ชีวิตดีสังคมดี

สาเหตุ 'สะพานลาดกระบังถล่ม'  คานหิ้วชิ้นส่วนสะพานหลุด แนะวิธีก่อสร้างต่อ

สาเหตุ 'สะพานลาดกระบังถล่ม' คานหิ้วชิ้นส่วนสะพานหลุด แนะวิธีก่อสร้างต่อ

11 ก.ค. 2566

วสท. เปิดปมสาเหตุ 'สะพานลาดกระบังถล่ม' เพราะคานหิ้วชิ้นส่วนสะพานหลุด แนะกทม.ไม่ต้องรื้อทิ้งทั้งหมด แต่ต้องตรวจสอบโครงสร้างให้ละเอียด

รศ.เอนก ศิริพานิชยกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. กล่าวถึง "สะพานลาดกระบังถล่ม" ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบังว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ถล่มเมื่อช่วงค่ำวานนี้ (10 ก.ค. 2566)  พบว่า ตัวหิ้ว Segment ซึ่งเป็นชิ้นส่วนตัวประกอบสะพาน เกิดการร่วงลงมา ส่งผลทำให้ชิ้นส่วนคานสะพานที่ต่อเชื่อมกันได้รับแรงกระแทกจน "สะพานลาดกระบังถล่ม" ลงอย่างรุนแรง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ตัวหิ้ว Segment ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ร่วงลงมานั้นเกิดจากสาเหตุอะไร กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการจะต้องไปตรวจสอบอีกครั้ง 

จากภาพที่มีการแชร์กันมานั้นจะเห็นได้ว่า บางช่วงของทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ไม่ได้รับผลกระทบและไม่มีความเสียหาย รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า ในส่วนรอยต่อของ สะพานลาดกระบังถล่ม ซึ่งเป็นการก่อสร้างโครงสร้างทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบังที่ไม่ได้รับความเสียหายหนักกทม. ไม่จำเป็นซ้ำในส่วนรอยต่อของโครงสร้างสะพานที่ไม่ได้รับความเสียหายหนักกทม. ไม่จำเป็นจะต้องทุบทิ้ง โดยสามารถพิจารณาหรือถอนเฉพาะส่วนที่พังถล่มลงมาได้

 

สะพานลาดกระบังถล่ม

แต่จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างทางยกระดับที่ไม่ได้เสียหายอย่างละเอียด โดยเฉพาะความแข็งแรง แนวตรง ของเสาตอม่อ เส้นเหล็กคงสภาพภายใน Segment หรือไม่ ว่ายังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 100% และเป็นไปตามหลักวิศวกรรมหรือไม่ หลังจากดำเนินการหลังจากดำเนินการตรวจสอบเสร็จแล้วจะต้องมีการแถลงรายละเอียดแก่ประชาชน เพื่อลดความไม่มั่นใจในการช้ายทางยกระดับหลังจากที่มีการก่อสร้างเสร็จตามแผนงาน
 
 
ส่วนกรณีการก่อสร้าง ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง ที่มีการใช้ การใช้ชิ้นส่วนจากคลังนอกนั้นไม่ได้มีผลกระทบทำให้ ถึงสะพานโดยการรชิ้นส่วนจากข้างนอกนั้นไม่ได้มีผลกระทบทำให้โครงสร้างไม่มีความแข็งแรงแต่อย่างใด ปัจจุบันการใช้ชิ้นส่วนที่หล่อจากภายนอกและนำปัจจุบันการใช้ชิ้นส่วนที่หล่อจากภายนอกและนำมาติดตั้งเป็นที่นิยมเนื่องจากค่อนข้างมีความแข็งแรง 
 
ส่วนข้อเสนอแนะที่ วสท. ได้ให้ไปนั้นคือวิธีการตัดเฉพาะชิ้นส่วนที่เสียหายออก โดยไม่ต้องทุบหรือสะพานทั้งหมดทิ้ง พอจากการลงพื้นที่ยืนยันว่า บางช่วงไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด 
 
 
สำหรับรูปแบบการก่อสร้างโครงการทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment ที่หล่อขั้นรูปมาจากโรงงาน และขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วขึ้น