่ง่ายขึ้นจึงได้นำเอาร่างพรบ.ฉบับเดิมที่เคยเสนอกลับมาเขียนใหม่ เนื่องจากร่างพระราชบัญญฉบับดังกล่าวได้ผ่านขึ้นตอนการทำประชาพิจารณ์ และขั้นตอนกฤษฎีกามาแล้วนำเข้าสู่บอร์ดการศึกษา 

รู้จักร่างพระราชบัญญการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.....

 

สำหรับร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. . . . ฉบับนี้ เป็นการนำเอาร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับเดิมที่ไม่ผ่านสภามาเขียนใหม่ โดยไม่ได้ปรับแก้ เนื่องจากถ้าปรับแก้นอกเหนือจากเกณฑ์ จะส่งผลให้กระบวนการกฤษฎีกาช้าไปอีก แต่ร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ได้ทำการเพิ่มเติมในประเด็นของสังคม เช่น คำนิยามของการศึกษา ที่เคยเป็นประเด็นถกเถียงกันในเรื่องของคำนิยามที่แตกต่างกันไป ครั้งนี้จึงใช้วิธีการเปรียบเทียบกับของต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีความเจริญด้านการศึกษา เช่น ฟินแลนด์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี เหล่านี้มีคำนิยามคำว่าการศึกษาอย่างไร และให้ความสำคัญแค่ตรงนี้หรือไม่ และนำงานวิจัยมานำเสนอให้ภาคสังคมเห็น 

 

นอกจากนี้อีกหนึ่งปัจจัยที่ร่างพรบ.ฉบับเก่าไม่ผ่านสภา คือรายละเอียดมีเยอะเกินไปโดยมีมากถึง 14 มาตรา ซึ่งแท้จริงแล้วควรแบ่งเป็นหลักการหัวข้อประเด็นใหญ่ และได้มีการนำกฎหมายจากต่างประเทศมาเปรียบเทียบ

 

 เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวด้วยว่า ร่างพระราชบัญญฉบับนี้ ได้นำเอา พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับปี พ.ศ. 2542 มาทำการเปรียบเทียบ กับร่างปัจจุบันเพื่อให้เห็นว่าร่างใหม่ดีกว่าอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร เรื่องของคุณภาพผู้เรียนในโลกที่เปลี่ยนไป และเรื่องคุณภาพการศึกษา เพื่อไม่ให้เสียเวลาจึงได้ยกเอาร่างเก่าที่เคยผ่านกฤษฎีกาเคยผ่านแล้วเอาเข้าครม. ซึ่งหากครม.เห็นชอบในเดือนหน้า (พฤศจิกายน) พอไปสู่กฤษฎีกาจากที่เคยใช้เวลาเป็นปีอาจจะลดระยะเวลาลงเหลือเพียง 1-2 เดือน ซึ่งในระหว่างนั้นจะนำเอาประเด็นของสังคม มาทำประชาพิจารณ์คู่ขนานกันไป แต่สิ่งเดียวที่เป็นกังวลคือถ้าหากกระบวนการใช้เวลานานยาวไปถึงพฤษภาปีหน้า ช่วงเวลาที่สมาชิกวุฒิสภาหมดอายุพอดี ก็จะเสียเวลาในการตั้งกรรมาธิการซึ่งอาจทำให้พรบ.ฉบับใหม่ล่าช้าออกไป จึงอยากเร่งให้ทันก่อนสว.หมดวาระ 

 

ร่างพระราชบัญญการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่

สำหรับสาระสำคัญของร่างพรบ.ฉบับพ.ศ . . . นี้ เลขาธิการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า เน้นในเรื่องของคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ คุณภาพของคนในโลกยุคใหม่ ซึ่งร่างพรบ.ฉบับก่อนร่างขึ้นก่อนสถานการการณ์แพร่ระบาดของโควิด - 19 ยังไม่มีปัญหาของ VUGA world ความผันผวนของโลกที่มันแปรคาดการณ์ไม่ได้ อันเกิดจากสถานการณ์โควิด -19 และ Digital Disruption ครั้งนี้จึงนำสถานการณ์ของโลกต่าง ๆ เหล่านี้มาเป็นประเด็นในการสร้างคุณภาพคน เพราะถ้าทำแบบเดิมการสร้างคนไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เนื่องจากการ Disruption มันเกิดขึ้นในหลายด้าน โลกใบเดิมหมุนเร็วกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น การศึกษา ที่ไม่เคยคุ้นชินกับออนไลน์ ตอนนี้ต้องมาชินกับออนไลน์ มีแพลตฟอร์มต่างๆที่ทำให้คนเข้าสู่ระบอบการศึกษา เน้นเรื่องสมรรถนะมากขึ้นกว่าเรื่องของคุณวุฒิ เน้นคุณภาพเน้นสมรรถนะมากกว่าวุฒิการศึกษา เป็นตัวแปรใหม่ที่จะเกิดขึ้นในร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้ 

 

โดยร่างพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับนี้เน้นการเรียนแบบActive Learning ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ค้นคว้าความถนัด ภูมิปัญญาของตัวเองออกมาแล้วเอามาเป็นความสามารถทางวิชาชีพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล เรียนดี มีความสุข เน้นในเรื่องของการผลิตนวัตกร ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เราต้องการคนใน 10 ปีข้างหน้าให้เป็นนวัตรกร Active Learningจึงเป็นตัวตอบโจทย์ ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกไปสิ่งที่ได้ตามมาคือ ความเครียดของคนลดลง การเข้าสู่มหาวิทยาลัยจากเดิมที่ต้องแข่งขัน สามารถนำผลงานมาใช้จากActive Learning เพื่อนำไปสู่การศึกษาต่อ โดยไม่ต้องเอาผลของการสอบมาให้เด็กเครียด

 

แน่นอนว่าหากปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนทั้งหมด ภาระจะตกอยู่ที่ครูผู้สอน เรื่องนี้

เลขาธิการสภาการศึกษา ให้คำตอบว่า บทบาทของครูจะเป็นไปในลักษณะของ Coaching มากกว่า Teacher หากร่างพรบ.ฉบับนี้ผ่าน สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการต้องทำต่อไปคือ กระบวนการการพัฒนาครูให้เข้าสู่ระบบการสอนเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันหน่วยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 5 หน่วยงานกำลังดำเนินการอยู่ มีการTrening ในเรื่องของ Active Learning อยู่แล้ว จึงสามารถดำเนินการต่อได้ทันที

 

เลขาธิการสภาการศึกษา ทิ้งท้ายไว้ว่า การเรียนในยุคต่อไปต้องวัดกันที่ภูมิปัญญาของเด็ก วัดความถนัดของเด็ก ที่ผ่านมาเรื่องนี้ถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย เราจึงเน้นจากการใครครูเปลี่ยนจาก Teacherมาเป็นCoaching เพื่อให้เด็กเห็นในสิ่งที่ตนเองถนัด และสอนในเชิงแนะแนวว่าคุณควรเดินทางไปทางไหนในชีวิต

 

โดยในวันนี้ (25 ต.ค 2566) ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมายเพื่อกลั่นกรองพรบ.ก่อนจากนั้นจะเข้าสู่บอร์ดใหญ่ของสภาการศึกษาในวันศุกร์นี้ ( 27 ต.ค 2566) เพื่อจะเข้าสู่การพิจารณาเห็นชอบ และให้รัฐมนตรีลงนามและนำเข้าสู่ครม.ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้