พลิก 'ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง' หาปมถล่ม อุบัติเหตุหรือเพราะอะไรกันแน่
พลิก 'ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง' หาปมถล่ม เพราะอุบัติเหตุสุดวิสัย หรือเพราะอะไรกันแน่ หลังสังคมตั้งคำถามบริษัทรับเหมาเชี่ยวชาญ รอบคอบระหว่างก่อสร้างหรือไม่ ต้องวางแผนล้อมคอกโครงการเมกะโปรเจ็กต์
"ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ถล่ม กลายเป็นปมคำถามตามมากถึงมาตรฐานในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ หรือ เมกะโปรเจ็กต์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่ยิ่งไปกว่านั้นมาตรฐานในการก่อสร้าง และการใช้แรงงานในระหว่างการก่อสร้าง การหาผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างถนน สะพาน ทางยกระดับ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน เพราะหากมีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์โอกาสที่โครงสร้างจะพิบัติ และการก่อสร้างที่ถูกต้องตามหลักก็ย่อมมีมากกว่า
หลังจากที่ "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ถล่มลงมาเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2566 นอกจากอุบัติเหตุเกิดอย่างสุดวิสัยแล้ว ยังมีคำถามจากประชาชนว่าอาจจะมีเหตุอย่างอื่นที่มีผลต่อการถล่มของทางยกระดับครั้งนี้หรือไม่ โดยเฉพาะการก่อสร้างจากผู้รับเหมาที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ แม้ว่าจะเป็นบริษัทก่อสร้างหรือไม่ และ "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ไม่ใช่ทางยกระดับ หรือสะพานกลับรถแห่งแรกที่ถล่ม แต่ในปีเดียวกันเกิดการถล่มของโครงการขนาดใหญ่มากถึง 3 ครั้ง
ย้อนกลับมาที่โครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง หลังจากที่เกิดการถล่มไปแล้วก็มีคนออกมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุมากมาย รวมไปถึงงบประมาณในการก่อสร้าง และการจ้างบริษัทผู้รับรายหนึ่ง ซึ่งในช่วงที่มีการเปิดการประกวดราคาก่อสร้างอยู่ในปี 2564 โดยสัญญาระบุเอาไว้ว่า จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 900 วัน จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่าการสร้างโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ระยะเวลาเพียงเท่านั้นเพียพอที่ทำให้โครงสร้างมีความมั่นคงมากพอหรือไม่
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตถึงงบประมาณในการก่อสร้างทางยกระดับที่มีระยะทาง 3.3 กิโลเมตร จำนวน 1,664.5 ล้าน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับค่าก่อสร้างถนนในสหรัฐอเมริกาแบบขับได้ 6 ช่องจราจรสร้างในเมือง ก็ยังใช้งบแค่ 11 ล้าน USD ต่อ 1ไมล์ หรือ ประมาณ 6.8 ล้าน USD ต่อ 1 กิโลเมตรเท่านั้น 3 กิโล ก็เท่ากับ 716 ล้านบาทเท่านั้น
ที่มาข้อมูล: @iteacha
อย่างไรก็ตาม ดร. สุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา หรือ ดร.จอห์น สก.กรุงเทพมหานคร เขตลาดกระบัง ได้มีการยื่นกระทู้ถามในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร (สภากทม.) โดยตั้งข้อสังเกตถึงการก่อสร้างโครงการ "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" มาตั้งแต่ต้น เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ว่ากทม.จะเร่งรัดอย่างไรให้แล้วเสร็จไวขึ้น เพราะทางยกระดับมีระยะทางประมาณ 3 กม. เท่านั้น โดยทางกทม. ระบุได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับจากแบบเดิมที่เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment ที่หล่อขั้นรูปมาจากโรงงาน และขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่ เนื่องจากบริเวณถนนลาดกระบังมีพื้นที่ค่อนข้างแคบ
หลังจากเกิดการทวงถามถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ทาง สะพานลาดกระบังถล่ม จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 2 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวมาก โศกนาฏกรรมดังกล่าว เป็นเรื่องที่ กรุงเทพมหานครจะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่การสรรหาผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญ มาตรการการดูแลในพื้นที่ก่อสร้าง รวมไปถึงความโปร่งใสในการประกวดราคาหาผู้รับเหมาที่ต้องอยู่บนพื้นฐานการมีประสบการณ์ในการก่อสร้างเฉพาะด้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้กับการก่อสร้างอื่นๆ อีก เพราะจากการลงพื้นที่หลังสะพานถล่มไปแล้วเรายังพบว่าชิ้นส่วนสะพาน Segment ที่วางบนเสาตาม่อยังมีความเอียง ซึ่งทำให้เกิดคำถามมากมายถึงมาตรฐานในการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มแรก
ด้านข้อมูลจากผู้รับเหมาก่อสร้าง "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ดร.สุรจิตต์ ระบุว่า มีข้อมูลว่าบริษัทที่เข้ามารับเหมาก่อสร้างเป็นลักษณะของกิจการร่วมค้า โดยจากการตรวจสอบพบว่า ที่ตั้งของสำนักงานเป็นอาคารพานิชย์ 4 ชั้น โดยบริษัทมีการเพิ่มเงินทุนเรื่อยๆ ล่าสุดในปี 2550 มีการเพิ่มทุน 400 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังสมาชิกสภากรุงเทพมหานครยังได้มีการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยเฉพาะการตั้งคระกรรมการตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่ และการก่อสร้างเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อน โดยระบุว่า การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ควรจะมีบริษัทรับเหมาที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดำเนินการจริงๆ ระหว่างการก่อสร้างต้องผู้เชี่ยวชาญควบคุม ในระหว่างการปฏิบัติงานคนงานตามไซต์งานจะต้องทำงานในเวลาที่เหมาะสม รวมไปถึงความละเอียดรอบครอบในการส่งมอบและตรวจรับงานก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
สำหรับการรื้อถอนโครงสร้างสะพานส่นที่พังถล่มลงมานั้นทาง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ระบุว่า ต้องมีการรายละเอียดเรื่องแบบก่อสร้าง บันทึกรายงานประจำวัน ของการก่อสร้าง โดยจะมีรายละเอียดทางวิศวกรรม เช่นการดึงลวดเหล็กด้วยแรงเท่าไหร่ หรือรายละเอียดของคอนกรีต จากนั้นจะนำรายละเอียดต่างๆมาวิเคราะห์และประชุมกัน วสท. จะเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนจึงจะวิเคราะห์สาเหตุที่แน่ชัดได้ ว่าเหตุสะพานถล่มเกิดจากอะไร โดยสาเหตุเบื้องต้น หรือสมมติฐาน มองว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจจะมองว่าเป็นเรื่องขั้นตอนการก่อสร้างไม่ถูกต้องหรือวัสดุไม่ดี ทั้งนี้ยังไม่ขอตั้งประเด็นใด เพราะต้องไปตรวจพิสูจน์ว่าแต่ละกระบวนการเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ ประกอบกับต้องดูว่าโครงสร้างทุกส่วนที่อยู่ข้างๆกันไม่ว่าจะเป็นเสาหรือสะพานยังคงสภาพสมบูรณ์ อยู่หรือไม่