ชีวิตดีสังคมดี

"ลิงก์เงินกู้" ตัวอันตราย เข้าถึงรายชื่อในมือถือ ก่อนไล่โทรหาลวงเป็นคนค้ำ

"ลิงก์เงินกู้" ตัวอันตราย เข้าถึงรายชื่อในมือถือ ก่อนไล่โทรหาลวงเป็นคนค้ำ

27 ม.ค. 2566

"ลิงก์เงินกู้" ตัวอันตรายดูดข้อมูลรายชื่อในโทรศัพท์ ก่อนไล่โทรหาลวงเป็นคนค้ำหวังได้เงินคืน สกมช.เสริมเกราะป้องกันไม่ให้ประชาชนติดกับดัก มิจฉาชีพ

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) กล่าวว่า  ปัจจุบันการหลอกให้ลงทุนหรือการหลอกให้คลิกลิงค์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว หรือการคลิก "ลิงก์เงินกู้" เงินจาก มิจฉาชีพ แพร่ระบาดในสังคมไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหน้าที่หลักของ สกมช. คือการควบคุมและป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของ มิจฉาชีพ ที่แอบแฝงตัวมาในรูปแบบต่าง ๆ 

 

 

โดยเฉพาะกรณีที่ถูกหลอกให้สูญเงินจากการกดเข้าไปในหรือลิงค์ ที่เราไม่รู้จัก จนส่งผลให้เกิดความเครียดและ ฆ่าตัวตายอย่างเช่นกรณีเด็กอายุ 15 ปี ที่เคยเป็นข่าวเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยกรณีนี้ สกมช. จะต้องร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจต้องร่วมมือกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ในการติดตามผู้กระทำความผิดมาลงโทษ 
 

พลอากาศตรี อมร กล่าวต่อว่า ส่วนการรับมือจาก ภัยไซเบอร์ ที่เป็น "ลิงก์เงินกู้" เพื่อให้คลิก สำหรับการกู้ยืมเงินหรือการคลิกเพื่อเข้าถึงการดาวน์โหลดแอปฯ บางประเภทโดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว รวมไปถึง "ลิงก์เงินกู้" ที่หากเผลอกดเข้าไปแล้วมิจฉาชีพจะสามารถเข้าไปในบัญชีรายชื่อในของโทรศัพท์ จากนั้นมิจฉาชีพจะทำรเก็บข้อมูล หากผู้กู้ยืมเงินผิดการชำระจะมีการไล่โทรไปตามคอนแทคลิสต์และแจ้งยังปลายสายว่าเป็นผู้ค้ำประกันเพื่อหวังจะได้เงินคืน จึงเป็นที่มาให้หลายครั้งโดนหลอกเอาเงินไปเพราะเกรงว่าจะเสียเครดิต หรือถูกข่มขู่ทั้งๆที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกู้เงิน  

 

พลอากาศตรี อมร ชมเชย

อย่างไรก็ตาม  "ลิงก์เงินกู้" เหล่านี้ถือ  เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามที่จำเป็นจะต้องย้ำเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวัง ดังนั้น สกมช. จำเป็นจะต้องเน้นการเข้าไปให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกหลอกจาก มิจฉาชีพ

 

แม้ว่าวิธีการดังกล่าวอาจจะไม่ได้เห็นผลโดยทันที แต่มั่นใจว่าหากประชาชนมีความรู้มากพอจะไม่ตกเป็นเหยื่อต่อไป ตัวอย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์ที่รัฐบาลมีการเข้มงวดและให้ความรู้ประชาชนอย่างจริงจัง รวมไไปถึงการให้หน่วยงานรัฐยกเลิกส่งข้อความใด ๆ ผ่านทาง SMS เพื่อปิดช่องว่างที่มิจฉาชีพใช้หลอกประชาชน 

 

ดังนั้นจำเป็นที่ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้คนมีสติมากยิ่งขึ้น สิ่งแรกที่ต้องถามเมื่อได้รับลิ้งค์คือลบทิ้งทันที หรือหากมีคอลเซ็นเตอร์โทรมาจะต้องไม่รับสายหรือหากเผลอรับสายก็ให้กดตัดสายทันที เพราะจากข้อมูลพบว่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อและโดนหลอกมากที่สุดคือคนที่คิดว่าจะไม่ถูกหลอกและเผลอคุยกับคอลเซ็นเตอร์เป็นเวลานานนาน