ชีวิตดีสังคมดี

เงื่อนไขใหม่ 'จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย' รายใหม่อยากได้ที่ทำยังไง เช็กที่นี่

เงื่อนไขใหม่ 'จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย' รายใหม่อยากได้ที่ทำยังไง เช็กที่นี่

30 ม.ค. 2567

เงื่อนไข 'จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย' รายใหม่อยากได้ที่ต้องทำอย่างไร เช็กคุณสมบัติก่อนจองแผงค้าทำเลดี ที่นี่ กทม. ขยายเวลาประกาศรับฟังความเห็นถึงสิ้น ก.พ. นี้

"จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย" ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 86 จุด ผู้ค้า 4,541 ราย มีเป้าหมายยกเลิกพื้นที่ทำการค้าในปี 2567 จำนวน 5 จุด ได้แก่ เขตคลองเตย 2 จุด เขตยานนาวา 2 จุด เขตปทุมวัน 1 จุด รวมถึงมีพื้นที่ทำการค้าที่ยกเลิกเพิ่มเติมจากเป้าหมายในปี 2567 จำนวน 2 จุด ได้แก่ เขตพญาไท 1 จุด เขตบางรัก 1 จุด ส่วนพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 544 จุด ผู้ค้า 13,210 ราย มีเป้าหมายยกเลิกพื้นที่ทำการค้าในปี 2567 จำนวน 105 จุด ดำเนินการแล้ว 27 จุด อยู่ระหว่างดำเนินการ 78 จุด รวมถึงจัดระเบียบเพิ่มเติมจากเป้าหมายในปี 2567 ดำเนินการยกเลิก 14 จุด ผู้ค้า 385 ราย จัดระเบียบ 5 จุด ผู้ค้า 797 ราย

โดย กทม. จะขยายเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศกรุงเทพมหานคร "จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย" ทางออนไลน์ ออกไปอีก 1 เดือน จนถึงสิ้นเดือน ก.พ. 2567 พร้อมทั้งให้จัดทำประชาพิจารณ์ โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้ค้าจุดผ่อนผันและนอกจุดผ่อนผันในพื้นที่ 50 เขต และประชาชน มาประชุมร่วมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้า เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สะท้อนความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปด้วยความรอบคอบโปร่งใส เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง คลิกที่นี่

เงื่อนไข "จัดระเบียบหายเร่แผงลอย" กทม.

  • จะต้องมีพื้นที่ว่างให้ประชาชนได้สัญจรอย่างสะดวก
  • ถนนมีช่องจราจรตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไป เมื่อจัดวางแผงแล้วต้องมีที่ให้ประชาชนสัญจรได้ไม่น้อยกว่า 2 เมตร  หรือ ถนนที่มีช่องจราจรน้อยกว่า 3 ช่อง เมื่อจัดวางแผงค้าแล้วต้องมีที่ว่างให้ประชาชนสัญจรไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
  • อยู่ในรัศมี 150 เมตร จากพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วัง พระที่นั่ง พระตำหนัก เขตพระราชฐาน และบรมราชานุสาวรีย์
  • ไม่เป็นพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อการจราจร และกีดขวางการจราจร
  • ไม่เป็นพื้นที่ที่มีกรณีพิพาทระหว่างผู้ค้ากับกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ระหว่างพิจารณาของศาล
  • ไม่เป็นพื้นที่หรือบริเวณที่กรุงเทพมหานครประกาศห้ามเป็นพื้นที่ทำการค้า
  • ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนในพื้นที่ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริเวณนั้น หรือบริเวณใกล้เคียง
  • สำนักงานเขตทบทวนความจำเป็นและความเหมาะสมของการเป็นพื้นที่ทำการค้าทุก ๆ 2 ปี

 

 

วิธีการคัดเลือกผู้ค้าในการ "จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย"

  • สำนักงานเขตที่กำหนดให้มีพื้นที่ทำการค้าประกาศให้ผู้มีความประสงค์จะทำการค้า มาลงทะเบียนในเวลาที่กำหนดแต่ไม่น้อยกว่า 15 วัน นับจากวันที่ประกาศ
  • ครบเวลาที่กำหนดให้สำนักงานเขตตรวจสอบคุณสมบัติผู้แจ้งความประสงค์ และประกาศรายชื่อผู้แจ้งความประสงค์ที่มีคุณสมบัตอครอบถ้วน  กำหนด วัน และสถานที่ ทำการคัดเลือก
  • หลังจากประกาศรายชื่อผู้ค้าภายใน 7 วันแล้วไม่มีผู้คัดค้านให้สำนักงานเขตคัดเลือกผู้ค้าลงตามผัง
  • ทำการคัดเลือกจากผู้ค้ารายเดิมที่มีชื่อในบัญชี
  • หากพื้นที่ว่างให้คัดเลือกผู้ค้าที่ภูมิลำเนาติดกับเขตที่มีพื้รที่การค้า หากมีคนแจ้งความประสงค์จะทำการค้าจำนวนมากให้คัดเลือกโดยการจับสลาก ทั้งนี้หากพบว่ายังมีพื้นที่ว่างอีกให้คัดเลือกผู้ค้าโดยการจับสลากอีก
  • หากมีการคัดค้านให้คณะกรรมการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย ระดับเขตพิจารณาทบทวนและวินิจฉัย ให้ถือว่าคำวินิจฉัยเป็นที่สุด

 

 

คุณสมบัติของผู้ค้าในการ "จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย"

  • มีสัญชาติไทย เป็นผู้ที่ถือบัตรสัวสดิการแห่งรัฐ เป็นคู่สัญญาในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยกับการเคหะแห่งชาติในโครงการบ้านมั่นคง  ยังผ่อนชำระอยู่
  • บุคคลที่ได้รับเงินสวัสดิการจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • เป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 180,000 บาทต่อปี อ้างอิงจากหลักฐานการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ผู้ค้าที่ยังไม่เคยยื่นสามารถนำหลักฐานการยื่นภาษีในปีถัดไปมาเป็นหลักฐานได้
  • ไม่มีแผงค้าอื่นหรือเป็นผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าอื่นในพื้นที่กรุงเทพฯ
  • ไม่เคยถูกเผิกถอนการทำการค้าในพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครกำหนดให้เป็นพื้นที่การค้า

 

 

ห้าม หาบเร่แผงลอย ทำการค้าในพื้นที่ต่อไปนี้

  • ป้าย ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจําทางสาธารณะ จุดที่หยุดหรือจอดรถโดยสารสาธารณะในระยะ 10 เมตร 
  • ทางขึ้นลงสะพานลอย  บริเวณใต้สะพานลอย ทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้ารวมถึงช่องทางเข้าลิฟท์สําหรับผู้พิการ ในระยะ 10 เมตร 
  • ทางเท้าบริเวณข้ามถนนที่มีทางม้าลาย และในระยะ 3 เมตร จากทางม้าลายทั้ง 2 ด้าน
  • ห้ามตั้งแผงค้าในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
  • ช่องทางเข้าออกอาคารที่ประชาชนใช้สอย และในระยะ 5 เมตร จากทางเข้าออก 
  • ห้องสุขาสาธารณะ ในระยะ 3 เมตร 
  • จุดจ่ายน้ำดับเพลิง หรือ ประปาหัวแดง ในระยะ 3 เมตร 
  • บริเวณโดยรอบตู้โทรศัพท์ ตู้ไปรษณีย์ และในระยะ 1 เมตร

 

ที่มา: ร่างประกาศกรุงเทพมหานคร การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย