ปิดช่องนำเข้า 'หมูเถื่อน' เนื้อสุกรอาบยาพิษ ทำสุขภาพและฟาร์มหมูเสียหาย
ปิดช่องลักลอบขำเข้า 'หมูเถื่อน' ตัดตอนเนื้อสุกรอาบยาพิษก่อนเสิร์ฟให้คนไทย ผลพวงหนักหนาทำลายทั้งสุขภาพและกระทบฟาร์มหมู
ปัญหา "หมูเถื่อน" ลักลอบเข้าไทยด้วยการบรรจุลงตู้คอนเทรนเนอร์ และลำเรียงเข้ามาทางท่าเรือ ยังคงเกิดขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีการตรวจสอบจับกุม อย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหลักๆ ที่ที่ทำให้ หมูเถื่อน มีช่องว่างที่สามารถแทรกซึมเข้ามาคงหนีไม่พ้น ปัญหาโรคระบาด ราคาต้นทุนที่แสนถูกเมื่อเทียบกับราคาเนื้อหมูในประเทศไทย ช่องว่างขนาดใหญ่เหล่านี้ทำให้เอกชนหัวใสบางรายสบโอกาสลักลอบน้ำเข้ามาเพื่อหวังเกร็งกำไร และส่งต่อหมูที่อาบยาพิษขึ้นไปเสิร์ฟ ผู้บริโภคได้อย่างง่ายดาย หากการลักลอบในแต่ละครั้งรอดหูรอดตาเจ้าหน้าที่
หนำซ้ำการลักลอบนำเข้า "หมูเถื่อน" ยังทำให้ระบบกลไกราคาเนื้อหมู อาชีพเกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงหมูเสียหาย โดยเฉพาะหาก "หมูเถื่อน" ที่นำเข้ามานั้นมาจากประเทศไทยต้นทางที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออย่าง โรค ASF เพราะมื่อไหร่ก็ตามที่มีโรคระบาดก็จะทำให้หมูในฟาร์มเสี่ยงตาย และทำให้เกิดภาวะเนื้อหมูขาดตลาด เกษตรกรรายย่อยอยู่ไม่ได้เพราะต้องทำลายหมูทั้งหมดที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อทิ้ง
ดังนั้นทางที่จะทำให้คนไทยได้บริโภคหมูอย่างปลอดภัย ปิดเส้นทางที่โรคติดต่อจะเข้ามาได้ คือ การตรวจสอบ ประสานงาน จัดการ "หมูเถื่อน" ให้หมดสิ้น โดย นสพ. บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยกับ คมชัดลึก ว่า ในช่วงต้นปี 2565 ที่เกิดการระบาดของโรค ASF ในประเทศไทย ส่งผลให้มีแม่หมูลดลง เนื้อหมูออกสู่ตลาดน้อยลง ราคาหมูสูงขึ้น ปัญหาดังกล่าวกลายเป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดการลักลอบนำ "หมูเถื่อน" เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งหลังจากที่เกิดปัญหา กรมปศุสัตว์ได้มีการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามและทำลาย หมูเถื่อน มาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเป็นการลักลอบขนเข้ามาตามแนวตะเข็บชายแดน แต่ในระยะหลังมีการขน หมูเถื่อนเข้ามาทางผ่านเรือ โดยพื้นที่ที่ตรวจพบบ่อยครั้งจะเป็นท่ารือที่ไม่ได้ทำ MOU ภายใต้โครงการท่าเรือสีขาว
เมื่อมี "หมูเถื่อน" ทะลักเข้ามาจำนวนมากในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคติดต่อ สิ่งที่กรมปศุสัตว์ได้ทำอย่างเร่งด่วนคือการ เข้มงวดโดยเฉพาะในช่วงกลางปี 2565 ที่มีการเข้าไปกดดัน ประชาสัมพันธ์ ตั้งวอลรูมในพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง เพื่อสะกัดไม่ให้หมูเล่านั้นเล็ดลอดขึ้นไปสู่เขียงหมู หรือ แผงขายหมูได้ เนื่องจากหมูที่ลักลอบนำเข้า แน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่จะมีสารปนเปื้อน เช่น สารเร่งเนื้อแดง ยาปฏิชีวนะตกค้าง ซึ่งหากคนไทยกินเข้าไปจะทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายโดยเฉพาะการดื้อต่อยาชนิดอื่นๆ
- ต้นทาง "หมูเถื่อน" ลอบน้ำเข้ากระทบคนไทยเสี่ยงได้เนื้อผสมสารพิษไปรับประทาน
นสพ.บุญญกริช บอกถึงเส้นทางการลักลอบนำเข้าและความอันตรายของ "หมูเถื่อน" ไว้ว่า ที่ผ่านมาเราพบว่าประเทศต้นทางที่มีการนำเข้า "หมูเถื่อน" จะอยู่ในกลุ่มประเทศ บราซิล อาร์เจนตินา เยอรมัน โดยกลุ่มประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่มีต้นทุนการเลี้ยงหมูค่อนข้างต่ำมาก เพราะเป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์อยู่แล้ว เบื้องต้นพบว่า ราคาหมูเถื่อนที่นำเข้ามาจะอยู่ที่ประมาณ 40-60 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าประเทศไทยค่อนข้างมากโดยราคาหน้าฟาร์มของประเทศไทยจะอยู่ราวๆ 70-80 บาท
