ชีวิตดีสังคมดี

'รถเมล์ไฟฟ้า' ตัวช่วยอากาศบริสุทธิ์ 100% เทียบชัดๆ สัดส่วนปล่อยคาร์บอน

'รถเมล์ไฟฟ้า' ตัวช่วยอากาศบริสุทธิ์ 100% เทียบชัดๆ สัดส่วนปล่อยคาร์บอน

19 เม.ย. 2566

'รถเมล์ไฟฟ้า' ความหวังใหม่ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้นแบบ 100% อีก 7 ปีเป็นไปได้แน่หลัง สภากทม. ผ่านร่าง รถเมล์อนาคต เทียบชัด ๆ สัดส่วนปล่อยคาร์บอนของรถเมล์แต่ละประเภท

สภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลาย ๆ ประเทศมีความพยายามที่จะช่วยกันลดอุณหภูมิของโลก เพื่อให้ภาวะโลกร้อนย้อนกลับทำลายชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงการก่อให้เกิดภัยทางธรรมชาติที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่จะเปลี่ยนให้โลกเย็นลงได้นั้นทางเดียวคือการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ สังคมคาร์บอนต่ำ โดยหันมาใช้ พลังงานสะอาด แทนพลังงานถ่านทั้งหมด อย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ต้องเริ่มทำทันทีแบบไม่มีการประวิงเวลาเหมือนที่ผ่านมา 

 

 

การเปลี่ยนผ่านการใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล มาเป็น รถไฟฟ้า ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่หลายประเทศเริ่มทำกันไปแล้ว เพราะสามารถทำได้ และลดอัตราการปล่อยคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเห็นผล ประเทศไทยก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังพยายามสร้าง สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการทรานฟอร์ม หรือเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด โดยเฉพาะรถขนส่งสาธารณะในเมืองหลวงที่พบว่ามีอัตราการปล่อยไปเสีย หรือ คาร์บอนออกมาในชั้นบรรยากาศมากกว่า 60%

แม้ว่าจะมีนโยบายออกมาขับเคลื่อนให้คนในประเทศ หันมาใช้ "รถยนต์ไฟฟ้า" หรือ ระบบขนส่งสาธารณะ ทดแทนการนำรถส่วนตัวออกมาขับ แต่ดูเหมือนระบบต่าง ๆ รวมไปถึงตัวกฎหมายยังไม่ได้ครอบคลุม และเอื้อให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจที่ ลด ละ การทิ้งรถส่วนตัว แล้วกันมาให้รถสาธารณะ จนกระทั้งในช่วงกลางเดือนเม.ย. สภาพกรุงเทพมหานครได้ผ่าน ร่างกฎหมาย รถเมล์อนาคต หรือ "รถยนต์ไฟฟ้า" ของ ส.ก.จากพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นร่างข้อบัญญัติแรกในรอบ 22 ปี เพื่อเป็นความหวังให้คนกรุงเทพได้มีอากาศที่บริสุทธิ์ขึ้นภยใน 7 ปี หลังจากที่สัญญาสัมปทานเดิมสิ้นสุดลง และนับจากวันนั้นจะมีแค่ รถเมล์ไฟฟ้า เท่าที่ที่วิ่งในบริการในพื้นที่กรุงเทพฯ  

 

รถเมล์ไฟฟ้า

  • ความคุ้มค่าต้นทุนเชื้อเพลิงระหว่างรถเมล์ดีเซล และ "รถเมล์ไฟฟ้า"

 

จากการประเมินความคุ้มค่าโดยการใช้ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (Total cost of ownership:TCO) ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินความคุ้มค่าในการเปลี่ยนผ่านสู่รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า หรือ "รถเมล์ไฟฟ้า"  โดยการวิเคราะห์จาก TCO ระบุว่า จากการให้บริการ  "รถเมล์ไฟฟ้า" ในกรุงเซาเปาโล  ประเทศบราซิล ชี้ให้เห็นว่า "รถเมล์ไฟฟ้า" มีค่า TCO ต่อกิโลเมตรต่ำกว่ารถเมลโดยทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องของต้นทุนเชื้อเพลิง หากวิ่งในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่น รวมทั้งการวิ่งทางไกล ส่วนในประเทศไทยไทยนั้นการศึกษา TCO ยังอยู่ในวงจำกัด โดยที่ผ่านมามีเอกชนซึ่งเป็นเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้าเท่านั้นที่ทำการศึกษาความคุ้มค่า และความเหมาะสมที่จะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ  

 

โดยมีเปรียบเทียนอัตราการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศจาก รถเมล์ดีเซล พบว่า มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจากโดยเฉพาะ คาร์บอนไดออกไซด์ และก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  ส่วน รถเมล์ไฟฟ้า จากผลการศึกษาพบว่า สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้เฉลี่ย 1.5 ตัน/ปี และยังสามารถลดมลภาวะทางเสียง หากเมื่อเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า แม้การผลิตรถไฟฟ้า จะใช้พลังงานมาก โดยเฉพาะการผลิตแบตเตอรี่ แต่ก็ยังคงเป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเมื่อพิจารณาถึงปริมาณการปล่อยมลพิษที่ลดลงตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ทั่วไป

 

รถเมล์ไฟฟ้า

 

 

  • เทียบสัดส่วนปล่อยคาร์บอน อนาคตสดใสคนไทยมีอากาศบริสุทธิหายใจ

 

ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีรถเมล์วิ่งให้บริการทั้งหมดราว ๆ 10,000 คัน  โดยแบ่งเป็น รถเมล์ดีเซล 7,000 คัน รถเมล์ CNG 5,000 คัน และ "รถเมล์ไฟฟ้า" 2,500 คัน  หากลองเปรียบเทียบอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ใน รถเมล์แต่ละชนิด จะพบว่า รถเมล์ดีเซลปล่อยคาร์บอนราว ๆ 0.27กรัม/กิโลเมตร รถโดยสาร  NGV ปล่อยคาร์บอนประมาณ 1.59 กรัม/กิโลเมตร  รถเมล์ไฟฟ้าปล่อยคาร์บอน 0.00 กรัม/กิโลเมตร หรือไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเลย 
หากในอนาคตสามารถเปลี่ยนมาใช้ "รถเมล์ไฟฟ้า" ได้แบบ 100%  จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้มากถึง 100 ตันคาร์บอน/คัน/ปี  หรือประมาณ 500,000 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ 

 

 

หากลองพิจารณาตัวเลขจะเห็นได้ว่าหากประเทศต้องการที่จะเดินทางเข้าสู่ประเทศคาร์บอนต่ำการเปลี่ยนมาใช้  "รถเมล์ไฟฟ้า" แบบ 100% ถือว่าเป็นการเดินทางมาถูกทางแล้ว  อีกทั้งการใช้ รถเมล์ไฟฟ้ายังส่งเสริมให้ประชาชนได้เดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะที่มีความทันสมัยปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษต่ำ การลดฝุ่น PM2.5 เปลี่ยนจากพลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานสะอาด เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของประชาชน ซึ่งช่วยให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมคุณภาพ ชีวิตและสุขภาพของประชาชนดีขึ้น

 

อ้างอิง: https://www.econ.tu.ac.th