ชีวิตดีสังคมดี

เช็กกฎหมาย 'ตรวจแอลกอฮอล์' แบบใหม่ วิธีวัดทำอย่างไร ทำไมขัดขืนถือว่าเมา

เช็กกฎหมาย 'ตรวจแอลกอฮอล์' แบบใหม่ วิธีวัดทำอย่างไร ทำไมขัดขืนถือว่าเมา

31 ม.ค. 2567

เช็กกฎหมาย 'ตรวจแอลกอฮอล์' แบบใหม่ วิธีตรวจวัดทำอย่างไร ปริมาณแอลกอฮอล์เท่าไหร่เท่ากับเมา กฎหมายใหม่ขัดขืนถือว่าเมาทันที อ่านรายละเอียดที่นี่

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมติหลักการกฎหมาย "ตรวจแอลกอฮอล์" แบบใหม่ หรือ ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ออกตามความใน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่  เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับ 13 ) พ.ศ. 2565 รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่าเป็นความผิดให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท 

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง "ตรวจแอลกอฮอล์" จะเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 หรือ ตรวจแอลกอฮอล์แบบใหม่ ครอบคลุมถึงการตรวจพิสูจน์บุคคลที่อยู่ในภาวะที่สามารถให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์การมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้ แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยวิธีการตรวจวัดจากลมหายใจได้ รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่าเป็นความผิดให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท 

สำหรับวิธี "ตรวจวัดแอลกอฮอล์" แบบใหม่ จะใช้วิธีการ ดังนี้  

1.วิธีตรวจหรือทดสอบ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีการ

  • ตรวจวัดลมหายใจ โดยวิธีเป่าลมหายใจ
  • ตรวจจากเลือด (ต้องได้รับความยินยอม)
  • ตรวจวัดจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ โดยกำหนดให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่นด้วยวิธีการทางการแพทย์ที่เจ็บปวดน้อยที่สุด และไม่เป็นอันตรายอย่างอื่น ซึ่งจากเดิมกำหนดให้ตรวจจากปัสสาวะ เป็น ตรวจจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ

 

2.เจ้าหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแลพแพทย์ กรณีมีอุบัติเหตุจากการขับขี่และมีพฤติการณ์ที่เชื่อว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลอาจจะเป็นผู้ขับขี่ได้กระทำการฝ่าฝืนในขณะเมาสุราหรือเมาของอย่างอื่นให้ดำเนินการสอบสวนข้อมเท็จจริงว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ทุกกรณี  เช่น บุคคลที่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์ 

 

3.กรณีผู้ขับขี่ไม่ให้ความยินยอม ในการ "ตรวจแลอกอฮอล์" ด้วยลมหายใจ ให้พนักานสอบสวนดำเนินดารดังนี้  

  • ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งเป็นหนังสือขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายบุคคล ภายใน 3 ชั่วโมง
  • ให้แพทย์เก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่น และให้ออกหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว
  • ให้สันนิษฐานว่าบุคคลที่เป็นผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควรนั้นมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

 

 

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดตามที่กฎหมาย "ตรวจแอลกอฮอล์" กำหนด มีดังนี้ 

1.กรณีตรวจวัดจากเลือด (เจาะเลือด) หากผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์สำหรับบางกรณี เช่น ผู้ขับขี่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว เป็นต้น หรือกรณีผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 

2.กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะให้เทียบกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน  ดังนี้ 

  • กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 80 ซึ่งเทียบได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
  • กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ จะต้องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะได้ค่าเท่าใดให้คูณด้วยเศษ 1 ส่วน 1.3