ผู้ 'ติดเชื้อเอชไอวี' เพิ่มขึ้นเท่าตัว พบเพศชายมากกว่าหญิง
ผู้ 'ติดเชื้อเอชไอวี' ส่วนใหญ่พบเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง คาดปี 2567 แนวโน้มเพิ่ม 10 ปีที่ผ่านพบวัยรุ่นเป็นซิฟิลิสมากกว่าเท่าตัว
ข้อมูลจากศูนย์รวมข้อมูลสารสนเทศต้านเชื้อเอชไอวีของประเทศไทย ประเมินสถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ปี 2566 มีจำนวน 9,226 คน โดยกรุงเทพมหานครมีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุดสัดส่วนอายุของผู้ติดเชื้อรายใหม่ 52% อยู่ที่ช่วงอายุ 25-49 ปี รองลงมา 33% อยู่ที่ช่วงอายุ 20-24 ปี และเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงอายุ 15-19 ปี หรือกลุ่มเยาวชนมีอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 14% ภายในปี พ.ศ. 2573 และพบว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเพิ่มขึ้นของการป่วยเป็นซิฟิลิสของกลุ่มเยาวชนเพิ่มสูงขึ้น ปี 2555 จากจำนวน 4.6 คนต่อประชากรแสนคน เพิ่มเป็นจำนวน 59 คนต่อประชากรแสนคน ในปี 2565
โดยเพศชายติดเชื้อรายใหม่ 81% เพศหญิงติดเชื้อรายใหม่ 19% แยกเป็นสาเหตุการติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายมากที่สุดถึง 69% รองลองมาคือการติดเชื้อจากคู่ผลเลือดต่าง (คู่อยู่กิน/คู่ประจำ) 19% สำหรับกลุ่มประชากรผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือ กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย 56% รองลงมาคือ หญิงกลุ่มอื่น ๆ 18% และชายกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงพนักงานบริการชายอยู่ที่กลุ่มละ 9% ส่วนพนักงานบริการหญิงและลูกค้าผู้ซื้อบริการทางเพศอยู่ที่กลุ่มละ 1% โดยผู้ "ติดเชื้อเอชไอวี" ที่ยังมีชีวิตอยู่จำนวน 560,000 คน ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตเนื่องจากเอดส์จำนวน 11,000 คน
การติด "เชื้อเอชไอวี" ยังคงสร้างปัญหาและความกังวลใจให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ส่งผลกระทบทางสังคม คือการที่บุคคลอื่นมีทัศนคติเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้น การให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการติด "เชื้อเอชไอวี" และโรคเอดส์ รวมถึงการรณรงค์เพื่อยุติโรคเอดส์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสนับสนุนและช่วยกัน เพื่อลดการเลือกปฏิบัติ ยุติการตีตรา สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในวงกว้าง
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ทั้งสุขภาพจิต และสุขภาพกาย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) นักวิทยาศาสตร์ไทย หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM ได้ประกาศผลสำเร็จของนักวิจัยไทยจากการคิดค้นนวัตกรรมการสกัดพืชผักพื้นบ้านไทย 5 ชนิด ได้แก่ มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และใบบัวบก เสริมฤทธิ์กันสร้างร่างกายให้มีสุขภาพดีในระดับโครโมโซม เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันบำบัดจากพืชกินได้ ช่วยลดการเสื่อมถอยของร่างกาย พร้อมกับลดอัตราเสี่ยงของการเกิดเนื้อร้าย และเพิ่มภูมิคุ้มกันลดการติดเชื้อต่างๆ ไปพร้อมกันทำให้ร่างกายแข็งแรง
ปัจจุบันเราสามารถนำนวัตกรรมภูมิคุ้มกันบำบัดที่ทำการวิจัยมาอย่างต่อเนื่องมาใช้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี จนประสบความสำเร็จสามารถสร้างปรากฏการณ์ในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นครั้งแรกของโลก จากการติดตามผลการใช้นวัตกรรมแห่งชาติไทยนี้ พบว่ามีผู้ติดเชื้อ 50 ราย มีสุขภาพที่แข็งแรงโดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างพื้นที่ยืนในสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ เราเปิดโอกาสให้ผู้ที่เคยติดเชื้อเอชไอวีเข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยคนอื่นๆ ให้มีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ภายใต้โครงการ BYE BYE HIV จึงเป็นการสร้างงานและสนับสนุนตามคำขวัญวันเอดส์โลกปี 2023 คือ Communities make the difference : รวมพลังชุมชนยุติเอดส์