ส่อง 'เงินเดือน' 10 ประเทศอาเซียน ไทยคว้าที่ 2 ประเทศเงินเดือนเยอะที่สุด
ส่อง 'เงินเดือน' 10 ประเทศ 'อาเซียน' ประเทศไหนครองแชมป์เงินเดือนที่เยอะที่สุด? ไทยไม่พลาดเบียดแชมป์ตามมาติดๆ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุดมไปด้วยวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและการลงทุนที่ไหลเข้าสู่ภูมิภาค ทำให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศเสนอเงินเดือนที่สูงให้กับพลเมืองของตน
Time Champ จัดอันดับ 10 ประเทศ 'อาเซียน' "เงินเดือน" ที่เยอะที่สุด ไทยไม่พลาดเบียดแชมป์ตามมาติดๆ
1. สิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเงินเดือนเฉลี่ยสูงที่สุด ด้วยสถานะเป็นศูนย์กลางทางการเงินและเทคโนโลยี "เงินเดือน" โดยเฉลี่ยในสิงคโปร์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกมาก ซึ่งราว 6,332 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 171,340 บาทต่อเดือน
2.ไทย
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง ทั้งยังเปิดโอกาสสำหรับการจ้างงาน ที่เปิดกว้างสำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจากมีลักษณะการแข่งขันในด้านเงินเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ จากข้อมูลของ Time Camp เด็กจบใหม่ค่าจ้างเฉลี่ยในประเทศไทย อยู่ในช่วงประมาณ 20,000 ถึง 25,000 บาทต่อเดือน ผู้ประกอบอาชีพระดับกลางสามารถคาดหวัง "เงินเดือน"ที่สูงขึ้น ซึ่งสามารถอยู่ในช่วงตั้งแต่ 50,000 ถึง 100,000 บาท
3.บรูไน
แม้จะมีประชากรค่อนข้างน้อย แต่บรูไนดารุสซาลามก็ขึ้นชื่อด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งนี้ส่งผลให้ประเทศมีเงินเดือนสูงสำหรับผู้ที่อยู่อาศัย ด้วยมาตรฐานค่าครองชีพที่ค่อนข้างสูงด้วย
ข้อมูลจาก Salary Explorer ระบุว่า รายได้เฉลี่ยในบรูไนปัจจุบัน อยู่ที่ 3,230 ดอลลาร์บรูไน หรือราว 87,500 บาท
4.มาเลเซีย
มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสในเชิงการแข่งขัน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มระดับรายได้ในภาพรวมได้ "เงินเดือน" โดยเฉลี่ยในมาเลเซียคือ 6,610 ริงกิต หรือราว 51,295 บาท
5.ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังเป็นจุดหมายปลายทางด้านการจ้างงานภายนอกอันดับต้นๆ "เงินเดือน" โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4,800 เปโซ หรือประมาณ 28,530 บาท
6.อินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรจำนวนมากและมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แม้จะมีเงินเดือนต่ำกว่าสิงคโปร์หรือบรูไน แต่อินโดนีเซียยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยในอินโดนีเซียอยู่ที่ 5.07 ล้านรูเปียห์ต่อเดือน หรือราว 11,605 บาท อินโดนีเซียมี "เงินเดือน" เฉลี่ยอยู่ที่ 12,200,000 รูเปียห์ หรือ 27,850 บาท
7.เวียดนาม
เวียดนามกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนต่างชาติในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิตและเทคโนโลยี ประเทศนี้ยังขึ้นชื่อในด้านทิวทัศน์ที่สวยงาม ประวัติศาสตร์อันยาวนาน และศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจและการลงทุน ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยในเวียดนามอยู่ที่ 4,961 ล้านดอง หรือประมาณ 7,150 บาท เวียดนามมี "เงินเดือน" โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 17.3 ล้านดอง หรือประมาณ 24,920 บาท
8.ลาว
ถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีเงินเดือนต่ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ระดับรายได้ในประเทศก็เริ่มเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จากสถิติล่าสุด "เงินเดือน" โดยเฉลี่ยในลาวคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 900,000 ถึง 1,200,000 กีบลาว 1,550-20,650 บาท
9. กัมพูชา
การเติบโตทางเศรษฐกิจในกัมพูชาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและการผลิต ปัจจุบัน "เงินเดือน" โดยเฉลี่ยในกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 150 ถึง 200 เหรียญสหรัฐต่อเดือน หรือราว 3,680 – 5,520 บาท
10.เมียนมา
ค่าจ้างเฉลี่ยในเมียนมาร์ถือว่าต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ "เงินเดือน" โดยเฉลี่ยในเมียนมา อยู่ที่ 311,000 จ๊าต หรือมาณ 5,430 บาท
ข้อมูลอ้างอิงจาก : tempo