แต่ที่อันตรายไม่กว่าราคาถูกคือ การแฝงมาของสารพิษ โดยเฉพาะสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งประเทศเหล่านั้นไม่ได้มีการห้ามหรือ ควบคุม การใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสุกร และยาปฏิชีวนะตกค้าง โดยหากประชาชนบริโภคเข้าไปจะส่งผลต่อระบบการร่างกาย ซึ่งสารเร่งเนื้อแดงจะส่งผลต่อผู้ที่เป็รโรคหอบหืด และโรคหัวใจโดยตรง ส่วนยาปฏิชีวนะจะมีผลต่อจุลินทรีย์ในร่างการ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะการดื้อต่อยาได้ ซึ่งหากมีโรคระบาดเกิดขึ้นก็จะมีผลต่อการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคได้ด้วย
- ป้องกันต้นทุนเลี้ยงหมูให้ต่ำ ปิดช่องลอบนำเข้า "หมูเถื่อน"
ผลกระทบจาก "หมูเถื่อน" ไม่ได้มีแค่ต่อร่างกายเท่านั้น แต่มันยังส่งปลกระทบไปสู่กลไกการเลี้ยงหมู่ของเกษตร และกระทบไปถึงมูลค่าเศรษฐกิจที่สร้างความเสียหายได้ไม่น้อย
รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุว่า ในช่วงโรคASF ระบาด แน่นอนว่าหากปล่อยหมูเถื่อนให้เข้ามา จะส่งผลต่อระบบการเลี้ยงหมูในฟาร์มอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรรายย่อย แม้ว่าโรคดังกล่าวจะติดต่อจากหมูสู่คนไม่ได้ แต่หากเกิดการติดต่อในสุกรเพียง 1 ตัว เกษตรกรจะต้องทำลายหมูที่มีความเสี่ยงทิ้งทั้งหมด เพราะปัจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน เกษตรรายย่อยที่งบน้อยไม่มีเทคโนโลยีจะไม่สามารถบริหารจัดการได้ทำให้เกิดความเสียต่อภาคเกษตรกรอย่างมาก ส่งผลเกษตรรายย่อยหายออกไปจากระบบ
นอกจากนี้เกษตรไทยยังเผชิญกับภาวะต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นจากภาวะโควิดระบาด ภาวะสงคราม ที่ทำมห้อาหารสัตว์ขาดแคลน ส่งผลให้การเลี้ยงหมูมีต้นทุนที่สูงขึ้น มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการลอบน้ำเข้า "หมูเถื่อน" น่าจะมีมูลค่าค่อนข้างมากที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจเสียหาย ดยเฉพาะเกษตรกรในประเทศ
ดังนั้นสิ่งที่กรมปศุสัตว์ พยายามส่งเสริมมาตลอดคือการป้องกันตั้งแต่ต้นทาง เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ให้เกษรกรฟาร์มหมูปฏิบัติตามมาตรฐานความสะอาดก่อนเข้าฟาร์ม เพื่อป้องกันโรคโรคติด และที่สำคัญคือ การสกัด หมูเถื่อน ตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าสู่กระบวนการเลี้ยงได้
- กับดักจับ "หมูเถื่อน" ป้องกันไม่ได้ระบบเลี้ยงสุกรไทยล่มสลาย
นสพ.บุญญกริช เปิดเผยถึงแผนการและแนวทางในการป้องกัน "หมูเถื่อน" เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า ขณะนี้กรมปศุสัตว์เล็งเห็นถึงปัญหาการลักลอบนำเข้าเนื้อหมูอย่างมาก และเพื่อไม่ให้มีหมูที่ไม่ได้มาตรฐาน ปนเปื้อนสารพิษ ออกวางจำหน่าย กรมฯได้ดำเนินการพัฒนาแบบตรวจสอบระบบตรวจติดตามยานพาหนะบรรทุกสัตว์และซากสัตว์ด้วย GPS (DLD - eTracking) โดยใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุน ซึ่งในการตรวจติดตามยานพาหนะบรรทุกสัตว์ โดยใช้ระบบ GPS ตรวจจับรถขนย้ายสุกรตั้งแต่ฟาร์มมายังโรงฆ่าสัตว์ และหลังจากที่ขนย้ายเนื้อหมูที่ชำแหละแล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้เราทราบปริมาณเนื้อหมูที่สอดคล้องกับการนำเข้ามาเชือดตั้งแต่ครั้งแรก หากพบว่ามีปริมาณที่เกินจะทำให้เราทราบทันว่าอาจจะมีเนื้อหมูเถื่อนปะปนมาด้วย
นอกจากนี้ยังมีการทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมปศุสัตว์ และกรมศุลกากร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการควบคุมโรคระบาดในสัตว์ที่มีการปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ทันต่อสาถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ขึ้นทะเบียนโกบเกอร์ ใช้ระบบ DATA Center ซึ่งจะมีเจ้าหน้าประเมินการเคลื่อนย้าย ทำให้ตรวจสอบข้อมูลเส้นทางการเคลื่อนย้ายหมู ตลอดจนตรวจสอบเขียงที่จะมารับซื้อต้องซื้อหมูจะต้องได้มาตรฐาน หากระบบเสร็จตรวจสอบไดด้ หากมีหมูเถื่อนเข้ามาจะทำให้เรารู้ได้ทันที
ท้ายที่สุดการลักลอบนำเข้า "หมูเถื่อน" จะไม่สามารถหลุดออกมาหากมีระบบการตรวจสอบที่ดีตั้งแต่ต้นทาง และไม่มีการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่อาศัยช่องทางในยุคที่เนื้อหมูราคาแพง ลอบนำเข้าหมูที่มีทั้งสารอันตราย แถมยังผิดกฎหมายเพราะเลี้ยงภาษีการนำเข้า