ชีวิตดีสังคมดี

สรุปดราม่าร้อน 'หมอลาออก' 1 ใน 3 คุณภาพชีวิตแย่ เงินเยอะแค่ไหนคงไม่คุ้มค่า

สรุปดราม่าร้อน 'หมอลาออก' 1 ใน 3 คุณภาพชีวิตแย่ เงินเยอะแค่ไหนคงไม่คุ้มค่า

06 มิ.ย. 2566

สรุปดราม่าร้อน "หมอลาออก" หมอใหม่ถอดใจ 1 ใน 3 คุณภาพชีวิตแย่ รับภาระคนไข้เยอะเกิดความจริง ค่าตอบแทนเยอะแค่ไหนคงไม่คุ้มค่า แก้ช้าเสี่ยงขาดแคลนหมอระบบสาธารณสุขล่ม

ปัญหา "หมอลาออก" กลายเป็นประเด็นร้อนในวงการแพทย์ และเป็นที่พูดถึงในแวดวงสังคมอย่างแพร่หลาย หลังจากที่หมอปุยเมฆ นภสร หรือ พญ.นภสร วีระยุทธวิไล ยื่นใบลาออก โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากมาจากระบบของโรงพยาบาลรัฐที่มีคนไข้จำนวนมาก ซึ่ปัยหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่สะสมมานานและไม่ได้รับการแก้ไขสักที 

 

 

ประกอบกับเรามักจะเห็นข่าวเป็นประจำว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ โดยสาเหตหลักๆ มาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะต้องแยกภาระที่หนักหน่วงทั้การดูแลคนไข้ที่มีจำนวนมากจนล้นโรงพยาบาล  สำหับเรื่องราว "หมอลาออก" เริ่มถูกพูดถึงและลามไปถึงระบบการทำงาน และการดูแลแพทย์ พยาบาลของหน่วยงานต้นสังกัดมากขึ้น เพราะที่ผ่านปัญหา "หมอลาออก" ถูกหยิบขึ้นมาพูดคุยกันตลอดแต่เหมือนจะยังไม่มีการแก้ไขใดๆ  

โดยประเด็น "หมอลาออก" ที่กำลังถูกพูดถึงและกลายเป็นประเด็นร้อน ณ ขณะนี้นั้นเริ่มมาจากที่ หมอปุยเมฆ โพสต์ภาพทั้งน้ำตา ลาออกจากโรงพยาบาลรัฐ พร้อมกับแชร์ประสบการณ์เสียสุขภาพกายและสุขภาพจิต เมื่อโรงพยาบาลไม่มีวี่แววจ้างคนเพิ่ม และจำนวนหมอลดลงทุกปี เป็นเหตุให้คนทำงานจนเหมือนอยู่เป็นแรงงานทาส เจอหนักจนแอบไปร้องไห้คนเดียว ในที่สุดจึงตัดสินใจยื่นขอลาออกจากระบบราชการ  หมอปุยเมฆ ระบุอีก วินาทีที่ตัดสินใจลาออก คือ ตอนนั้นวน med อยู่เวรทั้งคืน มาราวน์เช้าต่อ ชาร์จกองตรงหน้าเกือบ 40 คนไข้ นอนล้นวอร์ดเสริมเตียงไปถึงหน้าลิฟต์ ภาพหดหู่มาก แถมเหนื่อยและง่วง ราวน์คนเดียวทั้งสาย สตาฟฟ์มา 10 โมง เดินมาถาม ‘น้องยังราวน์ไม่เสร็จหรอ ต้องเร็วกว่านี้นะ

 

หมอปุยเมฆ
 

  • "หมอลาออก" กันระนาว คุณภาพชีวิตแย่ เจองานหนัก ความคาดหวังสูง 

ต่อมาเพจ เรื่องเล่าจากโรงยาบาล ได้โพสต์ข้อความโดยระบุว่า  "หมอลาออก" จากระบบไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะแพทย์จบใหม่ที่พบว่าลาออกไป 1/3 ของแพทย์จบใหม่ทั้งหมด จา 2700 คน ออกไป 900 คน เหลือหมอในระบบแค่ 1,800 คนเท่านั้น 

 

 

"ซีรีส์หมอจบใหม่ลาออก มีกระแสหมอจบใหม่ลาออกกันเยอะ ทั้งก่อนเริ่มงาน และหลังใช้ทุนครบหนึ่งปีโดยสรุป  งานหนัก คุณภาพชีวิตย่ำแย่ อยู่เวรเยอะ, ไม่ได้พักผ่อน งานเกินหน้าที่ (งานคุณภาพ, งานบริหาร) สวัสดิการแย่ (บ้านพัก)เงินออกช้า (3 เดือนขึ้นไป)ค่าตอบแทนไม่คุ้มความเสี่ยงสต๊าฟ, รุ่นพี่ เอาเปรียบ คนไข้กดดัน ความคาดหวังสูงไม่เห็นวี่แววความใส่ใจ ความเปลี่ยนแปลงไม่เฉพาะหมอ แต่รวมถึงหน้าที่อื่นๆ ใน รพ. พยาบาล, เภสัช, เทคนิคการแพทย์, กายภาพเวลาที่หมอ หรือ เจ้าหน้าที่ รพ. บ่น จะต้องมีใครสักคนที่บอกว่า ทนไม่ไหวก็ลาออกไป"  

 

 

หลังจากที่ หมอปุยเมฆ ออกมาโพสต์ถึงปัญหาที่ซุกไว้ใต้พรมมานาน ก็กลายเป็นประแสทำให้เกิดการตั้งคำถามจากสังคมมากมาย ว่าความเหมาะสม ภาระหน้าที่การงาน ของบุคลากรทางการแพทย์จริงๆ แล้วความพอดีควรจะอยู่ตรงไหนกันแน่ เพราะหากปล่อยไว้มีการลาออกจำนวนมากๆ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณะสุขของประเทศไทยอย่างแน่นอน

 

 

  • อัตราส่วนของหมอและคนไข้ที่เหมาะสม แต่หมอในประเทศไทยแบกคนไข้ไวเยอะมาก 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า อัตราหมอต่อประชาชนที่เหมาะสม จะอยู่ที่ 1:1000  แต่หากย้อนกลับมาดูตัวแลในประเทศไทยกลบพบว่า หมอในบางพื้นที่โดยเฉพาะเมือใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี มีหมอและคนไข้ในอัตราย 1: 500-800  ส่วนในระดับประเทศซึ่งมีประชากร 70 ล้านคน มีหมอทั้งหมด 60,000 คนทั่วประเทศเฉลี่ยจำนวนหมอต่อคนไข้อยู่ที่ 1:1200 ดูเหมือนจะไม่เกินจำนวนที่ควรจะเป็นมากหนัก แต่หากลองตัดจำนวนหมอที่ไม่ได้ลงมาปฏิบัติหน้าที่ตามวอร์ดจริงๆ อัตราส่วนจะเพิ่มขึ้นกว่านี้ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลในต่างจังหวัดจะพบว่ามีอัตราหมอต่อคนไข้มากถึง 1:2000 หรือบางจังหวัด 1:5000  นอกจากนี้ยังพบว่าในโรงพยาบาลชุมชนที่มีประชากร 25,000 คน แต่มีหมอเพียง 1 คน นั้นเท่ากับว่าหมอจะต้องรับคนไข้มากถึง 1:25000 

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

 

  • เปิดสถิติบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย และค่าตอบแทนที่อาจไม่คุ้มค่า 

ตัวเลขจาก แพทยสภาพบว่า ในปี 2566 จำนวนแพทย์ทั้งหมด 72,250 คน แบ่งเป็น ชาย 39,207 คน หญิง 33,043 คน  อยู่ใน อยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวน 32,198 คน และแพทย์ที่อยู่ในต่างจังหวัด มีจำนวน 34,487 คน เวลาในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ท่กำหนดโดยแพทยสภาล่าสุดเมื่อปี 2565 ระบุว่า ให้ชั่วโมงการทำงานของแพทย์นอกเวลาราชการไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์   ระยะเวลาการทำงานเวรอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ไม่ควรเกิน 16 ชั่วโมงติดต่อกัน ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง แพทย์ต้องได้รับการพักผ่อนอย่างน้อย 4 ชั่วโมงขึ้นไป  

 

 

ส่วนค่าตอบแทนของบุคลากรทางการแพทย์จะมีอัตราที่แตกต่างกันออกไปโดยพบว่า หมอจบใหม่มีเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 18,000 บาท และเงินเดือนจะขึ้นเรื่อย ๆ แพทย์เฉพาะทาง เงินเดือนจะขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 25,000-30,000 บาท ซึ่งจะอาจจะมากกว่านี้้ขึ้นอยู่กับผลงานของแต่ละคน  นอกจากนี้ยังมีเงิน เงินP4P (Pay for Performance)ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน จำนวนคนไข้ที่ตรวจ และประเมินเป็นเงินค่าตอบแทน การตรวจผู้ป่วยใน กาผ่าตัดโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 7,000-15,000 บาท 

 

 

นอกจากนี้ยังมีเงินในส่วนอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นเงินประจำตำแหน่ง  เงินค่าไม่ประกอบเวช  เงินค่าเวร แบ่งรายละเอียดเงินที่หมอจะได้เพิ่มเติมจากเงินเดือน ดังนี้ 

  • เงินประจำตำแหน่ง
  • หมอจบใหม่ 5,000 บาท
  • หมอเฉพาะทาง 10,000 บาท 
  • หมอสาขาที่ขาดแคลน 15,000 บาท 
  • เงินค่าไม่ประกอบเวช หรือไม่เปิดคลินิคและไม่ทำงานเอกชน 10,000 บาท 
  • เวรหยุดเสาร์อาทิตย์ เข้าเวร 24 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 2,000 บาท 
  • เวร ER เข้าเวร 8 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 1,100 บาท 


แม้ว่าค่าตอบแทนหมอจะสูงพอสมควร แต่อาจจะไม่คุ้มค่ากับภาระหน้าที่ รวมทั้งความคาดหวังที่ต้องแบกรับในทุกๆ วัน อีกทั้งยังมีเรื่องของสวัสดิการอื่นๆ ที่ไม่ซัพพอตการทำงานที่มากพอ ปัญหา "หมอลาออก" ไม่ได้เป็นผลกระทบเฉพาะในวงการแพทย์เท่านั้น แต่หากไม่มีการแก้ไขจะกลายเป็นปัญหาระดับประเทศได้ เพราะแพทย์คนอื่นๆ ที่ยังอยู่จะต้องแบกภาระคนไข้มากขึ้น และในอนาคตอาจจะนำมาซึ่งการล่มสลายของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย