ชีวิตดีสังคมดี

'พื้นที่การเรียนรู้' พื้นที่ที่พาคนไทยไปท่องโลกที่ใหญ่ขึ้นแบบไร้พรมแดน

'พื้นที่การเรียนรู้' พื้นที่ที่พาคนไทยไปท่องโลกที่ใหญ่ขึ้นแบบไร้พรมแดน

03 พ.ค. 2566

'พื้นที่การเรียนรู้' พื้นที่ที่จะพาคนไทยไปท่องโลกที่ใหญ่ขึ้น Learning Space ที่ดีต้องเข้าถึงง่าย เข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย คนไทยมีเวลาเช้าไปใช้งาน

นับจากนี้การเรียนรู้จะไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน หรือในหนังสือเรียนอีกต่อไป เพราะปัจจุบัน "พื้นที่การเรียนรู้" กำลังจะกลายเป็นส่วนสำคัญ และถูกพูดถึงมากขึ้นในยุคที่การเรียนสามารถเกิดขึ้นรอบตัวแบบไม่มีกำแพงมากั้น แม้ว่าในประเทศไทยอาจจะยังไม่มีภาพพื้นที่การเรียนรู้ฉายขึ้นมาให้เห็นแบบชัดเจน หรือเป็นรูปธรรมมากนัก แม้ว่าจะมีก็ยังเป็นพื้นที่ที่ต้องจ่ายเงินเข้าไป ซึ่งนั้นก็ยิ่งทำให้โอกาสการเข้าใกล้พื้นที่การเรียนรู้ไกลออกไปอีก

 

 

หากถามว่า "พื้นที่การเรียนรู้" สำคัญกับการต่อยอดความรู้มากแค่ไหน ในเมื่อเรายังมีห้องสมุด หรือการเรียนรู้ในห้องเรียนอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้วการเรียนรู้ไม่ควรถูกจำกัดแค่ในห้องเรียน หรือในหนังสือเรียนเท่านั้น เพราะคนเราสามารถสร้างกระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อเติมเต็มตัวเองได้ตลอดเวลาทั้งแต่วัยเรียน จนถึงวัยทำงาน และวัยสูงอายุ ดังนั้นคำว่า "พื้นที่การเรียนรู้" จึงมีความสำคัญในการเติมเต็มความรู้ให้แก่สังคมไทยค่อนข้าง

  • หน้าตา "พื้นที่การเรียนรู้" ที่ควรจะเป็น เป็นอย่างไร

น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ อดีตกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ หรือ ครูจุ๊ยส์ ได้อธิบายถึงความสำคัญ คำนิยาม ความหมาย และความจำเป็นที่ประเทศไทยควรจะมีการเพิ่มสัดส่วน "พื้นที่การเรียนรู้" ให้มากขึ้น ว่า  พื้นที่การเรียนรู้ คือ พื้นที่สาธารณะไม่ว่าจะเป็นเมือง ห้อง สมุด พิพิธภัณฑ์ สถานที่ที่รัฐจัดให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประชาชนได้เกิดการเรียนรู้ตลอดทุกช่วงวัย เป็นพื้นที่ที่ไม่มีความเป็นทางการ เข้าถึงง่าย เข้าได้ทุกเวลา นอกจากนี้ยังมี "พื้นที่การเรียนรู้" ที่มีโครงสร้างทางกายภาพขึ้นมาอีกนิด คือ ห้องสมุด ทั้งนี้ในประเทศไทยมีห้องสมุดอยู่ไม่น้อยแต่และประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาเรื่องการขนาดแคลนห้องสมุด แต่ปัจจุบันเราพบว่า ห้องสมุดไม่ได้ถูกทำให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ แต่กลับเป็นพื้นที่ที่เอาไว้เก็บสมุดเก่า ๆ หนังสืองานศพ  การใช้งานก็ไม่ได้สะดวกมากพอ เพราะส่วนใหญ่ห้องสมุดมักจะเปิด-ปิดในเวลาราชการเท่านั้น

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

ดังนั้นในอนาคตจะต้องพัฒนาให้กลายเป็น "พื้นที่การเรียนรู้" ให้ประชาชนสามารถเข้าไปเพิ่มทักษะได้ อย่างเช่นในประเทศฟินแลนด์ ที่ห้องสมุดกลายเป็น พื้นที่การเรียนรู้ที่กว้างขวางครบวงจร ซึ่งมีคอร์สเรียนระยะสั้น คอร์สเรียนวาดภาพที่ไม่ต้องเรียนในมหาวิทยาลัยคอร์สภาษา เป็นพื้นที่ที่ให้คนเข้ามาเติมทักษะการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ให้ใช้งานอย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนได้ออกไปท่องโลกที่ใหญ่ขึ้นและกว้างขึ้น

 

 

