ชีวิตดีสังคมดี

"สวนปทุมวนานุรักษ์" เสร็จแต่เปิดไม่ได้ 5 ปี มหากาพย์ต่อสู้ไล่รื้อบ้านในสวน

"สวนปทุมวนานุรักษ์" เสร็จแต่เปิดไม่ได้ 5 ปี มหากาพย์ต่อสู้ไล่รื้อบ้านในสวน

20 ม.ค. 2566

"สวนปทุมวนานุรักษ์" ปอดใหญ่ใจกลางกรุง เสร็จนานแล้วแต่เปิดใช้งานไม่ได้ ย้อน 5 ปี มหากาพย์แห่งการต่อสู้ระหว่างคนและความเจริญของเมือง

"สวนปทุมวนานุรักษ์" สวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่อยู่ในจุดที่เป็นย่านการค้า การท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครหลายปีที่ผ่านหากใครเคยผ่านไปย่าน เซ็นทรัลเวิร์ด ประตูน้ำ ราชประสงค์ คงเคยสังเกตุเห็นพื้นที่ป่าสีเขียวขนาดใหญ่กลางกรุงที่สร้างเสร็จแล้วแต่ไม่ได้เปิดใช้งาน กลายเป็นสวนสาธารณที่ถูกปล่อยให้ไร้ประโยชน์มานานกว่า 5 ปี แต่รู้หรือไม่ว่าพื้นที่บริเวณนี้ก่อนจะมาเป็นสวนสาธารณะ และปอดแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโรงปูน มีบ้านมากกว่า 1,000 หลังคา ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 40 ไร่ ซึ่งเป็นที่ของสำนักงานทรัพสินย์พระมหากษัตริย์

 

 

ผลพวงการพัฒนาพื้นที่ในครั้งนั้น ส่งผลให้ชาวชุมชนโรงปูนที่เคยอยู่อาศัยมาหลาย 10 ปี ต้องทยอยย้ายออกไป เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ใจกลางกรุงให้กลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจแบบครบวงจร พร้อมกับสร้างพื้นที่สีเขียว ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนโรงปูนอย่างมาก

หลายคนเริ่มย้ายออกเพื่อให้เมืองหลวงได้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่ม แต่ที่ผ่านพบกว่ายังมีจำนวน 3 หลังที่ยังคงปักหลักอยู่ภายในสวนตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่รู้จะย้ายไปอยู่ไหนแต่ท้ายที่สุดทั้ง 3 หลังก็ยอมย้ายออกเพื่อให้สามารถเปิดใช้งานสวนสาธารณะได้ ซึ่งเรื่องราว ข้อพิพาท ต่างๆ เหล่านี้ ต่อสู้ยืนยันกันมายาวนานกว่า 5 ปี เลยทีเดียว  

 

 

1.สำหรับเส้นทางการต่อสู้ระหว่าง "สวนปทุมวนานุรักษ์" และ ชุมชนโรงปูนนั้นได้เริ่มตั้นขึ้น  ในปี 2558 สำนักงานทรัพสินย์พระมหากษัตริย์ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นสาธารณะ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใจกลางกรุง ส่วนดังกล่าวสร้างเสร็จเมื่อปี 2561 แต่ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ เนื่องจากยังมีบ้านจำนวน 3 หลังที่ยังไม่ได้ย้ายออกจากพื้นที่ โดยบ้านทั้ง 3 หลังได้ให้เหตุผลว่าไม่มีที่ไป 

 

ขอบคุณรูปภาพเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์

2.หลังจากที่บ้าน 3 หลังไม่ยอมย้ายออกไปจากพื้นที่ตามผู้อยู่อาศัยคนอื่น ๆ  ได้สร้างความสงสัยให้กับผู้ที่ผ่านไปมาอย่างมาก ว่าเพราะเหตุใดจึงไม่สามารถบังคับ หรือใช้อำนาจตามกฎหมายแจ้งให้ผู้อาศัยย้ายออกไป เพื่อเป็นการคืนพื้นที่สีเขียวให้กับคนกรุงเทพฯ บางคนสันนิษฐานว่าการยื้อเวลาเช่นนี้เพื่อรอรับเงินชดเชยจำนวนมหาศาลหรือไม่  

 

ขอบคุณรูปภาพเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์

 

3.เกิดข้อพิพาทระหวางบ้าน 3 หลังใน "สวนปทุมวนานุรักษ์" มานานกว่า 5 ปี และในปี 2565 ศาลมีคำสั่งให้ย้ายบ้านทั้ง 3 หลังออกจากพื้นที่เหมือนกับชาวบ้านกว่า 1,000 หลังคาเรือนที่ยอมย้ายไปก่อนหน้านี้ พร้อมค่าชดเชยเยียวยา แต่ไม่ว่าอย่างไรบ้านทั้ง 3 หลังก็ยังไม่ยอมย้ายออกจนถึงวันที่ 19 ม.ค 65 ที่ผ่านมาโลกโซเชียลมีการแชร์ภาพและข้อมูลว่า บ้านทั้ง 3 หลังยอมย้ายออกเป็นที่เรียบร้อย  เรียกได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดข้อพิพาท และกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่คนกรุงจะได้มีพื้นที่สีเขียวสำหรับฟอกปอดเพิ่มมากขึ้น 

 

ขอบคุณรูปภาพเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์

 

4. "สวนปทุมวนานุรักษ์" ได้รับพระราชทานนามจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทำการจัดสร้างโดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อสนองพระราชดำริของพระองค์ ในโครงการพัฒนาที่มุ่งเน้นความสมดุล ด้วยการจัดสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง ขนาดกว่า 40 ไร่ 

 

ขอบคุณรูปภาพเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์

 

5.รายละเอียดภายในสวน "สวนปทุมวนานุรักษ์" มีพื้นที่ที่เป็นสวนป่า พื้นที่บำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นการจำลองพื้นที่บำบัดตามธรรมชาติ  ลานอัฒจันทร์ สำหรับชมการแสดงริมน้ำ  ลานดิน เพื่อจัดนิทรรศการหมุนเวียน  ป่าของเมืองซึ่งเป็นทางเดินสู่อาคารที่แสดงเรื่องความสัมพันธ์ของต้นไม้และเมือง รวมถึงพื้นที่สำหรับให้ประชาชนได้เข้ามาพักผ่อน ออกกำลังกาย 

 

 

ขอบคุณรูปภาพเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์

 

ขอบคุณรูปภาพเพจ เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์