'ลาคลอด 98 วัน' มีผลแล้ว เช็ก ลาคลอด 98 วัน นับยังไง ได้เงินค่าจ้างเพิ่มไหม
กฎหมาย 'ลาคลอด 98 วัน' มีผลบังคับใช้แล้ว พนักงานเอกชน รัฐวิสาหกิจเช็ก ลาคลอด 98 วัน นับยังไง ได้เงินค่าจ้างเพิ่มหรือไม่ คุณแม่เบิกเงินค่าคลอดบุตรได้เท่าไหร่ สรุปที่นี่
ภายหลังที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) และร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 จำนวน 2 ฉบับ ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ จำนวน 2 ฉบับ มีสาระสำคัญ เพื่อกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพิเศษตามที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษตามความเหมาะสมและความจำเป็นของกิจการ โดยให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดดังกล่าวด้วย และกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็น "ลาคลอด 98 วัน" เพื่อให้สอดคล้องกับแรงงานภาคเอกชนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เฉพาะผู้ป่วยระดับสีเหลืองและสีแดง) เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2565 ซึ่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้เห็นชอบในหลักการของร่างประกาศ จำนวน 2 ฉบับ ดังกล่าวด้วยแล้ว
กำหนดให้ร่างประกาศในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. 2565 เป็นต้นไป และกำหนดให้การเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 16 มี.ค. 2565 และการรักษาพยาบาลยังไม่สิ้นสุดลง ให้ได้รับสิทธิตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่ 30 ก.ค พ.ศ. 2564 (ประกาศเดิม) ต่อไปจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
ลาคลอด 98 วัน นับยังไง
ตามกฎหมายพนักงานสามารถลาคลอดได้ 98 วัน โดยเพิ่มเติมมาจากเดิม 8 วัน จากกฎแรงงานเดิมที่ให้พนักงานที่ตั้งครรภ์สามารภลาคลอดได้แค่ 90 วัน เท่านั้น การรับวัน "ลาคลอด 98 วัน" จะนับรวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยแบ่งเป็นลาคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์อีก 8 วัน นับรวมเป็น 98 วัน
ทั้งนี้สามารถใช้สิทธิ ลาคลอด ก่อนคลอดก่อนคลอดหรือหลังคลอดก็ได้ แต่จะต้องอยู่ในระยะเวลา 98 วัน โดยการ "ลาคลอด 98 วัน" จะเริ่มนับตั้งแต่ วันนแรกที่จะใช้สิทธิลาคลอดหลังคลอดลูกทั้งหมด หรือแบ่งลาก็ได้ อย่างไรก็ตามพนักงานเอกชน หรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจสามารถ "ลาคลอด 98 วัน" โดยไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ และได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มให้อีก 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 45 วัน รวมทั้งยังสามารถที่จะเบิกจ่ายค่าคลอดบุตรได้ 15,000 บาทต่อครั้ง