ชีวิตดีสังคมดี

'เงินสงเคราะห์ยากลำบาก 3000' เช็กช่องทางขอรับเงิน คุณสมบัติ 1 ปีได้กี่ครั้ง

'เงินสงเคราะห์ยากลำบาก 3000' เช็กช่องทางขอรับเงิน คุณสมบัติ 1 ปีได้กี่ครั้ง

13 มี.ค. 2567

ตรวจสอบด่วน 'เงินสงเคราะห์ยากลำบาก 3000' เช็กช่องทางขอรับเงิน คุณสมบัติแบบไหนจะได้เงินช่วยเหลือ 1 ปี ได้กี่ครั้ง สรุปรายละเอียด ขั้นตอน ครบที่นี่

เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก 2567 หรือ "เงินสงเคราะห์ยากลำบาก 3000" โดยที่  กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการการให้บริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อนด้านที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่ม ประสบปัญหาด้านครอบครัว ถูกทารุณกรรม ถูกแสดงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถูกทอดทิ้ง ได้รับเงินงินสง "เงินสงเคราะห์ยากลำบาก 3000"  เกินวงเงินครั้งละ 3,000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้งต่อคนต่อปี 

สำหรับ ผู้สูงอายุที่จะได้ "เงินสงเคราะห์ยากลำบาก 3000"  หรือ เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุยากลำบาก โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ดังนี้  

  • เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับความเดือดร้อนด้านที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ประสบปัญหาด้านครอบครัว ถูกทารุณกรรม ถูกแสวงหาผลประโยชน์ ถูกทอดทิ้ง 
  • ได้รับเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุยากลำบาก ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/คน/ปี 
  • เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุยากลำบาก สามารถการขอรับความช่วยเหลือได้ตามทะเบียนบ้าน  

ผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถขอรับเงินสงเคราะห์ได้ดังนี้

  • กรมกิจการผู้สูงอายุ
  • กรมกิจการเด็ก และเยาวชน
  • กรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว
  • กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ
  • กรมส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300)
  • ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค

 

 

ผู้สูงอายุในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถขอรับเงินได้ ดังนี้  

  • สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 76 จังหวัด
  • ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 11 แห่ง
  • หน่วยงานในสังกัด พม. ที่อยู่ในจังหวัดนั้น

 

 

เอกสารสำหรับขอรับ "เงินสงเคราะห์ยากลำบาก 3000"  

1. ผู้สูงอายุแจ้งเรื่องเอง
บัตรประจำตัวประชาชน-บัตรอื่นที่ทางราชการออกให้

2. บุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่พบเห็น
บัตรประจำตัวประชาชน-บัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ของผู้แจ้งเรื่อง

 

กรณีไม่มีหลักฐาน
ให้มีหนังสือรับรองว่าผู้สูงอายุมีถิ่นที่อยู่ในพื้นที่นั้นจริงจากนายอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น หรือพนักงานปกครอง หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกเทศมนตรี หรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้อำนวยการเขต หรือนายกเมืองพัทยา หรือประธานชุมชนซึ่งทางราชการให้การรับรอง หรือแต่งจั้งแล้วแต่กรณี 

 

อย่างไรก็ตามสำหรับผู้สูงอายุสามารถขอความช่วยเหลือผ่านช่องทางดังนี้

  • การโอนเงินผ่านระบบ Krungthai Corporate Online
  • เช็ค
  • เงินสด (โดยมีใบสำคัฐรับเงิน ซึ่งต้องมีเจ้าหน้าที่ลงนามเป็นพยานให้ครบถ้วนพร้อมภาพถ่ายประกอบ)

 

 

โดยจะมีเจ้าหน้าที่จะรับเรื่องไว้ ก่อนจะรวบรวมข้อมูลส่งให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะมีการลงพื้นที่มาเก็บข้อมูล ตรวจสอบ ว่าเข้าหลักเกณฑ์จริง หากผ่านเกณฑ์จะมีเงินช่วยเหลือให้ครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท หรือมอบเป็นสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน ใน 1 ปีสามารถช่วยเหลือได้ 3 ครั้ง