ชีวิตดีสังคมดี

ส่อง 'นโยบายพรรคก้าวไกล' เป็นรัฐบาลปุ๊บ ทำปั๊บ มีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่

ส่อง 'นโยบายพรรคก้าวไกล' เป็นรัฐบาลปุ๊บ ทำปั๊บ มีอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่

16 พ.ค. 2566

หากไม่นับรวมนโยบายพรรคร่วมรัฐบาล เฉพาะ "นโยบายพรรคก้าวไกล" มีทั้งหมด 300 นโยบาย 9 เสาหลัก เฉพาะนโยบายปากท้องดี มีอะไรบ้างที่ก้าวไกลให้สัญญาไว้กับประชาชนว่า หากได้เป็นรัฐบาลสามารถทำได้เลย มีนโยบายอะไรบ้าง และจะทำอย่างไร สรุปครบจบไว้ที่นี่

  • เงินผู้สูงวัยเดือนละ 3,000 บาท

 

9 เสานโยบายก้าวไกล ได้แก่ การเมืองไทยก้าวหน้า สวัสดิการไทยก้าวหน้า ทุกจังหวัดไทยก้าวหน้า ราชการไทยก้าวหน้า เศรษฐกิจไทยก้าวหน้า เกษตรไทยก้าวหน้า การศึกษาไทยก้าวหน้า สุขภาพไทยก้าวหน้า สิ่งแวดล้อมไทยก้าวหน้า

 

 

"นโยบายพรรคก้าวไกล" ที่โกยคะแนนแทบทุกกลุ่มอายุที่มีสิทธิเลือกตั้งคือ สวัสดิการครบวงจร เพิ่มเงินผู้สูงวัยให้เป็นอัตราเดียวแบบถ้วนหน้า เดือนละ 3,000 บาท ภายใน 4 ปี เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และมีความมั่นคงทางการเงินเพิ่มขึ้น

พรรคก้าวไกล นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นำขบวน สส.ที่ได้คะแนนนำอันดับ 1 ตะเวนรอบเมืองหลวงเฉพาะจุดที่มีประชาชนหนาแน่น เพื่อขอบคุณประชาชนที่ลงคะแนนเลือกพวกเขา เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566

 

 

  • ค่าแรงขั้นต่ำเริ่มทันที 450 บาท

ปรับระบบค่าแรงขั้นต่ำให้มีการปรับขึ้นทุกปีตามค่าครองชีพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้แรงงานได้ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมจากการเติบโตของเศรษฐกิจ และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจของตัวเองในแต่ละปีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดย "นโยบายพรรคก้าวไกล" คือ เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้เริ่มต้นที่วันละ 450 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยที่ค่าแรง 300 บาทต่อวัน ถูกประกาศใช้เมื่อปี 

  • เงินอุดหนุนเด็กเพิ่มเป็น 1,200 บาท

"นโยบายพรรคก้าวไกล" เพิ่มและขยายเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 ปี มาเป็นเงินเด็กเล็กเดือนละ 1,200 บาท โดยให้ทุกคนแบบถ้วนหน้าไม่ตกหล่น

 

 

  • ฟรีตรวจสุขภาพประจำปี 

ตรวจสุขภาพประจำปีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต พร้อมกับให้ค่าเดินทางสำหรับเดินทางมาตรวจสุขภาพ สิทธิประโยชน์เหล่านี้มีความคุ้มค่าในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หรือหากพบโรค (ในกรณีโรคมะเร็ง) ในระยะเวลาที่รวดเร็วย่อมทำการรักษาได้ง่ายกว่าและประหยัดค่าใช้ในการรักษาได้มากกว่า

 

 

  • รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด 

อุดหนุนงบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันในการเกิดการลงทุนเดินรถเมล์ไฟฟ้า (EV) ทุกเมือง ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ และทำให้ค่าโดยสารรถเมล์อยู่ในราคาที่เหมาะสม ไม่เป็นไปภาระกับประชาชนเกินควร

 

 

  • ค่าไฟเป็นธรรมต่อประชาชน

"นโยบายพรรคก้าวไกล" ลดค่าไฟให้กับประชาชนได้อย่างน้อย 70 สตางค์/หน่วย (เฉลี่ยบ้านละ 150 บาท) โดยปรับนโยบายเพื่อให้ความสำคัญกับประชาชนก่อนกลุ่มทุน (เช่น การเปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติให้โรงแยกก๊าซร่วมหารต้นทุนก๊าซใน Energy Pool ด้วย และให้ก๊าซจากอ่าวไทยขายให้โรงไฟฟ้าก่อนโรงงานอุตสาหกรรม หรือขายก๊าซให้โรงงานอุตสาหกรรมในราคา LNG เพื่อให้ก๊าซจากอ่าวไทยราคาถูกกว่าป้อนโรงไฟฟ้าได้มากขึ้น) เจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับสัมปทานทุนใหญ่พลังงานใหม่ เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง

 

 

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นำขบวน สส.ที่ได้คะแนนนำอันดับ 1 ตะเวนรอบเมืองหลวงเฉพาะจุดที่มีประชาชนหนาแน่น เพื่อขอบคุณประชาชนที่ลงคะแนนเลือกพวกเขา โดยเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566

 

 

  • ผ้าอนามัยไม่เก็บ VAT แจกฟรีในโรงเรียน

ยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในสินค้าหมวดหมู่ผ้าอนามัยและของใช้สิ้นเปลืองสำหรับวัยเจริญพันธุ์ แจกผ้าอนามัยฟรีในสถานศึกษาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนผ้าอนามัยและความจนประจำเดือน (Period Poverty) โดยเฉพาะสำหรับผู้มีประจำเดือนในวัย 10-25 ปี

 

 

  • สิทธิลาคลอด 180 วัน พ่อแม่แบ่งกันได้

ขยายสิทธิลาคลอดจากปัจจุบัน (98 วัน) เพิ่มเป็น 180 วัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักสากลขององค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ที่กำหนดให้บุตรควรได้รับนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด

แรงงานในระบบประกันสังคมที่มีผู้ว่าจ้าง จะได้รับค่าตอบแทนทั้ง 180 วัน โดยจะเป็นการร่วมกันรับผิดชอบระหว่างผู้ว่าจ้างและกองทุนประกันสังคม

แรงงานที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม และถูกนำเข้ามาเป็นแรงงานที่ไม่มีผู้ว่าจ้างในระบบประกันสังคมถ้วนหน้า จะได้รับเงินสนับสนุนในการลาคลอด 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 6 เดือน

พ่อแม่สามารถแบ่งวันลาได้ตามความสะดวก หรือใช้ร่วมกัน เช่น แม่ลา 5 เดือน พ่อใช้อีก 1 เดือน เพื่อช่วยแบ่งเบาการทำหน้าที่และร่วมกันดูแลลูกในช่วง 1 เดือนแรก