ชีวิตดีสังคมดี

ใกล้เปิดใช้งาน "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" แคราย-มีนบุรี ปัจจุบันคืบหน้าเกือบ 100 %

ใกล้เปิดใช้งาน "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" แคราย-มีนบุรี ปัจจุบันคืบหน้าเกือบ 100 %

23 ม.ค. 2566

ข่าวดีคนกรุงเทพฯ "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" แคราย-มีนบุรี คืบหน้าเกือบ 100% ปี 66 ได้ใช้บริการแน่นอน ทางเลือกใหม่แบ่งเบาภาระค่าเดินทาง

เรียกได้ว่าสิ้นสุดการรอคอยรถไฟฟ้ากันแล้วสำหรับชาวกรุงเทพฝั่งตะวันตกเชื่อมมายังฝั่งตะวันออก เพราะล่าสุด น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า โครงการ "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย - มีนบุรี ถือเป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญ โดยเป็นโครงการหนึ่งในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region: M-MAP)

 

 

เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ โมโนเรล (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี มีทั้งหมด 30 สถานี ประกอบด้วย

สำหรับรายละเอียดสถานี "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" มีดังนี้ 

 

1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 2. สถานีแคราย 3. สถานีสนามบินน้ำ 4. สถานีสามัคคี 5. สถานีกรมชลประทาน 6. สถานีแยกปากเกร็ด7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด 8. สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 9. สถานีเมืองทองธานี 10. สถานีศรีรัช 11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14 12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 13. สถานีทีโอที 14. สถานีหลักสี่ 15. สถานีราชภัฏพระนคร 16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ 17. สถานีรามอินทรา 3 18. สถานีลาดปลาเค้า 19. สถานีรามอินทรา กม.4 20. สถานีมัยลาภ 21. สถานีวัชรพล 22. สถานีรามอินทรา กม.6 23. สถานีคู้บอน 24. สถานีรามอินทรา 83 25. สถานีปัญญาอินทรา 26. สถานีนพรัตน์ 27. สถานีบางชัน 28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 29. สถานีตลาดมีนบุรี และ30. สถานีมีนบุรี
 

สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู

 

นอกจากจะเชื่อมคนกรุงเทพฯฝั่งนนทบุรีมายังฝั่งตะวันออกในย่านรามอินทรา มีนบุรีแล้ว "รถไฟฟ้าสายสีชมพู"  ยังมีจุดเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าสายสีอื่น ๆ ถึง 6 สาย ได้แก่ 1. รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 2. รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 3. รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่สถานีหลักสี่4. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่สถานวัดพระศรีมหาธาตุ5. รถไฟฟ้าสายสีเทา ที่สถานีวัชรพล6. รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่สถานีปลายทางอย่างสถานีมีนบุรี

 

ภาพจากทีมโฆษกรัฐบาล

 

มีการเชื่อมต่อเส้นทางสายแยก (อิมแพคลิงก์) ที่มีจุดบริการอีก 3 สถานี ดังนี้ 1. สถานีศรีรัช 2. สถานีอิมแพค ชาเลนเจอร์ 3. สถานีทะเลสาบ เมืองทองธานี

 

ภาพจากทีมโฆษกรัฐบาล

 

อย่างไรก็ตามโครงการ "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" แล้วเสร็จ จะกลายเป็นทางเลือกให้กับประชาชน แบ่งเบาภาระในการเดินทาง  ประหยัดเวลา แก้ไขปัญหาการจราจรหนาแน่น และกระจายความเจริญไปในพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางของรถไฟฟ้า ลดมลพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  

 

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่โครงการ "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" เพียงอย่างเดียว แต่ทางรัฐบาลยังได้เร่ง โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑลแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ยังเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พัฒนาประเทศให้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างยั่งยืนด้วย