"สภาพัฒน์ฯ" เริ่มศึกษา แผนพัฒนาพื้นที่ สงขลา-ปัตตานี ทำนิคมฯจะนะ ชะงัก
"สภาพัฒน์ฯ" คิกออฟศึกษา แผนแม่บทพัฒนาเชิงพื้นที่ สงขลา-ปัตตานี ใช้เวลา 1 ปี ก่อนสรุปแนวทาง นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ต้องชะงักรอเคาะแผน
มื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ที่สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ "สภาพัฒน์ฯ" แถลงความคืบหน้าโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ (SEA) ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แถลงความก้าวหน้าการดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
นายดนุชา กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่มอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เพื่อดำเนินการโครงการแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจ.สงขลา และ จ.ปัตตานี ปัจจุบัน "สภาพัฒน์ฯ" มีการเสนอครม.เพื่อขออนุมัติจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการเป็นที่เรียบร้อย โดยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567 จำนวน 28,227,800 บาท
โดยแบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 14,113,900 บาท และส่วนที่เหลือจำนวน 14,113,900 บาท ให้ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567
ที่ผ่านมา "สภาพัฒน์ฯ" ได้ดำเนินการจัดทำ TOR เพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาเพื่อจะเข้ามาดำเนินการทำการศึกษารายละเอียด และจัดทำ SEA ในโครงการดังกล่าว ผ่านกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้าง โดยโดยวิธีคัดเลือก ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้รับงานการศึกษา SEA ไป
นายดนุชา กล่าวต่อว่า สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการในระยะต่อไป ที่ปรึกษาจะเริ่มมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งตามขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็น 32 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,100 คน ในปีนี้ และในปี 2567 จะมีการรับฟังความคิดเห็นอีก 8 เวที โดยมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 900 คน
ขอบเขตในการศึกษานั้นจะดำเนินการในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ สงขลา และ ปัตตานี ครอบคลุมทุกอำเภอให้แล้วเสร็จกายในระยะเวลาที่กำหนด ก่อนจะมีการสรุปว่าจะพัฒนาทั้ง 2 จังหวัดไปในทิศทางใด โดยทั้ง 2 จังหวัดมีศักยภาพที่แตกต่างกัน จ.สงขลาเป้นจังหวัดที่มีการแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจมากอยู่แล้ว ส่วนจ.ปัตตานีพื้นที่ยังสามารถและพื้นศักยภาพได้อีก อย่างไรก็ตามการทำ SEA ในครั้งนี้จะส่งผลให้โครงการอุตสาหกรรมจะนะในพื้นที่จ.สงขลาต้องหยุดไปชั่วคราวเพื่อรอแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ให้ชัดเจนก่อน รวมไปถึงภาคธุรกิจอื่น ๆ
"สภาพัฒน์ฯ" พยายามที่จะให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บืในครั้งนี้เพื่อลดความขัดแย้ง และความศซ้ำซ้อนในการทำงานลง เบื้องหากแผ่นแม่ยืการพัฒนาพื้นที่สงขลา และ ปัตตานีแล้วเสร็จ จะมีการคัดเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้สภาพัฒน์ฯคาดกการณ์ว่า หากแผนออกมาแล้วจะเกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ในพื้นที่ภาคใต้ที่มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น