'ประกันสังคม' ดีเดย์ 1 เม.ย. 67 เพิ่ม สิทธิตรวจสุขภาพตามอายุ เช็กเลย อะไรบ้าง
ผู้ประกันตนรีบเช็ก 'ประกันสังคม' ดีเดย์ 1 เมษายน 2567 เพิ่ม 'สิทธิตรวจสุขภาพตามอายุ' เช็กเลย มีอะไรบ้าง เพื่อดูแลคุ้มครอง ครอบคลุมทุกโรค จนสิ้นสุดการรักษา
'สิทธิตรวจสุขภาพตามอายุ' ดีเดย์ 1 เมษายน 2567 โดย 'ประกันสังคม' เตรียมเพิ่มสิทธิให้กับ ผู้ประกันตน เพื่อการดูแลคุ้มครอง ครอบคลุมทุกโรค ซึ่งได้มีการปรับเพิ่มรายการ ตรวจสุขภาพ ให้มีความถี่มากขึ้น เพื่อสอดคล้องกับปัจจัยด้านอายุและความจำเป็นในการตรวจ เป็นการตรวจ เสริม จากการตรวจสุขภาพพื้นฐานของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติที่ให้คนไทยทุกสิทธิ
ผู้ประกันตน ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ตรวจสุขภาพฟรี
- ตรวจน้ำตาลไขมันในเลือด
- ตรวจการทำงานของไต
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจ X-ray
- ตามหลักเกณฑ์อัตราที่กำหนด
- และอื่นๆ
ทันตกรรม สามารถเข้าถึงการรักษาดูแลสุขภาพฟันในสถานพยาบาลหรือคลินิก ทั้งรัฐ เอกชน ได้อย่างสะดวก ทั้งในและนอกเวลาราชการ โดยไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า และในปี 2667 นี้ สปส. ยังเพิ่มโครงการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ อำนวยความสะดวกในการรับบริการรักษาดูแลสุขภาพฟัน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของผู้ประกันตน
เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาฟรี 72 ชั่วโมง ทั้งในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน สำหรับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ รักษาฟรี 72 ชั่วโมง กรณีสถานพยาบาลเอกชน เบิกได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และให้สถานพยาบาลที่รักษาแจ้งสถานพยาบาลตามสิทธิของผู้ประกันตนให้รับผิดชอบดูแลรักษาตั้งแต่รับแจ้ง จนสิ้นสุดการรักษา โดยผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย
สำนักงานประกันสังคม ได้มอบสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลอื่นๆ เช่น
1. การปลูกถ่ายไขกระดูก (การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต) สำหรับการรักษามะเร็งโรคเลือด 8 ชนิด สิทธิประกันสังคมสามารถทำการปลูกถ่ายเซลล์ฯ ครอบคลุมทั้งวิธีการปลูกถ่าย โดยใช้เนื้อเยื่อตนเอง เนื้อเยื่อพี่น้องร่วมบิดามารดา และเนื้อเยื่อของผู้บริจาคผ่านสภากาชาดไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงถึงรายละ 1,300,000 บาท “ฟรี”
2. สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือหัตถการในกลุ่มโรคที่เป็นปัญหาของผู้ประกันตน จำนวน 5 โรค ประกอบด้วย
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคนิ่วในไตหรือถุงน้ำดี
- โรคมะเร็งเต้านม
- ก้อนเนื้อที่มดลูก
ไปรับการผ่าตัดหรือทำหัตการที่ไหนก็ได้ ในโรงพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงาน ภายในระยะเวลา 15 วัน หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยหรือแพทย์ลงความเห็นว่าจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยลดการรอคอยการผ่าตัดหรือทำหัตการ ลดความเสี่ยงรวมถึงลดความรุนแรงของโรค
3. เพิ่มการเข้าถึงการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่อง CPAP โดยจ่ายค่าอุปกรณ์เครื่องอัดอากาศขณะหายใจเข้า (CPAP) และค่าตรวจการนอนหลับ (Sleep test) สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งถือเป็นโรคที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนำมาซึ่งความอันตรายแก่ชีวิตอีกด้วย