ชีวิตดีสังคมดี

ป่วยหลังสงกรานต์ 'บัตรทองรักษาโควิด​'​ อัพเดท! แนวปฏิบัติได้ที่นี่​

ป่วยหลังสงกรานต์ 'บัตรทองรักษาโควิด​'​ อัพเดท! แนวปฏิบัติได้ที่นี่​

19 เม.ย. 2566

หลังสงกรานต์ปีนี้​ "โควิด" พุ่ง! อัพเดท "บัตรทองรักษาโควิด​"​ ปรับให้รักษาตามสิทธิ ​เบื้องต้นเน้นดูแลตัวเอง ถ้าอาการหนักต้องรักษาในโรงพยาบาล เปิดแนวปฏิบัติ​ 4​ ขั้นตอนล่าสุด

"โควิด"ปรับสู่โรคประจำถิ่น​ตั้งแต่กลางปี​ 2565​ "บัตรทองรักษาโควิด" จึงต้องปรับตามไปด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงมีมติปรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลโควิด​ให้ประชาชนรักษาตามสิทธิสุขภาพ​ และสิ้นสุดการจ่ายค่ารักษาพยาบาลโควิด​ โรงพยาบาลนอกระบบ "บัตรทอง" ตั้งแต่เดือนก.ค.​ ปี​ 2565​ การรักษาตามสิทธิบัตรทองมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรบ้าง​ วันนี้​ "คม​ ชัด​ ลึก" ได้รวบรวมมาไว้ที่นี่​

บรรยากาศเล่นน้ำสงกรานต์ที่ถนนข้าวสาร กรุงเทพฯ ปี 2566

 

 

 

  • 4​ แนวปฏิบัติหลังสงสัยตัวเองมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อโควิด​

 

ก่อนอื่นต้องรีบตรวจ​ Antigen Test Kit (ATK) ที่หน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่​ โดยผู้ประกอบการวิชาชีพทางการแพทย์​ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)​  หากผลตรวจขึ้น​ 1​ ขีด​ ให้ปฏิบัตตา​มหลัก​ DMH  คือ​ Distancing (อยู่ห่างไว้) Mask wearing (ใส่มาส์กกัน) Hand washing (หมั่นล้างมือ)

กรณีใช้สิทธิ "บัตรทองรักษาโควิด" ผลตรวจขึ้น​ 2​ ขีด​ แต่อาการเล็กน้อย​ (สีเขียว) เข้ารับบริการ ดังนี้ 1. ร้านยาคุณภาพของฉันให้บริการเจ็บป่วยเล็กน้อย ขั้นตอนการรับบริการ ให้ญาติผู้ป่วยเดินทางไปที่ร้านยาที่เข้าร่วม พร้อมกับบัตรประชาชนตัวจริงของผู้ป่วย เพื่อใช้ยืนยันการรับบริการ จากนั้นเภสัชกรประจำร้านยาจะวีดีโอคอลกับผู้ป่วยเพื่อซักถามอาการ

 

 

 

 

"บัตรทองรักษาโควิด" ในกรณีที่มีการจ่ายยา เภสัชกรจะแนะนำวิธีการใช้ยาด้วย พร้อมกับจ่ายยาโดยให้ญาตินำกลับไปให้ผู้ป่วย ซึ่งในระหว่างนี้ทางร้านยาจะมีการถ่ายภาพการบริการและจ่ายยาเพื่อนำบันทึกในโปรแกรม Amed ใช้เป็นหลักฐานการให้บริการจริง และหลังจากให้บริการ 3 วัน เภสัชกรจะติดตามอาการผู้ป่วยเพิ่มเติม ตรวจสอบรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ที่ https://www.nhso.go.th/downloads/197

 

 

 

 

2. พบแพทย์ออนไลน์ ส่งยาฟรีถึงบ้านผ่าน 4 แอปพลิเคชัน โดยผู้ป่วย "บัตรทองรักษาโควิด" จะได้รับการซักถามและจ่ายยาตามอาการ (หากอาการเข้าเกณฑ์จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ หรือยาโมลนูพิราเวียร์ตามดุลยพินิจของแพทย์) ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถเลือกรับบริการผ่าน 4 แอปพลิเคชันสุขภาพ ดังนี้​ ​2.1 Totale Telemed (โททอลเล่ เทเลเมด) โดย บริษัท โททอลเล่เทเลเมด รับผู้ป่วยโควิด​ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ กลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์) สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @totale https://lin.ee/a1lHjXZn หรือสายด่วน 0620462944, 0618019577

 

2.2 แอปพลิเคชัน Clicknic (คลินิก) ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด
https://forms.gle/hfo2Wr9jdvybn8d57 รับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวและสีเหลือง รวมถึงกลุ่ม 608 ทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @clicknic

 

2.3 แอปพลิเคชัน MorDee (หมอดี) ให้บริการโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด
https://form.typeform.com/to/cNKqNz3p รับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวเฉพาะพื้นที่ กทม. (ไม่รับกลุ่ม 608) สอบถามเพิ่มเติม Line ID : @mordeeapp

 

2.4 แอปพลิเคชัน Saluber MD (ซาลูเบอร์ เอ็มดี) โดย บริษัท ซาลูเบอร์เอ็มดี จำกัด
www.telemed.salubermdthai.com รับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว เฉพาะพื้นที่ กทม.  (ไม่รับกลุ่ม 608) สอบถามเพิ่มเติม ไลน์ไอดี : @Sooksabaiclinic

 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

 

3. "บัตรทองรักษาโควิด" ในกรณีผู้ป่วย "โควิด" ที่มีภาวะเสี่ยงรุนแรง เป็นกลุ่ม 608 หรือมีโรคร่วม และมีอาการรุนแรงขึ้น (สีเหลือง) ได้แก่ 1. วัดไข้ได้ 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมงใน 1 วัน 2.วัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94% 3. มีภาวะแทรกซ้อนหรือการกำเริบของโรคประจำตัว 4. มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง  5. มีภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และ 6. ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการซึม กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำจากอุจจาระร่วงหรือชักจากไข้สูง เป็นต้น ให้เข้ารับบริการที่หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ หรือหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข (พื้นที่ กทม.) คลินิกชุมชนอบอุ่น สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพชุมชน

 

 

 

 

 

4.​ "บัตรทองรักษาโควิด" ในกรณีผู้ป่วย "โควิด"​ (สีแดง)​ มีอาการรุนแรง ได้แก่ หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช๊อก/โคม่า ซึมลง ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94 ต้องรีบรักษาโดยเร็ว เข้ารับบริการที่หน่วยบริการได้ทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดเพื่อรักษาทันท่วงที โดยใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP)

 

 

 


 

ตัวเลขการใช้จ่ายในช่วงรับมือ "โควิด"​ การรักษานอกระบบ "บัตรทอง​" ระหว่างปี 2563-2565 รวมทั้งสิ้น 444,294 ล้านบาท​ แยกเป็นค่าบริการสุขภาพ​ เช่น ค่าตรวจคัดกรอง ค่ารักษาพยาบาล ค่าฉีดวัคซีน เป็นต้น ในสัดส่วนมากที่สุดประมาณ 260,174 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามด้วยการจัดซื้อและบริหารจัดการวัคซีน รวม 77,987 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17 และค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัยสำหรับบุคลลากรทางการแพทย์และ "สาธารณสุข" รวมถึงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง 57,499 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 ส่วนที่เหลือเป็นค่ายาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์