ชีวิตดีสังคมดี

เสนอโมเดลแก้ 'หมอลาออก' เติมแพทย์ในระบบให้เยอะๆ ไม่ใช่ทางออกที่ดีแน่นอน

เสนอโมเดลแก้ 'หมอลาออก' เติมแพทย์ในระบบให้เยอะๆ ไม่ใช่ทางออกที่ดีแน่นอน

09 มิ.ย. 2566

เสนอโมเดลแก้ปัญหา 'หมอลาออก' ต้องเริ่มต้นจากลดความแออัด ผลิตแพทย์เพิ่มเติมแพทย์ใหม่ไม่ใช่ทางออกที่ดีแน่ๆ เพราะถ้าอ่างรั่วเติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม

เสียงหนึ่งเสียงจากหมอที่ลุกขึ้นมาลาออก และตีแผ่วงการแพทย์ดูเหมือนจะกลายเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่ซัดให้ผู้มีอำนาจ และหน่วยงานที่เป็นคนดูแลคุณภาพชีวิตของคุณหมอ ตื่นและเริ่มมองไปที่ต้นตอของปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อทุเลาปัญหา "หมอลาออก"

 

โดยที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขวิ่งประชุมกับ 4 ชมรมแพทย์แบบทันควัน เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกเกี่ยวกับประเด็น "หมอลาออก" พร้อมทั้งเตรียมหารือกับแพทยสภา เพื่อถอดหลักสูตรแพทย์อินเทิร์นเรียนที่ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 7 ปี  รวมไปถึงการหารือกับ สปสช.กรณีเพิ่มสิทธิประโยชน์ขอให้สอดคล้องกับจำนวนบุคลากร

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสะบ้าย้อย จ.สงขลา แสดงความคิดเห็นถึงปัญหา "หมอลาออก" และ เสนอแนวทางการแก้ปัญหาแพทย์ทะยอยลาออกจากระบบ กับ คมชัดลึก ไว้อย่างน่าสนใน

 

ประการแรก นพ.สุภัทร ระบุถึง ปัจจัยที่ทำให้แพทย์จบใหม่หรือแพทย์ที่ทำงานมานาน ลาออกเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในระบบโรงพยาบาลขนาดใหญ่มากกว่า โดยเฉพาะแพทย์จบใหม่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีสถิติลาออกสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก เนื่องจากในระบบเกิดการทำงานที่ไม่เท่าเทียม แพทย์จบใหม่เกิดความรู้สึกว่าต้องรับมือคนไข้ หรือรับภาระงานหนักอยู่เพียงลำพัง โอกาสที่จะลาออกจึงสูงมาก

 

ต่างจากแพทย์ในพื้นที่ชนบท หรือแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดเล็ก โรงพยาบาลชุมชน แม้ว่าจะมีความลำบาก และภาระการที่เยอะกว่าบุคลากร แต่การทำงานทุกคนหนักเท่ากัน ทุกคนแบกรับภาระร่วมกัน ดังนั้นเรื่อ "หมอลาออก"  เห็นมีเรื่องความความรู้สึกที่ไม่เท่าเทียมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ประการที่สอง การลาออกของหมอจบใหม่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้องยอมรับว่าคนที่เรียนหมอทุกวันนี้เป็นคนที่ค่อนข้างมีฐานะ แตกต่างจากในอดีต ดังนั้นหมอจบใหม่จึงมีทัศนคติที่สนใจใน Work Life Balance  มากกว่าการทำงานหนัก หมอสุภัทรไม่ได้หมายความว่าหมอจบใหม่เกี่ยงงานหนัก แต่หมอกำลังอธิบายว่าหมอจบใหม่สนใจเรื่องความเท่าเทียมในที่ทำงานมากกว่า ดังนั้นจึงไม่แปลกที่หมอจบใหม่หลายคนจะเลือกเส้นทางที่พวกเขาสามารถใช้ชีวิได้ เพราะต้องยอมรับว่าอาชีพหมอ เป็นอาชีพที่เจองานหนัก และทำงานภายใต้ความคาดหวังของคนไข้ตลอดเวลา

 

 

ปัญหา "หมอลาออก" โดยเฉพาะหมอจบใหม่มีไม่ต่ำกว่าปีละ 400-500 คน นับว่าเป็นจำนวนมากเลยทีเดียวหากเทียบกับจำนวนหมอจบใหม่ที่มีประมาณปีละ 2,000 คน โดย นพ.สุภัทร ได้เสนอทางแก้ไขเอาไว้อย่างน่าสนใจ ว่า การแก้ไขที่จะลดปัญหาแพทย์ลาออกจากระบบให้ได้ผลและยั่งยืนนั้น คือการลดความแออัดในโรงพยาบาลให้ได้ จะทำอย่างไรไม่ให้คนไข้ในล้น จนเตียงเลยออกมาหน้าลิฟท์ หน้าบันได นี้คือโจทย์ที่หลายฝ่ายจะต้องมาร่วมแก้ด้วยกัน และจะทำอย่างไรไม่ให้การรอตรวจใช้เวลานานแบบมาหาหมอ 8 โมงเช้า ได้กลับบ้านอีกที 4 โมงเย็น ปัญหาเหล่านี้คือโจทย์ใหญ่ของวงการแพทย์ ที่หากแก้ได้จะช่วยดึงไม่ให้แแพทย์จบใหม่ หรือ แพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ลาออก

 

 

สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการคือ การพัฒนาการแพทย์ในระดับปฐมภูมิใหม่ โดยเฉพาะแพทย์ประจำบ้าน ประจำครอบครัว ที่สามารถดูแลและให้ความช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นได้ ลดการเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด เน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่โรงพยาบาลประจำอำเภอ ไปถึงโรงพยาบาลเขตเมือง ออกแบบโมเดลที่แพทย์สามารถหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันออกตรวจโรงพยาบาบขนาดเล็กได้  ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนไม่ต้องเดินทางไกลๆ และรอพบแพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์เป็นเวลานาน และยังช่วยลดภาระงานจองแพทย์ ลดความแออัดได้ด้วย หากสามารถลดการแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ ก็จะช่วยลดภาระงานของหมอจบใหม่ หมอเฉพาะทาง และเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ ตามไปด้วย เพราะการเร่งผลิตแพทย์ และเติมแพทย์เข้าสู่ระบบนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะหากไม่แก้ที่ระบบไม่ว่าจะเติมยังไงก็ไม่มีวันเต็มแน่นอน