ชีวิตดีสังคมดี

เปิดที่มา 'ส่วย' มีตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์แต่ไม่เหมือน จ่ายส่วย ทุกวันนี้

เปิดที่มา 'ส่วย' มีตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์แต่ไม่เหมือน จ่ายส่วย ทุกวันนี้

01 มิ.ย. 2566

เปิดที่มาคำว่า 'ส่วย' จัดเก็บจากราษฎรตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่จุดประสงค์ต่างจากการ 'จ่ายส่วย' ในวันนี้

"ส่วย" สมเด็จกระพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่า คำว่า "ส่วย" มาจากภาษาแต้จิ๋ว ส่วยโบ๊ว หมายถึงการเก็บส่วนลดผลประโยชน์จากราษฎร

 

 

"ส่วย" จึงหมายถึง เงินหรือสิ่งของแทนการมาทำงาน ที่มีการยินยอมให้บุคคลบางพวกส่งให้รัฐแทนการมาทำงานด้วยแรงงาน

 

 

ทั้งนี้คำว่า "ส่วย" ในประวัติศาสตร์ได้แบ่งความหมายไว้ดังนี้

"ส่วย" หมายถึง สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ใต้ปกครองหรืออยู่ในความอุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง "ส่วย" ในลักษณะนี้จึงหมายถึงการจ่ายส่วยเป็นเครื่องราชบรรณาการ

 

 

"ส่วย" หมายถึง เงินที่ราชการกำหนดเรียกเก็บจากราษฎรที่ไม่ได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล โดยในอดีตสังคมไทยมีระบบการเกณฑ์แรงงานจากราษฎร โดยที่รัฐไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง แต่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเป็นการตอบแทน หากใครไม่ต้องการจะใช้แรงงานจะต้องเสียส่วย หรือที่เรียกว่า ส่วยแทน

 

"ส่วย" หมายถึง เงินที่ทางราชการเกณฑ์ให้ราษฎร ร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง เช่น เกรฑ์ให้ช่วยกันเลียงแขก สร้างป้อมปราการ

 

"ส่วย" หมายถึง ทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลสงหากเกินกำลังของทายาทเอาไว้ใช้สอย

 

 

ในอดีตแสดงให้เห็นว่ามีการเรียเก็บส่วยและจังกอบเท่านั้นที่บังคับเก็บโดบที่ผู้ที่ต้องจ่ายไม่ได้รับผลต่างตอบแทบ (1)

ในประวัติศาสตร์การเก็บ "ส่วย" มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิขของประเทศค่อนข้างมาก เพราะรายได้ที่สำคัญของประเทศมาจากการเก็บ ภาษีอากร ซึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีหลักฐานระบุว่า ผลประโยชน์ที่รัฐบาลเรียกเก็บจากราษฎรเรียกว่า ส่วยอากร ทำให้รายได้ส่วนหนึ่งจากรัฐไทยในยุคนั้นจึงมาจาก ส่วย  จึงทำให้ระบบการเก็บส่วยมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจของไทยในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

 

งานวิจัย ระบุ ด้วยว่า ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นรัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการจ่ายเบี้ยหวัดข้าราชการ จึงขอลดการจ่ายครึ่งหนึ่งและมีการนำเอาผ้าขาวม้ามาจ่ายเทนเงิน

 

 

อีกทั้งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระนั้งเหล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงการดำเนินการค้าต่างประเทศเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล โดย ส่วยเป็นส่วนหนึ่งในการวิธีการดำเนินการค้า ณ ขณะนั้น การเก็บส่วยจึงได้เข้ามามีความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ในระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยในยุคนั้นรัฐบาลสนใจการหารายได้แบบผูกขาด เงินลงทุนส่วนใหญ่จึงมากจากเงินส่วย และสินค้าส่วนมากได้มาจากส่วย นอกจาก ส่วย ยังมีความสำคัญต่องานราชการในด้านอื่นๆ  ดังนั้นจึงมีความสนใจในการเก็บส่วยและจัดระเบียบการเก็บ ส่วย เพื่อให้ได้มากอยางเพียงพอ อย่างไรก็ตามพบว่าการเก็บ ส่วยไม่ประสบผลสำเร็จมากพอในยุคนนั้น ส่งผลให้รายได้ของรัฐบาลกระทบกระเทือนไปด้วย

(2)

 

 

อย่างไรก็ตาม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการเก็บ "ส่วย" หรือ ค่าราชการเดือนละ 4.50 บาท แทนการเข้าเวรปีละ 4 เดือน เป็นเงิน 18 บาท ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 5 ค่าราชการได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 6 บาท แทนการเข้าเวรปีละ 3 เดือน เป็นเงิน 18 บาท ทาสต้องรับราชการปีละ 8 วัน ถ้าจะจ่ายค่าราชการแทนก็ได้ในอัตรา 1.50 บาท (3)

 

 

 

 

อ้างอิง

1.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย คลังข้อมูลและบทสำรวจสถานะทางวิชาการ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527)

2.บุญรอด แก้วกันหา, การเก็บส่วยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2411) ศูนย์วิทยทรัพยากรณ์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย

3.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย คลังข้อมูลและบทสำรวจสถานะทางวิชาการ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527)