ชีวิตดีสังคมดี

สาเหตุทำ 'ค่าไฟฟ้า' แพง คนไทยยังมีหวังอีก 2 ปีคาดถูกลง แจงยิบปรับสูตรคำนวณ

สาเหตุทำ 'ค่าไฟฟ้า' แพง คนไทยยังมีหวังอีก 2 ปีคาดถูกลง แจงยิบปรับสูตรคำนวณ

25 เม.ย. 2566

สาเหตุที่แท้จริงทำ 'ค่าไฟฟ้า' ค่า Ft พุ่งสูง ต้องแบกต้นทุนตั้งแต่หน้าโรงผลติตซ้ำก๊าซไม่เพียงพอ อีก 2 ปีมีหวังได้ใช้ถูกลง แจงละเอียดปรับสูตรคำนวณค่าไฟ

กลายเป็นเรื่องที่กระทบชีวิต และค่าใช้ของประชาชนที่ต้องมาแบกรับ "ค่าไฟฟ้า" ที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft ที่ปัจจุบันประชาชนจะต้องแบกค่าอยู่ที่ประมาณ  4.72 บาท/หน่วย ทำให้ "ค่าไฟฟ้า" กระโดดสูงมากขึ้น ประชาชนจะต้องทนแบกรับค่า Ft ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระหว่างเดือนพ.ค.-ส.ค.66 

 

 

 

จากปัญหา "ค่าไฟฟ้า" ที่สูงขึ้นแบบที่ประชาชนไม่คาดคิดมาก่อน ส่งผลให้หลายคนเปิดข้อสงสัยและหาต้นสายปลายเหตุที่ "ค่าไฟฟ้า" สูงมากขึ้น อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)  ให้ข้อมูล กับ คมชัดลึก ถึงกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้าแต่ละรูปแบบ รวมไปถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ "ค่าไฟฟ้า" ของประเทศไทยสูงมากขึ้น 
 

  • ต้นทุนที่ต้องแบกตั้งแต่ยังไม่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า  

 

แหล่งข่าวจาก กกพ. กล่าวว่า สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้า จัดซื้อ ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีการแบ่งประเภทโรงไฟฟ้าสำหรับภาาครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการจ่ายไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยหลัก ๆ ประเภทโรงไฟฟ้าแบบ IPP หรือ ไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer : IPP) หรือผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ จะถูกควบคุมโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ทั้งหมด โดยมีเงื่อนไขในการรับซื้อไฟฟ้าที่ กฟผ. จะต้องรับค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2 ส่วนคือ

 

1.ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไม่ว่าจะมีการสั่งเดินเครื่องจากผู้ผลิตหรือไม่ 
2.ค่าสั่งให้โรงผลิตไฟฟ้าส่งไฟฟ้าเข้าระบบการจ่ายไฟ โดยค่าดังกล่าวจะผันแปรตามค่าเชื้อเพลิง 

 

นอกจากนี้โรงผลิตไฟฟ้ารูปแบบ IPP จะต้องมีความพร้อมในการจ่ายไฟฟ้าตลอดเวลาทั้งในภาวะปกติ และภาวะที่เร่งด่วน โดยกำหนดว่าโรงไฟฟ้าในรูปแบบ IPP ต้องผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 600-1,000 เมกะวัตต์  จึงส่งผลให้ กฟผ.ต้องจ่ายเงินให้แก่โรงพลิตไฟฟ้าที่รับสัญญาสัมปทาน

 

ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP ซึ่งเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ระบบการผลิตพลังงานความร้อน และไฟฟ้าร่วมกัน แต่ละโครงการ จะจำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ เพื่อเป็นการจ่ายไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น 

 

นอกจากนี้ยังมีโรงไฟฟ้าประเภทหมุนเวียนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ  8 เมกะวัตต์ การซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนจะมีราคาค่อนข้างแพง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ใช่ทางเลือกหลักของระบบการผลิตไฟฟ้า 

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

 

  • ราคาต้นทุน "ค่าไฟฟ้า" ที่ต้องจ่ายกว่าจะถึงมือประชาชน 

 

แหล่งข่าวจาก กกพ. อธิบายเพิ่มเติมถึงปัจจัยบางส่วนที่ทำให้ประชาชนจ่าย "ค่าไฟฟ้า" แพงขึ้น ว่า ในขั้นตอนการส่งไฟฟ้าของ กฟผ.ไปยัง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีการคิดต้นทุนไฟฟ้าตั้งแต่หน้าโรงงานผลิตไฟฟ้า ค่าสายส่ง สายจำหน่าย จากนั้นไฟฟ้าที่จ่ายไปจะตกเป็นไฟสาธารณรวม ๆ 10% ส่วนที่เหลือจึงส่งไปยังประชาชนประมาณ 90% นอกจากนี้ ยังมีค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าที่จะต้องจ่ายทันที ซึ่งมีค่าฐานไฟฟ้าในปี 2558 อยู่ที่ .67 สตางค์/หน่วย แต่ปัจจุบันอยู่ที่ .76 สตางค์/หน่วยจึงส่งผลให้ค่า Ft สูงขึ้นตามไปด้วยซึ่งปัจจุบันเราจะต้องจ่าย ค่าFt อยู่ประมาณ 4.70 สตางค์/หน่วย และมีแนวโน้มที่จะพิ่มขึ้นประมาณ 9 สตางค์/หน่วย 

 

 

  • ก๊าซธรรมชาติขาดแคลนสาหตุที่แท้จริงทำ ค่าFt พุ่งไม่หยุด  

 

ปัจจัยด้านเชื้อเพลิงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีผลทำให้ "ค่าไฟฟ้า" แพงมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในกรณีที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตก๊าชจากะรรมชาติได้เพียงพอต่อการใช้งาน ท้ายที่สุดจะต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อ LNG มาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาที่สูงมากส่งผลกระทยไปถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้า

 

สำหรับกรณีดังกล่าวแหล่งข่าวจาก กกพ.ชี้แจงว่า ปัจจุบันโรงผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยใช้แก๊ชธรรมชาติในระบบการผลิตมากถึง 70%  โดยปกติจะสามารถขุดได้บริเวณอ่าวไทยราว ๆ 60-70%  แต่ในช่วงเปลี่ยนตัวผู้รับสัมปทานประมาณปี 2564-2565 ส่งผลให้กำลังการขุดก๊าซลดลงอย่างต่อเนื่องโดยปัจุจบันผู้รับสัมปทานเจ้าใหม่ได้เริ่มเข้าขุดก๊าซไปแล้วตั้งแต่มี.ค. 65 ปัจจุบันสามารถขุดได้ประมาณ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และมีการคำนวนว่าประมาณเดือน มิ.ย.2566 จะสามารถขุดเพิ่มได้เป็น 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และปลายปี 2566 จะสามารถขุดได้เพิ่มเป็น 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  และในช่วกลางปี 2567 จึงจะสามารถขุดได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอสำหรับให้ในระบบโรงผลิตไฟฟ้า ดังนั้นหากไม่ต้องซื้อ LNG แล้วคาดการณ์ว่าจะสามารถลด ค่า Ft และทำให้ "ค่าไฟฟ้า" ในประเทศไทยถูกลงได้ภายในระยะเวลา 2 ปี 

 

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

 

  • แจ้งปรับสูตรค่าก๊าซเหลวธรรมชาติ หรือ LNG ไม่สามารถทำได้ 

 

แหล่งข่าวจาก กกพ. ชี้แจงถึงแนวทางการปรับสูตรคำนวนค่าก๊าซ LNG ว่า จากค่าเฉลี่ยราคานำเข้า 20 ดอลลาร์(ประมาณ 686 บาท)ต่อล้านบีทียู ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยเดือน ม.ค. 66 ให้เปลี่ยนมาใช้ราคาตลาดปัจจุบันเฉลี่ยต่ำกว่า 13 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียูมาคำนวณแทน จะทำให้ค่าไฟลดลงอีก 9% หรือปรับลดลงจาก 4.77 บาท เป็น 4.34 บาท ทั้งนี้การคำนวนค่า LNG แต่ละครั้ง จะมีการคาดการณ์ราคาล่วงหน้า มีสูตรที่ชัดเจน เพราะช่วงปลายปี ราคา LNG จะแพงขึ้นอีก  ทั้งนี้กกพ.ถึงต้องประมาณการณ์ทุก 4 เดือน เพื่อไม่ให้ราคากระโดดมาก

 

 

ดูเหมือน "ค่าไฟฟ้า" ที่ประชาชนต้องแบกรับขณะนี้ หน่วยงานที่กำกับดูแลคงทำได้แค่ยื้อเวลาตรึงค่า Ft ลงไปเรื่อย ๆ และอาจจะต้องรอนานกว่า 2 ปี จนกว่าจะสามารถขุดก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยได้เต็มกำลัง ซึ่งหากวันนั้นประชาชนคนไทยก็คงมีโอกาสที่จะได้กลับไปใช้ไฟฟ้าในราคาที่ถูกลงมากกว่านี้ได้ 
 

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น