ครูจุ๊ยส์ อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ไม่ใช่แค่ห้องสมุดเท่านั้นที่แปลงร่างกายเป็น "พื้นที่การเรียนรู้" ได้ พิพิธภัณฑ์ก็สามารถเป็นพื้นที่การเรียนให้กับประชาชนได้เช่นกัน และพิพิธภัณฑ์ที่ดีจะสามารถตอบโจทย์ประชาชนได้ว่า เราคือใคร ดังนั้นการสร้างให้พิพิธภัณฑ์เป็นมากกว่าพื้นที่แสดงผลงานจึงมีความสำคัญอย่างมาก และพิพิธภัณฑ์ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การเรียนรู้ของปัจจุบันได้ เพราะพื้นที่เหล่านี้จะเป็นพื้นที่ต่อยอดจากการเรียนในห้องเรียน  และสามารถบอกเราได้พื้นที่รอบตัวเราเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นพิพิธภัณฑ์จะต้องเป็นรูปแบบการบอกประวัตศาสตร์ วัฒนธรรม ต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยไม่ได้มีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างจริงจัง พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยไม่ได้มีการกระจายตัวไปยังพื้นที่อื่น ๆ แต่มีแค่อยู่ในส่วนกลางหรือพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น

 

 

  • "พื้นที่การเรียนรู้" ตอบโจทย์ชีวิต ตัวช่วยให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก

ครูจุ๊ยส์ อธิบายถึงกระบวนการสร้าง "พื้นที่การเรียนรู้" ว่า  การพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ส่วนสำคัญคือพื้นที่จะต้องมีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิตมากขึ้น  มีแล้วจะต้องใช้ได้จริง ดังนั้นพื้นที่การเรียนรู้ในประเทศไทยอาจจะไม่จำเป็นจะต้องสร้างใหม่ แต่สามารถปรับปรุงห้องสมุดให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ รวมไปถึงสวนสาธารณะ ให้ดีและตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของคนทุกเพศทุกวัย รวมทั้งตอบโจทย์ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนจริง ๆ

 

กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ

 

แม้ว่าพื้นที่การเรียนรู้จะมีความสำคัญ และมีบทบาทอย่างมากต่อการเปิดโลกทัศน์ของประชากร แต่เรากลับพบว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะการขาดกลไกการเชื่อมโยง ระหว่างหน่วยงาน เพราะแน่นอนว่าหากพูดการสร้างหรือพัฒนา พื้นที่การเรียนรู้ มักจะมีเรื่องของงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ดังนั้นกว่าจะกลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้ดี ๆ สักแห่งต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก

 

 

วันนี้โจทย์ท้าทายของการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในประเทศไทยคือ มีแล้วจะทำอย่างไรให้คนไทยได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างแท้จริง โดย ครูจุ๊ยส์ ชี้ให้เห็นว่า หากมีพื้นที่การเรียนรู้แต่ผู้คนไม่มีเวลาเข้าไปใช้งาน พื้นที่การเรียนรู้ก็เปล่าประโยชน์ ดังนั้นคงต้องย้อนกลับไปที่เรื่องรัฐสวัสดิการที่จะต้องดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องทำงานล่วงเวลา  เพราะหากเราไม่ต้องทุ่มเทเวลาไปกับการทำงาน คนไม่ต้องเครียดก็จะทำให้เรามีเวลาเหลือพอที่จะเติมความรู้ และใช้งานพื้นที่การเรียนรู้ที่รัฐสร้างขึ้น แต่หากรัฐสวัสดิการยังไม่ดีพอคนยังต้องทำงานแบบควง 3 กะ  ท้ายที่สุดประชาชนก็จะไม่มีเวลาไปใช้เลย

 

 

"การเรียนในห้องเรียน และเรียนรู้ในพื้นที่การเรียนรู้ จริงๆ มีความสำคัญทั้งสองอย่าง เพราะทั้งพื้นที่การเรียนรู้ และการเรียนในห้องเรียนทั้งสองต่างส่งเสริมกันและกัน หากเรามีพื้นที่การเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้กระบวนการเรียนรู้ของเราเปลี่ยนแปลง  คนสามารถปลี่ยนทักษะตัวเองให้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้น" ครูจุ๊ยส์ กล่าวสรุป

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

 

  • ฟินแลนด์  ต้นแบบการเรียนรู้แบบไม่จบไม่สิ้น

นอกจากนี้ ครูจุ๊ยส์  ยังได้ยกตัวอย่าง "พื้นที่การเรียนรู้" ของประเทศฟิลแลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพื้นที่การเรียนรู้อย่ามาก โดยในประเทศฟินแลนด์มีพื้นที่การเรียนรู้ 2 ใน 3  ของพื้นที่ และยังมีกิจกรรมให้คนในประเทศได้เรียนรู้ ต่อยอดความรู้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียนระยะสั้นที่ไม่ต้องเรียนในมหาลัย คอร์สภาษา เป็นพื้นที่ที่ให้คนเข้ามาเติมทักษะการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ให้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต  เพื่อให้คนได้ออกไปท่องโลกที่ใหญ่ขึ้นและกว้างขึ้น  อีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์กระจายอยู่ในเมืองต่าง ๆ เพื่อเล่าเรื่องความเป็นเมืองของตัวเอง  กระขบวนการแรงงานงาน มาเล่าบอกต่อเรื่องราว สำหรับฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่การเรียนรู้มาก และยังเป็นอีกหนึ่งประเทที่รัฐสวัสดิการดีมาก ๆ จนประชาชนมีเวลาออกมาใช้ชีวิตและค้นหาความรู้ใหม่ ๆ