ชีวิตดีสังคมดี

'นพ.ฉันชาย' แนะลดเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพใช้ระบบ Co-pay ดูแลปชช.ใน 3 ระบบสุขภาพ

'นพ.ฉันชาย' แนะลดเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพใช้ระบบ Co-pay ดูแลปชช.ใน 3 ระบบสุขภาพ

24 ก.พ. 2566

'นพ.ฉันชาย' แนะสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนให้คนไทยต้องลดความเหลื่อมล้ำด้านระบบสาธารณสุขเสนอใช้ ร่วมจ่าย Co-pay ดูแลประชาชนในระบบ บัตรทอง ประกันสังคม ช้าราชการ

ความเหลื่อมล้ำในระบบดูแล สุขภาพ ของประเทศไทยถือว่าเป็นอุสรรคสำคัญที่จะส่งผลต่อการสร้างสุขภาพดีและยั่งยืนให้กับคนในชาติอย่างมาก และเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนระบบสุขภาวะที่ดีของคนไทย ฐานเศรษฐกิจได้จัดงานเสวนา THAN FORUM 2023  HEALTH AND WELLNESS SUSTAINABILITY  เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชนคนไทยให้มีความยั่งยืน ภายใต้การนำเทคโนโลยี นวัตกรรม รวมไปถึงการแก้ไข หรือปรับปรุงระบบริการทางการแพทย์และด้านสาธารณสุขของไทย ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

โดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การสร้างระบบสุขภาพและระบบสุขภาวะที่ยังยืนถือเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย เพราะการดูแลประชาชนในประเทศให้มีสุขภาวะที่ดีนั้น หมายรวมถึงการสร้างสุขภาวะทั้งทางกายและทางใจ จะทำอย่างไรให้ระยะการเจ็บป่วยของคนสั้นลง และมีชีวิตที่ยืนยาวบนพื้นฐานของสุขภาพดีช่วยเหลือตัวเองได้  รวมทั้งระบบการดูแลที่ตอบสนองสังคมที่กำลังเปลี่ยนไปโดยเฉพาะสังคมผู้สูงอายุ การสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นธรรมเท่าเทียมทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างไม่จำกัดสิทธิ

รศ.นพ.ฉันชาย  กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน การสร้างระบบสุขภาวะที่ดีที่จะช่วยให้ประชาชนดูอยู่ได้นานและอยู่ได้อย่างดี โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ที่จะต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้และไม่เป็นภาระของผู้อื่น ประเด็นดังกล่าว ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องแรงขับเคลื่อน

 

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์

 

นอกเหนือไปจากการสร้างสุขภาวะที่ดีแล้วระบบการรักษาจะต้องมีความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน โดยปัจจุบัน ระบบบริการสุขภาพในประเทศไทยมีด้วยกันทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 (ระบบบัตรทอง)  พ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 (ระบบประกันสังคม)  และพ.ร.บ.สิทธิรักษาพยาบาลของช้าราชการ 2523 (ระบบราชการ)  จากข้อมูลพบว่าปัจจุบันประชาชนใช้บริการระบบบัตรทองมากถึง 48 ล้านคน ระบบประกันสังคม 11 ล้านคน และ ข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ประมาณ 5.7 ล้านคน

 

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์

 

ดูเหมือนการระบบการรักษาทั้ง 3 ระบบจะเกิด ความเหลื่อมล้ำ กันมากพอสมควร โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ระบบบัตรทอง เป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนมากระบบการดูแลรักษาจึงดป็นไปอย่างล่าช้า หากเทียบกับระบบอื่น ๆ

 

เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว รศ.นพ. ฉันชาย เสนอแนวทางที่จะทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบสุขภาพและระบบสุขภาพวะที่ดีและยั่งยืนไว้อย่างน่าสนใจ ว่า เบื้องต้นจะต้องมีการปรับปรุงระบบสุขภาพที่มีอยู่ทั้ง 3 ระบบ โดยการหันมาใช้วิธีการร่วมจ่าย (Co-pay ) โดยเป็นการนำ โดยเป็นการนำเอาประมาณทั้ง 3 ระบบกองทุนมาแชร์กันเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียม  โดยรัฐจะต้องมองว่าการสร้างสุขภาพที่ดีของประชาชนคือการลงทุนไม่ใช่ค่าใช้จ่าย เพราะหากประชาชนในประเทศมีสุขภาพที่ดีจะทำให้เพราะหากประชาชนในประเทศมีสุขภาพที่ดีจะทำให้เกิดความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

 

 

นอกจากนี้การพัฒนาการดูแลในระบบสุขภาพในขั้นปฐมภูมิ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ประเทศไทยจะต้องเพิ่มศักยภาพ เพราะการดูแลประชาชนที่เจ็บป่วยด้วยหน่วยดูแลพื้นฐานก่อน เพื่อที่จะลดจำนวนประชาชนที่จะเดินทางมาพบแพทย์ สิ่งสำสิ่งสำคัญคือจะต้องเพิ่มขีดความสามารถให้กับ Primary care ให้ช่วยดูแลประชาขนในเบื้องต้นได้

 

 

อย่างไรก็ตาม รศ.นพ.ฉันชาย ได้นำเสนอ แนวคิด Health spam and life spam หรือการอยู่อย่างมีสุขภาพดีและยาวนาน ควรจะเป็นนโยบายหลักที่จะเข้ามาพัฒนาสุขภาวะของคนในชาติ โดยที่ผ่านมาพบว่าประชากรชาย มีอายุสั้นมากกว่าประชากรหญิง และคนเรามีช่วงที่อยู่อย่างทรมานก่อนเสียชีวิตประมาณ 5 ปี ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ช่วงทรมาน เป็นช่วงทรมานที่ดีที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานผ่านระบบสุขภาพของประเทศไทยจึงมีส่วนจำเป็นซึ่งแน่นอนว่าการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานผ่านระบบสุขภาพของประเทศไทยจึงมีส่วนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการยกระดับ