ชีวิตดีสังคมดี

บัตรแมงมุม สู่  บัตร EMV ลุ้นระบบ 'ตั๋วร่วม' ผ่านในรัฐบาลใหม่เดินทางสะดวกขึ้น

บัตรแมงมุม สู่ บัตร EMV ลุ้นระบบ 'ตั๋วร่วม' ผ่านในรัฐบาลใหม่เดินทางสะดวกขึ้น

05 ก.ค. 2566

จาก บัตรแมงมุม สู่ บัตร EMV ลุ้นระบบ 'ตั๋วร่วม' ผ่านในรัฐบาลใหม่ ประชาชนใช้ขนส่งสาธารณะสะดวก จ่ายค่าแรกเข้าน้อยลง ประหยัดค่าเดินทางมากขึ้น

เกือบ 10 ปีที่แล้วเราเคยได้ยินคำว่า "ตั๋วร่วม" บัตรแมงมุม บัตรใบเดียวที่จะทำให้เราเดินทางและใช้บริการรถขนส่งสาธารณะแบบไม่พกพาบัตรหลายใบ และประหยัดค่าแรกเข้า แต่ผ่านไปแล้วเกือบ 10 ปี เรายังไม่ได้แม้แต่จะทดลองใช้ระบบ ตั๋วร่วม และบัตรแมงมุม ที่่ว่าก็ถูกยกเลิกไป 

 

 

ระหว่างทางในการจัดทำระบบ "ตั๋วร่วม" จากบัตรแมงมุม กลายมาเป็นบัตรรูป แบบ EMV ได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำไมพ.ร.บ.ถึงยังค้างอยู่ในสภาทั้งที่มีการศึกษาระบบดังกล่าวมานานหลายปีแล้ว ท้ายที่สุดประชาชนจะได้เดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าที่ราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ 

1. ระบบตั๋วร่วม คืออะไร

"ตั๋วร่วม" หรือ Common Ticketing System เป็นระบบที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยเป็นการศึกษาเพื่อนำเอาระบบมาใช้สำหรับการเดินทางของประชาชนให้สามารถเชื่อมต่อได้ทุกระบบด้วยการใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว แต่สามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ รถโดยสารสาธารณะ เรือโดยสาร และทางพิเศษระหว่างเมือง  ส่วนระบบบริหารจัดการรายได้จะดำเนินการการด้วยระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางหรือระบบ Central Clearing House:CCH เพื่อเป็นระบบในการเคลียร์รายได้ให้กับแต่ละบริษัท  โดยที่ผ่านม สนข.ตั้งใจจะให้เอกชนติดตั้งระบบดังกล่าวเพื่อรองรับ "ตั๋วร่วม" ได้ทันที  ทั้งนี้ได้มีการกำหนดบัตรโดยสารที่ชื่อว่า บัตรแมงมุม สำหรับเป็นบัตรที่จะใช้ระบบตั๋วร่วม 
 

2.ตั๋วร่วมยังใช้ไม่ได้ บัตรแมงมุมถูกยกเลิกเป็น บัตร EMV แทน 

แม้จะมีการเตรียมการพัฒนาระบบและกฎหมาย มาอย่างต่อเรื่องแต่ดูเหมือนว่าขณะนี้ระบบตั๋วร่วมยังไม่มีความคืบหน้า และบัตรแมงมุม ที่ สนข. กำหนดให้เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้จ่ายค่าเดินทางได้ทุกระบบลับถูกยกเลิกไปแล้ว เพราะปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าโดยเพฉพาะรถไฟฟ้าใต้ดินหันมาให้จ่ายค่าโดยสารผ่าน  บัตร EMV สมาร์ทการ์ด หรือ วีซ่าการ์ดได้ เท่ากับว่าหากเรามี บัตร EMV ในมือเราก็สามารถจ่ายค่าบริการรถจนส่งสาธารณะได้ทุกเส้นทาง แต่ผู้ใช้บริการจะต้องปรับเปลี่ยนหัวอ่านทางเข้า-ออกประตูก่อน จึงสามารถดำเนินการซึ่งรูปแบบการจ่ายผ่าน บัตร EMV เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วง 3-4 ปีย้อนหลัง และสามารถได้กับระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเท่านั้น นั้นเท่ากับว่ายังไง ระบบตั๋วร่วม ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบอยู่ดี 

 

 

3.ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ...  ความหวังได้ใช้บัตรใบเดียวจ่ายเงินทุกระบบ 

แม้ว่าบัตรแมงมุมจะไม่ได้ใช้งานแล้ว แต่ระบบ "ตั๋วร่วม" ยังอยู่  โดยล่าสุด สนข. ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ...เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีชุดเดิม (ครม.) ซึ่งผ่านความเห็นไปชอบแล้ว และเข้าสู่การพิจารณาของสภาวาระ 1 เป็นที่เรียบร้อย แต่ยังเหลือวาระ 2 และ 3 ที่พิจารณาไม่ทันเนื่องจากมีการยุบสภาเสียก่อน  ดังนั้นจึงต้องมาจับตาว่า รับบาลชุดใหม่จะหยิบร่างพ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ กับมาพิจารณาต่อเลยหรือไม่ หรือหน่วยงานที่ดูและจะต้องกลับไปทบทวนแก้ไข รายละเอียดใหม่และ กลับมาเสนอครม. อีกครั้ง 

 

 

4.ข้อดีของการใช้ระบบตั๋วร่วม 

หาก พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ มีผลบังคับใช้จะทำให้มีกฎหมายเข้ามาบริหารจัดการ "ตั๋วร่วม" ได้ทั้งระบบ ในทุกการขนส่งทั้งทางบก น้ำ อากาศ และระบบราง รวมทั้งเป็นการสนับสนุนการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ได้กับรถไฟฟ้า เมื่อผู้โดยสารมีการเชื่อมต่อระบบจะไม่เสียค่าแรกเข้า รวมทั้งประชาชนยังสามารถใช้จ่ายเงินในการซื้อสินค้าได้ด้วย 

 

 

5.เปิดปัจจัยทำระบบ "ตั๋วร่วม" ล่าช้า 

สาเหตุที่การใช้ระบบตั๋วร่วมมีความล่าช้า เนื่องจากโครงการฯนี้เป็นการให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมตามความสมัครใจ ซึ่งทำให้ค่อนข้างยาก เพราะมีเรื่องของพ.ร.บ. ซึ่งเป็นกฎหมายภาคบังคับที่เข้ามาร่วมด้วย ทั้งนี้ในร่างพ.ร.บ.มีการระบุให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม ซึ่งสนข.จะต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบ "ตั๋วร่วม" และรูปแบบการตั้งสำนักงานฯ ตามที่ระบุไว้ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อออกกฎหมายลูกมารองรับด้วย โดยการจัดตั้งกองทุนฯ กองทุนดังกล่าวจะเข้ามาสนับสนุนรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่มีรายได้ลดลงเฉลี่ยรวมปีละ 1,300 - 1,500 ล้านบาท